บก. Spaceth.co ค้าน “เอนก” ระดมทุนคนไทย ผลิตยานอวกาศไปดวงจันทร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บก. Spaceth.co แนะส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ไปเพื่อพัฒนาการศึกษาให้กับเยาวชน หรือ สอนการเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้กับคนไทย ค้าน ดร.เอนก ระดมทุนจากคนไทยผลิตยาน เพราะงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์มีอยู่แล้วเป็นหลักพันล้าน

บก.Spaceth ตอบคำถาม ยานไทยไปดวงจันทร์ได้อะไร

“เอนก” ลั่น ไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเซีย ผลิตยานอวกาศส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์

หลังจาก ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ ประกาศว่า ภายใน 7 ปี ไทยจะส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ จนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนั้น

วันนี้ 16 ธ.ค. 2563 นายณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน บรรณาธิการสื่อออนไลน์ Spaceth.co มาร่วมรายการ “เป็นเรื่องเป็นข่าว” พร้อมระบุว่า ในฐานะทำงานในด้านอวกาศ และ ตนเองก็ทำสื่อในด้านนี้ด้วย  และ รู้สึกดีใจที่ประเทศไทยมีโครงการอวกาศ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเราต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ เราจะทำไปเพื่ออะไร แล้วสังคมจะได้อะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นโจทย์ยากมากๆสำหรับวงการอวกาศ และ วงการวิทยาศาสตร์ เพราะดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก จะไม่เหมือนการทำถนน หรือ ด้านสาธารณสุข

ที่ผ่านมาก็เห็นแนวโน้มเรื่องนี้มาพักหนึ่งแล้ว ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ในประเทศสหรัฐฯเขามีการประกาศแผน Artemis โดยโครงการนี้ก็เหมือน โครงการ “อะพอลโล” เมื่อ 50 ปีที่แล้ว แต่การกลับไปดวงจันทร์ครั้งนี้แตกต่างจากยุคสงครามเย็น ที่เมื่อก่อนเราไปสำรวจดวงจันทร์ ไปปักธงบนดวงจันทร์ สหรัฐฯจะต้องชนะสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของธุรกิจ ที่ธุรกิจบนโลกจะเติบโตไปถึงดวงจันทร์

ส่วนในมุมของประเทศไทยจะไปสำรวจดวงจันทร์มีวัตถุประสงค์อะไรนั้น ศาสตร์ของการสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคาร เป็นศาสตร์ Frontier ภาษาไทยหมายถึงเป็นศาสตร์ของพรหมแดน ที่เป็นจุดของมนุษย์ไม่เคยถ้าไปถึงมาก่อน ดังนั้นงานวิทยาศาสตร์เราไม่ได้แค่ในมุมว่าในวันนี้จะกินอะไร พรุ่งนี้กินอะไร แต่สิ่งที่จะทำให้มนุษย์มีความคิด คือ ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน ถ้าพูดถึงสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อวกาศจึงอยู่ในหัวข้อแรกๆที่เราจะหยิบมาพูดกัน  เพราะว่ามนุษย์มองท้องฟ้าตั้งแต่อดีตกาลว่าบนท้องฟ้ามีอะไร สวรรค์มีจริงหรือไม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ตั้งคำถามนี้มาจนจุดที่วันนี้มีโครงการอวกาศอีกมากมาย สามารถส่งยานไปสำรวจต่างๆได้ สามารถส่องกล้องไปจนเห็นหลุมดำที่อยู่ใจกลางกาแล็คซี่ได้ อันนี้จึงเป็นการค้นคว้าที่เรียกว่าศาสตร์ Frontier แต่สิ่งสำคัญคือเราทำศาสตร์นี้ไปเพื่ออะไร และ ศาสตร์Frontier ก็บอกอยู่แล่วว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยทำมาก่อน การที่มนุษย์ไม่เคยทำมาก่อนมันเป็นการชาเลนจ์ตัวเอง ทำให้มนุษย์ค้นพบสิ่งใหม่ๆมากมายจึงต้องถามว่าถ้าประเทศไทยเป็นศาสตร์Frontier เราทำไปเพื่ออะไร

การที่ไปสำรวจนอกโลกจะได้องค์ความรู้ใหม่นั้น องค์ความรู้ที่ว่านี้ อาจไม่ได้เป็นองค์ความรู้ในลักษณะการค้นพบน้ำหรือไม่ หรือไปค้นพบสิ่งมีชีวิตหรือ แต่การทำงานในลักษณะเหล่านี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คือการสอนวิธีคิดให้กับคนในสมัย โครงการ“อะพอลโล” คอมพิวเตอร์สมัยก่อนระดับความแรงน้อยกว่ามือถือที่เราใช้ในปัจจุบันเป็นเครื่องขนาดใหญ่ แต่ไม่มีใครคิดเลยว่าเราสามารถทำให้เครื่องขนาดใหญ่กลายเป็นเครื่องเท่าฝ่ามือ ในอดีตเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯต้องส่งยานอวกาศออกไปดวงจันทร์ และ ยานที่อยู่ในอวกาศห่างเป้นเป็นแสนกิโลเมตรไม่สามารถที่จะรับสัญญาณกับโลกได้อย่างชัดเจน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ต้องมีตรรกะเป็นของตัวเอง คอมพิวเตอร์ก็มีขนาดใหญ่จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องพัฒนาให้เล็กลง เช่น ไมโครชิพ ดังนั้นจึงต้องย่อคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เท่าบ้านให้เล็กลงเพื่อนำมาวางในยานอวกาศได้ แล้วเทคโนโลยีที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์ไปอยู่ในยานอวกาศได้ ก็ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันทำให้เรามีคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามืออันนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการสำรวจอวกาศต้องมีเป้าหมาย แล้วสิ่งที่เรายังหาไม่ได้จากคำประกาศของ ดร.เอนก คือไม่รู้เลยว่าเป้าหมายที่เราไปๆเพื่ออะไร ทำเพื่ออะไร

เมื่อถามว่าอยากให้วิเคราะห์ดูว่า 7 ปีข้างหน้าจะพัฒนายานอวกาศไปดวงจันทร์ไทยจะต้องมีเป้าหมายและต้องทำอะไร

บก.Spaceth.co บอกว่า ในส่วนตัวมองว่าตรงนี้เป็นปัญหาของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีแผนที่ชัดเจนในเรื่องใดเลยที่มองออกมาเป็นรูปธรรม เราเคยได้ยินว่าประเทศไทยเคยเป็นครัวของโลก แต่ทำไมเกษตรกรยังต้องประสบปัญหาอยู่ทุกปี ทำไมยังมีม็อบเกษตรกร เราตั้งเป้าจะเป้นครัวของโลกจริงหรือไม่ ชีวิตของประชาชนยังมีความเป็นอยู่ดีหรือไม่ ทำจึงต้องมีการผูกขาด ทางการค้าด้านอาหาร

เมื่อไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนเราก็จะทำงานแบบงงๆไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐเอง ที่ผ่านมาไทยพยายามนำธุรกิจสตาร์อัพเข้ามา เอาโน้นนี่นั่นเข้ามาเต็มไปหมด จนสุดท้ายเราสับสนว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่

ส่วนกรณีจีนที่ส่งยานไปสำรวจยานเอากาศเขามีเป้าหมายที่ชัดเจนหรือไม่ บก.Spaceth.co มองว่า ในกรณีของจีนเป็นเคสที่จะตลกๆหน่อย เนื่องจากนาซา ไม่ยอมให้จีนเข้าไปร่วมพัฒนาเทคโนโลยีด้วย ดังนั้นจีนจึงจำเป็นต้องพัฒนาด้วยตัวเอง เป้าหมายของเขาเองต้องการพึ่งพาด้านเทคโนโลยี จีนคิดว่าถ้าวันหนึ่งไม่คบค้าอะไรกับใครจีนก็มีเทคโนโลยีมีงานวิจัย ในขณะที่ประเทศอิสราเอล ที่มีการส่งยานอวกาศไปลงบนดวงจันทร์ เมื่อปี 2019 แม้จะไม่สำเร็จแต่สิ่งที่เขาพยายามจะผลักดันคือความสามารถของขีดจำกัดของคน และ อิสราเอล ผลิตยานเป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้เป็นคนส่งยานไปยังอวกาศ เขาไปใช้บริการจรวดของ อีลอน มัสก์ เพราะค่าส่งราคาถูกและนำเงินงบประมาณที่เหลือมาพัฒนาเพิ่ม

เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน เราจะรู้เลยว่าจะต้องซื้ออะไร อะไรที่จะต้องทำเอง ถ้าจะต้องมีสถาบันวิจัย หรือ ออกหลักสูตรพัฒนาเด็กและเยาวชนเราจะต้องลงลึกไปถึงเรื่องอะไร งานแบบนี้ไม่ใช่ทำแค่ 1 หรือ 2 ปีงบประมาณเพราะงานอวกาศ อย่างนาซาทำยานไปดาวพฤหัสฯ ดาวพลูโตเขาใช้เวลาเป็นสิบๆปี โดย10 ปีเป็นการปล่อยยานจากโลกไปยังดาวพลูโต เท่านั้น อย่างเช่นกรณีที่ปล่อยนาซาปล่อยยานอวกาศไปยังดาวเสาร์ เมื่อปี 80-90 และมาสิ้นสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นทีมงานของเขานั่งอยู่ในยานอวกาศตั้งแต่เป้นสาวๆจนจบภารกิจต้องนั่งรถเข็นกลับมา ซึ่งงานพวกนี้เขาทำกันทั้งชีวิต ดังนั้นเป้าหมายใหญ่จึงสำคัญมาก

วันนี้ ! ยานแคสซินี่เตรียมพุ่งชนดาวเสาร์ ปิดฉากภารกิจ 13 ปี

เมื่อถามว่า ระยะเวลา 7 ปีไทยจะสามารถส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ได้หรือไม่ บก.Spaceth.co เชื่อว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้ และงานอวกาศเป็นงานของความร่วมมือ ในปัจจุบันตลาดอวกาศกำลังโต เมื่อปี2019 ในงานประชุมด้านอวกาศระดับโลก บริษัทอวกาศทุกบริษัทนั่งประชุมกันแล้วคุยกันว่า จะทำอย่างไรให้คอร์สไปดวงจันทร์ราคาถูกที่สุด เพื่อให้ทุกคนบอนโลกได้มีส่วนร่วมอย่างน้อยเราอาจได้ส่งงานวิจัยเข้าไป อาจจะมีน้องๆระดับมัธยมที่ทำวิจัยได้ส่งงานตัวเองไปพร้อมกับยาน หรือ แม้แต่โครงการสเปซเอ็กซ์ ที่มีโครงการให้เด็กนักเรียนออกแบบตัวล็อกเกอร์ไว้ใส่อุปกรณ์ต่างๆส่งไปพร้อมกับยานด้วย

ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่จึงสามารถส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ได้ บก.Spaceth.co กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่าต้องการอะไรมีเงินหลักแสนก็ทำงานอวกาศได้ ถ้าเรารู้ว่าเป้าหมายว่าต้องการอะไร ต้องการเพื่อเด็กและเยาวชน หรือต้องการสอนแนวคิดการเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้กับคนทั้งประเทศ ต้องมองออกไปลึกๆยาว ถ้ามองว่าต้องการพัฒนาเด็กและเยาวชน ก็ต้องเปิดให้เด็กและเยาวชนส่งตัวอย่างงานทดลองขึ้นไปกับยานที่ไปดาวอังคาร ในโครงการที่มียานอวกาศหลายร้อยลำ เราสามารถทำแบบนี้ได้ สามารถมีความร่วมมือนี้ได้ แม้กระทั่งในประเทศไทยในตอนนี้ ยังมีความร่วมมือส่งงานวิจัยขึ้นไปบนอวกาศอยู่เรื่องๆ อย่างกรณีของสวทช. เขาก็ไปจับมือหน่วยงานอวกาศของญี่ปุ่น เปิดโอกาสให้คนไทยส่งงานวิจัยต่างเข้าไป แต่ถ้าถามว่าเราจะส่งยานขึ้นไปเองก็ต้องย้อนถามว่าเราต้องการอะไร

เมื่อถามว่าถ้าส่งยานขึ้นไปเองจะต้องเสียงบประมาณเป็นหลักพันล้าน อย่างอิสราเอลใช้งบประมาณ 3 พันล้าน บก.Spaceth.co กล่าวว่า ถ้าเราไปดูงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณของงานวิจัยก็มีหลักร้อยล้าน พันล้าน เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเรามีแผนงานที่ชัดเจนก็จะมีการวัดว่าเม็ดเงินที่เราลงทุนไปแล้วได้อะไรกลับมา จะไม่มีการสุ่มอีกต่อไป เพราะเรารู้แล้วว่าจะต้องทำอะไร จะต้องบริหารงบย่างไร ไม่ต้องไปหางบประมาณเพิ่มถ้าเรามีแผนที่ชัดเจน

“สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยกับอาจารย์เอนก ที่บอกว่าจะระดมทุนจากคนไทย ซึ่งงบที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ ร้อยล้าน หรือ พันล้านเรามีอยู่แล้ว แค่จัดสรรให้ลงล็อกและถูกต้อง”

ส่วนที่หลายคนบอกว่าควรพัฒนาด้านสาธาณูปโภคของประเทศก่อนที่จะไปดวงจันทร์ บก.Spaceth.co มองว่า ไม่ทำก็ต้องทำ ไม่อย่างนั้นเราจะอยู่บนโลกแล้วถามว่าวันนี้เราไม่มีไฟฟ้า ไม่มีประปาได้หรือไม่ ซึ่งมันไม่ได้ ถ้าย้อนกลับไปในอดีตมีคนบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้า ไม่มีประปา เราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ยกตัวอย่างได้ง่ายคือ การเข้าเมาของโควิด-19 ทำให้ตัวโลกต้องมาเพิ่มพาเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพ

ยานนาซาจ่อเข้าใกล้พื้นผิวน้ำแข็งดวงจันทร์เอนเซลาดัส คาดอาจมีสิ่งมีชีวิต

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ