กรมอุทยานฯ ยืนยัน "ไม่พบเชื้อโคโรนา" ในสัตว์แปลกที่ขายตลาดนัดจตุจักร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยืนยัน ตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ในสัตว์ป่าหลายชนิดและหลายพื้นที่มีความปลอดภัย ชี้แจงกรณีสื่อต่างประเทศรายงานข่าวตลาดนัดจตุจักร อาจเป็นต้นกำเนิดเชื้อไวรัสโควิด – 19

จากกรณีที่สื่อต่างประเทศ โดยสำนักข่าวโพลิทิเคน ของเดนมาร์ก เสนอรายงานข่าว ระบุ ตลาดค้าสัตว์ในสวนจตุจักร กรุงเทพฯ อาจเป็นสถานที่ต้นกำเนิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยอ้างข้อมูลจากเธีย เคิลเซน ฟีสเชอร์ แพทย์ชาวเดนมาร์ก ซึ่งทำงานกับองค์การอนามัยโลก และยังมีรายงานการพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ ในค้างคาวบางสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

WHO สงสัย “ตลาดนัดจตุจักร” อาจเป็นต้นตอแพร่โควิด-19 ไปอู่ฮั่น

ข้อมูลจาก “หมอธี” ต้นตอโควิด-19 ไม่ได้แพร่จากไทย

รวมถึง สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของรัสเซีย เคยอ้างผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications) เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 ระบุ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ ถูกพบในเลือดของค้างคาวเกือกม้า 5 ตัว ที่อาศัยอยู่ในถ้ำจำลองของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่ง ทางตะวันออกของไทย ซึ่งคณะนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าเลือดของค้างคาวฝูงนี้ มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกับของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สูงถึง  ร้อยละ 91.5

วารสารวิจัยรัสเซียอ้าง "ค้างคาวในไทย" อาจมีไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แฝงอยู่

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินการ สำรวจสัตว์ที่มีการค้าในตลาดนัดจตุจักร และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อในสัตว์ทุกกลุ่ม เช่น สัตว์กลุ่มกระรอก กลุ่มแมว กลุ่มสุนัข กลุ่มหนู กระต่าย และสัตว์ต่างประเทศ เช่น ลิงมาโมเสท เม่นแคระ เมียร์แคท ชูการ์ไกลเดอร์ เป็นต้น ผลปรากฏว่า ไม่พบเชื้อไวรัสโคโรนา ในสัตว์ที่มีการค้าขายในตลาดนัดจตุจักร

ดังนั้น ข้อมูลที่กล่าวว่าไทยอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) นั้น จึง "ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด"

ขณะที่ สัตว์ที่มีการค้าในตลาดนัดจตุจักรเป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับอนุญาตให้มีการเพาะพันธุ์และค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งสัตว์ต่างประเทศที่มีการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย โดยมีชุดปฏิบัติการ 1362 ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าตรวจตรา ป้องกันการกระทำผิด รวมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องความปลอดภัย และการป้องกันโรคจากสัตว์ป่าสู่คนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประเด็นตามข่าวที่อ้างว่า พบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในค้างคาวเกือกม้า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางตะวันออกของประเทศไทยนั้น พบว่า ในเดือนมิถุนายน 2563 คณะนักวิจัยของไทย ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มค้างคาวมงกุฎ (หรือค้างคาวเกือกม้าที่กล่าวถึงในข่าว) ในหลายพื้นที่ รวมทั้งถ้ำหลายแห่งที่เป็นแหล่งเกาะนอนของค้างคาวมงกุฎยอดสั้นใหญ่ และดำเนินการเก็บตัวอย่างมูลค้างคาวและเลือด เพื่อทำการตรวจหาไวรัสโคโรนา 2019 โดยความร่วมมือทางวิชาการกับโปรแกรมการศึกษาและวิจัยโรคอุบัติใหม่ มหาวิทยาลัย Duke-NUS พบว่า

ไวรัสที่ตรวจพบในค้างคาวมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายไวรัสโคโรนา 2019 เพียงร้อยละ 91 ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้

นอกจากนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังได้ดำเนินการเชิงรุกโดยมีการสำรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในค้างคาว และลิ่น ในธรรมชาติ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นที่อาจเป็นตัวกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคอุบัติใหม่หรือการกลายพันธุ์ของเชื้อ รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้งดการล่า ค้า รวมทั้งบริโภคสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันโรคจากสัตว์สู่คน

นักวิจัยเดนมาร์กชี้แจง “ไม่ได้พูดถึงจตุจักร” กรณีสัมภาษณ์เรื่องต้นตอโควิด-19

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ