LIFE STORY : “ธนานันต์ เถ้าแก่ยุคเจนวาย” ทะเลาะกับพ่อเพื่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจในรุ่น 2


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ธนานันต์ (กานต์) สุวรรณโพธิ์รุ่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ธนวรรณ เครื่องเย็น จำกัด บอกเล่า ปัญหาใหญ่ของการรับช่วงต่อ “ธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น” ตัดสินใจเดินออกจากสนามข่าว เพื่อมาสานต่อธุรกิจครอบครัวที่พ่อกับแม่สร้างมากับมือเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่า

“เราอย่าปล่อยให้คนอื่น Disrupt เพราะเราจะไม่มีที่ยืนในแพลตฟอร์มใหม่ เราเลยคิดว่าเราต้อง Disrupt ตัวเองก่อน”

LIFE STORY : “ผอ.สถานศึกษา ” วัย 25 ปี ที่คิดนอกกรอบ และ พร้อมมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคน

กานต์ มองว่า การทำธุรกิจแบบเถ้าแก่อาจเป็นไปได้ยาก ในยุคที่การขายออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเขาเห็นเทรนด์นี้ตั้งแต่ช่วงปี 2558-2559 กระแส 3G 4G มาแรง แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีราคาถูก สมาร์ทโฟนราคาถูกลง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารง่ายขึ้น ซื้อขายผ่านออนไลน์เริ่มเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ Traditional หรือ การค้าปลีกรูปแบบเก่า จะถูก Disrupt เขาจึงตัดสินใจ Disrupt ตัวเองก่อน ด้วยการนำตู้แช่ สินค้าหลักของ ธนวรรณ เครื่องเย็น จำกัด มาขายผ่านช่องทางออนไลน์ เริ่มตั้งแต่เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านไลน์แอปพลิเคชัน ไลน์ OA ส่งต่อข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลผลิตภัณฑ์ โปรโมชัน ให้ลูกค้าก่อนที่จะเข้าสู่สนาม มาร์เกตเพลส เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดี เซ็นทรัล  และเข้าไปอยู่ทุกๆแพลตฟร์อม

แต่...กลับนำมาซึ่ง  “ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ กับ ลูก”

“คนที่สร้างจากศูนย์” กับ “คนรับช่วงจากร้อย”

กานต์ยอมรับว่าในช่วงแรกมีความเห็นไปตรงกับพ่อหลายอย่าง และหลายครั้งก็ถึงขั้นทะเลาะกันเสียงดัง ซึ่งสุดท้ายก็ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ

 “ เราทะเลาะกันกับคุณพ่อ มีวันหนึ่งวันอาทิตย์เรามีโอกาสที่จะเข้าไปกินข้าวในกรุงเทพฯ มีการพูดคุยงานกันในรถ เราบอกเราอยากทำแบบนี้ เราอยากขายออนไลน์ เราจะลดกำไรลงมาหน่อยนึงนะเพื่อแข่งขันในโลกออนไลน์ เขาก็ถามว่าทำไมเราต้องลด ในเมื่อเราขายหน้าร้านได้กำไรนี้อยู่แล้ว ทำให้เราคุยกันไม่รู้เรื่อง พอคุยกันไม่รู้เรื่องก็ทะเลาะ”

แล้วผมกับป๊าเสียงดังทั้งคู่ ทะเลาะกัน คุณแม่กับน้องสาวต้องแกล้งนอนบนรถ แกล้งหลับไปเลย ตื่นอีกทีไปกินข้าว พอไปกินข้าวบรรยากาศมันก็ไม่มีความสุขมากนักเพราะมันมีเรื่งอตะขิดตะขวงใจกัน เขาก็จะเป็นอีกทางหนึ่งในการทำธุรกิจ เราก็อีกทางในการทำธุรกิจ พอขากลับก็ทะเลาะกันอีก มาถึงบ้านทุกคนแยกย้ายสุดท้ายก็ไม่ได้ข้อสรุป

“ต้องเปลี่ยนความคิด พ่อแม่ที่ก่อร่างสร้างบริษัทขึ้นมา ผมเชื่อว่าทุกธุรกิจเป็นเหมือนกันที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี หรือที่เป็นธุรกิจเจนเนอเรชั่น 2 เจนเนอเรชั่น 3 เข้ามารับช่วงต่อ จะมีปัญหาช่วงระหว่างวัย ภาพที่เขาเห็นเป็นคนละภาพกับที่เราเห็น ภาพที่เขาเห็นอาจเป็นอีกภาพหนึ่ง ภาพที่เราเห็นอาจเป็นอีกภาพหนึ่ง ดังนั้นมันไม่มีทางจูนกันติดแน่นอน”

 แต่สุดท้ายก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้อง“ลุยเอง ตัดสินใจเอง แล้วเอาผลมาให้พ่อดู”

ดึงจุดดี “ยุคเก่า ผสมผสาน ยุคใหม่”

เขาบอกว่า ปัญหาของเจนเนอเรชั่นใหม่คือใจร้อนเกินไป พอมองย้อนกลับไปผมอาจจใจร้อน และผมแข็งมาก แต่อาจจะเป็นข้อดี คือ เราก็ยืนหยัดในความคิดเราเอง เราลองทำกับเขา ถ้าเกิดเราไม่ยืนหยัดเราอาจไม่ได้ทำ ไม่ได้มาถึงจุดนี้ แ

แต่...ปัญหาของเจนเนอเรชั่นก่อนคือ ต้องได้แบบนี้ ถ้าไม่ได้แบบนี้ก็จะไม่ทำ ซึ่งสุดท้ายก็มีแต่ทะเลาะกัน พอทะเลาะกันก็จะไม่ได้ทำ ซึ่งจริงๆ เราควรจะกลืนเขาไป กลืนๆ เขาไป ทำธุรกิจทำๆ เสร็จแล้วเอาผลงานไปให้เขาดู ซึ่งถ้าเราผลงานต่อเนื่อง สุดท้ายเขาจะเข้าใจเองว่า อ๋อ สมัยใหม่มันต้องใช้วิธีแบบสมัยใหม่ การค้าขายกับคนสมัยเก่าก็ใช้กับคนสมัยเก่า ค้าขายกับคนสมัยใหม่ก็ใช้วิธีสมัยใหม่ พอเขาเริ่มเห็นผลงานเขาจึงจะเริ่มยอมรับ  หลังๆ ก็จะไม่ค่อยทะเลาะกันแล้ว เขาจะเข้าใจมุมมองของเรามากขึ้น

"  เราพยายามเอาสิ่งที่ดีในสมัยก่อน คือการคุยกับลูกค้า แนะนำขายสินค้ากับลูกค้าแบบเถ้าแก่เอามาประยุกต์กับสมัยใหม่ วิธีการคุยแบบสมัยเดิม มันแสดงถึงความจริงใจที่มีกับลูกค้า บางทีลูกค้าเข้ามายังไม่ได้ซื้อ เข้ามาถามว่าตู้แช่คืออะไร เรามีการนำเสนอเข้าไป ใช้แบบนี้นะตู้แช่เป็นแบบนี้เข้ามีโอกาสก็กลับมาซื้อเรา อันนี้เป็นจุดดีของสมัยก่อนกับช่องทางสมัยใหม่ที่เราเอามาใช้ "

ตอนนี้กานต์ เข้ามารับช่วงต่อจากพ่อประมาณ  70-80 เปอเซ็นต์ ทำให้เขาเริ่ม มองระยาวยาวถึงการ “ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในรุ่น 2”

เพราะเขามองว่า สักปีสองปีที่ผ่านมา เราเห็นกระแสอันหนึ่งคือ D2C คือ (Direct to Customer) แบรนด์ โรงงาน ขายตรงสู่ลูกค้า ส่งผ่านลูกค้าดังนั้นสิ่งที่ เป็นดิสทิบิวชัน เซ็นเตอร์ หรือเป็น พ่อค้าคนกลาง อย่างเราจะเริ่มมีบทบาทน้อยลง ตรงนี้ทำให้การค้าที่เป็น Traditional Trade ในปัจจุบัน  น่าจะลมหายตายจากเยอะมาก  เพราะว่ากระบวนการต่างๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

ดังนั้นมีสองทางเลือก คือ "สลายตัวไปเลย ลดขนาดลงมา ทำได้เท่าที่ทำ"  หรือ "สู้ต่อ"

เขาเลือก "สู้ต่อ" โดยหาจุดแข็งใหม่ ดังนั้นในปีนี้ จะเป็นปีที่เราทรานส์ฟอร์ม จากร้านค้าทั่วไป คือ ร้านปลีกทั่วไป เข้ามาร้อนบ้าง ฝุ่นเกาะบ้าง อาจจะไม่มีมาตรฐานมากนัก ขายแบบเถ้าแก่ขาย เราจะเปลี่ยนตรงนี้ให้เป็น โมเดิร์นเทรด มีฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายจัดขาย ฝ่ายการตลาด บัญชี การเงินที่ชัดเจน ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เป็นบริษัทเป็นระบบมากขึ้น จะทำให้อยู่รอดได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ "เด้กรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาเปิดธุรกิจของตัวเองคือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ" โมเดิร์นเทรดของธนวรรณ จะรวบรวมไว้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ ออกแบบร้าน คำนวณงบประมาณ ตกแต่ง อุปกรณ์ต่างๆ จนถึงพร้อมเปิดให้บริการ

โดยแบ่งเป็น3 ส่วนคือ ตู้แช่ ที่เป็นธุรกิจหลัก 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ ตู้เย็น ทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องครัวชิ้นเล็ก อีกส่วนเป็นเครื่องครัวสแตนเลส และเครื่องครัวที่ใช้ในการทำอาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม ขวดซอส เตาปิ้งย่าง เตาหมูกระทะ เตาสเต๊กเทปัน หม้อก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นเข้ามา จะมีลักษณะเหมือนอีเกีย 

"เดินเข้ามาหยิบดินสอ ปากกา จะเปิดร้านอาหาร ร้านกาแฟ มีงบประมาณ 300,000 บาท ทำอะไรได้บ้าง แล้วเราจะมีทีมงานที่เข้ามาช่วยแนะนำ เพื่อสามารถคุมงบประมาณได้  มีสถาปนิกมาช่วยออกแบบร้าน คือ มาที่เดียวจบเลย เปิดร้านอาหาร ร้านกาแฟ ได้เลย เป็นโมเดลที่จะทำในปีนี้"

ติดตาม บทสัมภาษณ์เต็มๆ พร้อมเคล็ดลับการรับช่วงต่อธุรกิจ "จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก" ช่องว่างและการมองภาพธุรกิจระหว่างคนสร้างกับคนต่อยอด ไม่ง่ายแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ถ้ามีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน

เจาะลึก “ตู้แช่วัคซีน” ฝีมือคนไทยราคาถูกกว่าต่างประเทศแต่คุณภาพเทียบเท่า

 

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ