“ศักดิ์สยาม” เผย 1 ก.ย.เปิดอีก 6 เส้นทาง ช่องขวาสุดวิ่งได้ 120 กม./ชม.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ศักดิ์สยาม” ติดตามความคืบหน้า การขยายเส้นทาง อนุญาตให้รถวิ่งได้ 120 กม./ชม. ขณะที่ 1 ก.ย.ขยายเปิดอีก 6 เส้นทาง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามผลการเปิดใช้เส้นทางที่อนุญาตให้รถวิ่งได้ 120 กม./ชม. และ ความคืบหน้าการขยายเส้นทางที่จะเปิดใช้ในระยะถัดไป  ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meeting โดยมี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง คณะผู้บริหารกรมทางหลวง และ กองบังคับตำรวจทางหลวง เข้าร่วมประชุม โดย กรมทางหลวงทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ

“ศักดิ์สยาม” เผย คจร. เห็นด้วย แผนปฏิรูปเส้นทางเดินรถขสมก. 162 เส้นทาง

“ศักดิ์สยาม” ลั่น พร้อมรับมือ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ทั้งบก-น้ำ-อากาศ

 

 

โดยนายศักดิ์สยามฯ กล่าวว่า กรมทางหลวง ได้นำเสนอผลการใช้งานของประชาชนในเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ช่วง บางปะอิน - อ่างทอง ที่ได้เปิดใช้ไปตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.64 ซึ่งผู้ขับขี่ได้มีการใช้ความเร็วตามความเร็วจำกัด ในแต่ละช่องทางดีขึ้น โดยตรวจสอบจากสัดส่วนยานพาหนะที่วิ่งด้วยความเร็วที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดในแต่ละช่องทาง พบว่า มีการฝ่าฝืนการใช้ความเร็วในแต่ละช่องจราจรลดลง เทียบกับก่อนการบังคับใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. ซึ่งกองบังคับการตำรวจทางหลวงได้รายงานว่า ในช่วงเส้นทางดังกล่าวมีการบังคับใช้กฎหมายและมีการออกใบสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในการประชุมได้มีการกำหนดแผนที่จะเปิดเส้นทางที่อนุญาตให้ประชาชนผู้ขับขี่ใช้ความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. ในช่องทางขวาสุด เพิ่มเติมอีก โดยมีเส้นทางตามแผนรวมระยะทางทั้งสิ้น 246 กิโลเมตร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตรวจสอบสิทธิเยียวยา มาตรา 33 งวดแรกเข้าพร้อมเพย์ เปิดสาเหตุเงินไม่เข้า 'แรงงาน' เช็กกลุ่มตกหล่น

ระยะที่ 2 จะเปิดให้ใช้ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป จำนวน 6 สายทาง ประกอบด้วย

1. ทางหลวง 1 (สนามกีฬาธูปะเตมีย์ - ประตูน้ำพระอินทร์) กม. 35+000 - กม. 45+000 จ.ปทุมธานี ระยะทาง 10 กิโลเมตร

2. ทางหลวง 1 (หางน้ำหนองแขม - วังไผ่) กม. 306+640 - กม. 330+600 จ.นครสวรรค์ ระยะทาง 23.96 กิโลเมตร

3. ทางหลวง 2 (บ่อทอง - มอจะบก) กม. 74+500 - กม. 88+000 จ.นครราชสีมา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร

4. ทางหลวง 32 (อ่างทอง - โพนางดำออก) กม. 50+000 - กม. 111+473 จ.อ่างทอง, จ.สิงห์บุรี ระยะทาง 61.473 กิโลเมตร

5. ทางหลวง 34 (บางนา - ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) กม. 1+500 - กม. 15+000 จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร 6. ทางหลวง 304 (คลองหลวงแพ่ง - ฉะเชิงเทรา) กม. 53+300 - กม. 63+000 จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 9.7 กิโลเมตร

ระยะที่ 3 จะเปิดให้ใช้ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป จำนวน 5 สายทาง ประกอบด้วย

1.ทางหลวง 4 (เขาวัง - สระพระ) กม. 160+000 - กม.167+000 จ.เพชรบุรี ระยะทาง 7 กิโลเมตร

2. ทางหลวง 4 (เขาวัง - สระพระ) กม. 172+000 - กม.183+500 จ.เพชรบุรี ระยะทาง 11.5 กิโลเมตร

3. ทางหลวง 9 (บางแค - คลองมหาสวัสดิ์) กม. 23+000 - กม. 31+872 เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 8.872 กิโลเมตร

4 ทางหลวง 35 (นาโคก - แพรกหนามแดง) กม. 56+000 - กม. 80+600 จ.สมุทรสงคราม ระยะทาง 24.6 กิโลเมตร

5. ทางหลวง 219 (สตึก - หัวถนน) กม. 108+500 - กม. 122+000 จ.บุรีรัมย์ ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร

ระยะที่ 4 จะเปิดให้ใช้ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป จำนวน 3 สายทาง ประกอบด้วย

1.ทางหลวง 1 (หนองแค - สวนพฤกษาศาสตร์พุแค) กม. 79+000 - กม. 105+000 จ.สระบุรี ระยะทาง 26 กิโลเมตร

2. ทางหลวง 347 (เทคโนโลยีปทุมธานี - ต่างระดับเชียงรากน้อย) กม. 1+000 - กม. 11+000 จ.ปทุมธานี ระยะทาง 10 กิโลเมตร 3.ทางหลวง 219 (สตึก - หัวถนน) กม. 122+000 - กม. 134+500 จ.บุรีรัมย์ ระยะทาง 12.5 กิโลเมตร

โดยที่ในเส้นทางที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน ระหว่างกรมการขนส่งทางบกและกรมทางหลวง ภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

ที่กระทรวงคมนาคม ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำชับให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุข และประกาศที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งให้กรมทางหลวงประชาสัมพันธ์และสื่อสารให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้งในมิติของเส้นทางที่จะดำเนินการ และวันที่ ที่ประชาชนจะสามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม. ได้ตามกฎกระทรวง และ ประกาศผู้อำนวยการทางหลวง เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างทั่วถึง และ ถูกต้องต่อไป

นอกจากนี้ นายศักดิ์สยาม ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการยกระดับความปลอดภัยบนทางหลวงสายหลัก จำนวน 47 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางในภาคเหนือ 9 เส้นทาง ระยะทาง 186 กิโลเมตร เส้นทางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 เส้นทาง ระยะทาง 96 กิโลเมตร เส้นทางในภาคกลาง 15 เส้นทาง ระยะทาง 288 กิโลเมตร เส้นทางในภาคตะวันออก 9 เส้นทาง ระยะทาง 177 กิโลเมตร และเส้นทางในภาคใต้ 7 เส้นทาง ระยะทาง 116 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 863 กิโลเมตร ซึ่งจะต้องมีการก่อสร้างกำแพงคอนกรีต สะพานกลับรถหรือทางลอดกลับรถ สะพานคนเดินข้าม พร้อมทั้งปรับปรุงกายภาพ เส้นทางให้ปลอดภัย สามารถรองรับความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. โดยได้กำชับให้กรมทางหลวงเตรียมการออกแบบให้เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนผู้สัญจรใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ต่อไป

รู้จัก "โควิด-19 สายพันธุ์เอปซิลอน” ระบาดในปากีสถาน หวั่นลามมาไทย

โปรแกรมถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2020 วันนี้ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค. 2564

 

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ