แม่ใจสลายเล่านาทีลูกนั่งรอหมอจนสิ้นใจ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีโลกออนไลน์ได้แชร์เรื่องราวการเสียชีวิตของลูกชายหลังมีอาการปวดท้อง เหนื่อยหอและหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งแม่ได้พาไปโรงพยาบาล แต่ต้องรอพบแพทย์นานถึง 2 ชั่วโมง จนเจ้าตัวได้นั่งคอพับหมดสติ แพทย์ต้องปั๊มหัวใจช่วย แต่สุดท้ายไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ทำให้แม่ยังติดใจการเสียชีวิตของลูกชาย ทั้งๆที่ไปถึงโรงพยาบาลแล้วแต่ก็ไม่ได้รับการรักษา แถมยังเจอคำพูดไม่ดีจากพยาบาล

เหตุการณ์นี้ผู้เป็นแม่ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อ 2 ส.ค.เป็นภาพลูกชายนั่งอยู่บนรถเข็นของโรงพยาบาล พร้อมข้อความว่า พาลูกที่ป่วยไปโรงพยาบาลแต่พยาบาลบอกให้รอนานสุดท้ายลูกชายเสียชีวิตคารถเข็น โดยเธอตั้งคำถามว่า หากเป็นลูกเป็นหลานเป็นคนที่รักของพยาบาลจะรู้สึกอย่างไร

น.ส.เพ็ญ บอกว่า เธอรู้สึกเสียใจและเสียความรู้สึกมากไม่คิดว่าลูกชายจะเสียชีวิต ซึ่งไปถึงโรงพยาบาลแล้วแต่ไม่มีหมอหรือพยาบาลมาแม้แต่สอบถามอาการหรือ นำออกซิเจนเข้ามาช่วยเหลือลูกชายตอนที่ลูกหายใจไม่ออก หากช่วยทันคิดว่าลูกอาจไม่เสียชีวิต

ลูกชายโวย รพ.ไม่มีหมอเวร ต้องปั๊มหัวใจยื้อชีวิตพ่อตัวเอง สุดท้ายดับ ผอ.แจงช่วยเต็มที่แล้ว

เปิดประวัติ “วังค้างคาว” อาคารเก่าริมน้ำเจ้าพระยาสร้างสมัยรัชกาลที่ 5

ยืนยันว่าลูกชายไม่เคยมีโรคประจำตัว แค่เคยผ่าตัดต่อมหมวกไตตอนอายุ 8 ขวบเท่านั้น โดยหลังจากที่เธอโพสต์เล่าเรื่องราวดังกล่าวในเฟซบุ๊ก ทางโรงพยาบาลได้โทรศัพท์มาขอโทษและให้เธอเข้าไปรับเงินค่าทำศพพร้อมยื่นคำร้อง ม.41 ขอรับเงินช่วยเหลือกรณีเสียหายจากการรักษา แต่ตอนนี้ยังไม่ตัดสินใจขอปรึกษากับผู้รู้ก่อน

ด้าน ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์ เปิดเผยว่า กรณีนี้นอกจากการยื่นคำร้องตาม ม.41 ขอรับเงินช่วยเหลือกรณีเสียหายจากการรักษา กรณีการเสียชีวิต 4 แสนบาท จาก สปสช.แล้ว หากแม่ไม่พึงพอใจก็สามารถฟ้องร้องต้นสังกัดของหน่วยงานรัฐได้ ตามพระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มาตรา 5 และ เอาผิดทางกฎหมายอาญากับแพทย์และพยาบาลในข้อหาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี

ทนายเดชา ยังบอกอีกว่า หลักฐานสำคัญคือภาพกล้องวงจรปิดในโรงพยาบาลที่ยืนยันได้ว่ากรณีนี้เกิดขึ้นจริงตามที่แม่บอกเล่ามาหรือไม่ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ส่วนที่แพทย์และพยาบาลอ้างว่าขณะนั้นมีผู้ป่วยที่รอการรักษาจำนวนมาก ใช้อ้างไม่ได้อาจฟังไม่ขึ้น เนื่องจากแพทย์จะต้องเป็นผู้ประเมินผู้ป่วยว่ารายใดมีอาการร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตก็ต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยรายนั้นก่อน

ปรากฎการณ์หายาก หิมะตกหนักปกคลุมโบลิเวีย – เปรูขาวโพลน

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ