14 มกราคม “วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ” กับสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตลอดกาล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ร่วมรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ขณะที่ในปีที่ผ่านมา มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น 31 ชนิด

ไอยูซีเอ็น เผย “หนูแฮมสเตอร์ยุโรป” อาจสูญพันธุ์ใน 30 ปี

“ฮอนด้า” ยัน “มาร์เกซ” ชวดบิดสนาม 2 – ไม่ส่งใครลงแทน

“ป่าไม้” เป็นทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่สัตว์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ บ้างเป็นที่อยู่อาศัย บ้างเป็นอาหาร บ้างเป็นปราการธรรมชาติปกป้องพวกมันจากภัยต่าง ๆ รวมถึงเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์กับมนุษย์เรา

หากมนุษย์ช่วยกันรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อม ปกป้องผืนป่า ก็จะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ และยังช่วยให้วิถีชีวิตของสัตว์ป่าไม่เปลี่ยนแปลงไป

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีฯ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ อันเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

เพื่อเป็นการรณรงค์ต่อเนื่องระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จึงมีการอนุมัติให้กำหนดวันที่ 14 มกราคมของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ”

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2563 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น มีรายงานว่า สัตว์หลายชนิดทั่วโลกได้สูญพันธุ์ไปแล้วตลอดกาล โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการทำลายป่าของมนุษย์

สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) รายงานว่า ณ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 31 ชนิด ส่วนมากเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปบางส่วนที่น่าสนใจ ได้แก่

กบลูกศรพิษ (Splendid Poison-Arrow Frog)

เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในปานามา ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมันคือที่ราบลุ่มชื้นและป่าดิบชื้น สายพันธุ์นี้เคยมีอยู่ทั่วไปไม่ใช่สัตว์หายาก แต่ค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนไม่สามารถพบเห็นได้อีกต่อไป คาดว่าเกิดจากโรคระบาดส่วนหนึ่ง และเกิดความเปลี่ยนแปลงในที่อยู่อาศัย

ซาลาแมนเดอร์ฟอลส์บรูก (False Brook Slamander)

อยู่ในตระกูลสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีลักษณะคล้ายตัวนิวต์ เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในแถบเม็กซิโก กัวเตมาลา แต่ไม่มีใครพบเห็นมานานหลายสิบปี

เนื่องจากซาลาแมนเดอร์ชนิดนี้อาศัยอยู่ในต้นไม้และไม้ กิจกรรมการตัดไม้ รุกป่า และการเปลี่ยนพื้นที่เพื่อสร้างเมืองหรือทำฟาร์ม จึงเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรซาลาแมนเดอร์ชนิดนี้ลดน้อยลงจนสูญพันธุ์ในที่สุด

ตั๊กแตนแคระหนาม (Spined Dwarf Mantis)

เป็นตั๊กแตนตำข้าวซึ่งมีถิ่นกำเนิดในอิตาลี เคยถูกบันทึกการค้นพบไว้เพียงครั้งเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 ในพื้นที่ตอเลนติโน (Tolentino) และไม่เคยมีการพบเห็นอีกเลย แม้จะมีความพยายามในการสำรวจทางกีฏวิทยาในภูมิภาคนี้อย่างกว้างขวางแล้วก็ตาม

คางคกสีทอง (Golden Toad)

เคยพบในพื้นที่ทางเหนือของเมืองมอนเตเวร์เด ประเทศคอสตาริกา เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในป่าเมฆ ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2509 และพบครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

IUCN คาดว่า สาเหตุที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์ ได้แก่ ภาวะโลกร้อน โรคระบาด และมลพิษทางอากาศ

ประเทศไทยเองก็มีสัตว์สงวนใกล้สูญพันธุ์หลายชนิดที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น ละมั่ง สมัน กระซู่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ฯลฯ ซึ่งนอกจากการงดล่าสัตว์แล้ว การรักษาป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้เหมือนเดิมมากที่สุดก็เป็นอีกหนึ่งทางในการรักษาสัตว์เหล่านี้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลก เพราะยิ่งธรรมชาติเหมือนเดิมและถูกทำลายน้อยเท่าไร โอกาสที่พวกมันจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ก็มากขึ้นเท่านั้น

 

เรียบเรียงจาก กรมป่าไม้ / IUCN / Metro

ภาพจาก กรมอทุยานฯ / IUCN

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ