นักกฎหมายเตือนเล่น Clubhouse อาจถูกนำข้อมูลไปบิดเบือน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไซเบอร์ เปิดเผยผ่าน PPTVHD36 นิวมีเดีย ถึงอันตรายที่อาจซ่อนอยู่ในแอปพลิเคชัน Club house ซึ่งกำลังเป็นนิยมมากอยู่ในขณะนี้ หากผู้ใช้ไม่มีความระมัดระวังโดยเฉพาะการถูกบิดเบือนความจริง และ การถูกนำข้อมูลไปใช้หาผลประโยชน์ในเชิงการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต

ด้วยคาแรคเตอร์ของแอปพลิเคชัน Club house คือการสร้างห้อง private limit room กำหนดสมาชิกที่เข้าไปในห้องได้ไม่เกิน 6,000 คน พร้อมตั้งหัวข้อที่น่าสนใจขึ้นมา ซึ่งมีความหลากหลายมากโดยในห้องจะประกอบด้วย Moderator หรือ ผู้ดูแล, Speaker หรือ ผู้พูด/วิทยากร และ Audience  ผู้ฟัง

รู้จัก Clubhouse แอปพลิเคชันมาแรงที่ใช้ "เสียง" เป็นตัวหลักในการสื่อสาร

“ดีอีเอส” เตือน ใช้แอปฯ “Clubhouse” อย่าละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ระวังผิดกฎหมาย

มาพูดถึงช่องโหว่และความสุ่มเสี่ยงที่อาจถูกบิดเบือนข้อมูลได้ อ.ไพบูลย์ อธิบายว่า  ผู้พูดจะใช้เสียงเป็นตัวสื่อสารเท่านั้น ตามแนวคิดของผู้คิดค้นแอปพลิเคชันคือ Drop-in audio chat จุดเด่นคือ พูดแบบสดๆ ไม่มีการบันทึกเสียงใดๆ ไม่สามารถฟังย้อนหลังได้ ทำให้แอปพลิเคชันนี้ได้รับความนิยมขึ้นมาทันที เพราะหลายๆ ห้องที่ถูกสร้างขึ้นมาผู้พูดมักพูดข้อมูล Exclusive ต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลทางการเมือง ความมั่นคง หรือการพูดพาดพิงถึงบุคลอื่น ฯลฯ

ขณะที่ ผู้ฟังบางคน อาจฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่ตรงนี้บันทึกเสียงผู้พูดด้วยอุปกรณ์อื่นๆ และนำไปตัดต่อบิดเบือนได้ ซึ่งในตอนช่วงแรกผู้พูดอาจพูดพาดพิงบุคคลอื่นในทางเสียหาย พูดข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคง แม้ในตอนท้ายอาจจะมีการพูดว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงหรือเป็นความจริงบางส่วน ฯลฯ  แต่ก็สุ่มเสี่ยงถูกนำมาตัดต่อคลิปเสียงเพื่อบิดเบือนในภายหลังได้

อ.ไพบูลย์ จึงแนะว่า ให้ผู้พูดบันทึกเสียงตนเองด้วยทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐาน หากมีการนำมาตัดต่อบิดเบือนและเผยแพร่ในภายหลัง มีเช่นนั้นแล้วจะเป็นการยากมากที่จะพิสูจน์ในทางคดีเนื่องจากตัว แอปพลิเคชัน Clubhouse ไม่สามารถบันทึกเสียงด้วยตัวเองได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้กระทำการอัดเสียงและนำมาตัดต่อบิดเบือน การกระทำดังกล่าวถือว่าผิด พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 อาจเข้าข่ายกระทำความผิดในมาตรา 14

 

นอกจากนั้นแล้ว ช่องโหว่จากการกรอกข้อมูล แอปพลิเคชัน Club house ต้องกรอกข้อมูลจริงก่อนเข้าใช้งาน เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ รูปภาพ ซึ่งไม่มีข้อความขึ้นแจ้งว่าจะไม่เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลใดๆ เลย

“ จึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ข้อมูลของผู้ใช้นั้นถูกนำไปเก็บไว้ที่ใด หรือ ถูกนำไปใช้อะไรบ้าง เพราะธรรมชาติของโปรแกรมเหล่านี้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันต้องมีการ Back up ข้อมูลหรือมีเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลไว้อยู่แล้ว”

ล่าสุด Stanford Internet Observatory ศูนย์สังเกตการด้านอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสแตนด์ฟร์อด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ หรือ SIO สงสัยว่า Agora ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพเซี่ยงไฮ้ ขาย “แพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมด้วยเสียงและวิดีโอแบบเรียลไทม์” จาก แอปพลิเคชัน Club house ให้รัฐบาลจีน

แอปพลิเคชัน Clubhouse อาจมีช่องโหว่ให้รัฐบาลจีนเข้าถึงข้อมูล

และหลายครั้งข้อมูลส่วนตัวก็มักถูกนำไปส่งต่อเพื่อหาผลประโยชน์ทางการค้า การโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแอปพลิเคชัน Clubhouse หรือ แอปพลิเคชันต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน Telegram ที่ต้องการการยืนยันตัวตนที่ชัดเจน เพื่อเรียกความน่าเชื่อถือกับผู้ติดตาม เช่น กลุ่ม Influencer คนดัง คนมีชื่อเสียง หรือกลุ่มคนที่มีอิทธิิพลต่อความคิิด กลุ่มคนเหล่านี้มักจะเป็นผู้พูด ข้อมูลตัวตน หรือ แม้กระทั่งเสียงที่แสดงความเห็นต่างๆ ย่อมมีความสุ่มเสี่ยงมากเช่นกัน

ทวงถาม “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”

ด้วยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ แอปพลิเคชันต่างๆ เหล่านี้ อ.ไพบูลย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายและทวงถามไปยังรัฐบาลถึง  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ทั้งที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้แล้ว แต่กฎหมายลูกบางมาตรายังอยู่ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ซึ่งมองว่ายังมีความ "ล่าช้า" หากเทียบกับเทรนด์ของแอปพลิเคชันที่มีใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ