เปิดแผน “โรงเรียนแซนด์บ็อกซ์” ปลอดภัยกว่าอยู่บ้าน นำร่องเฟสแรก 16 ส.ค.นี้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลกระทบจากการประกาศปิดโรงเรียนในพื้นที่การระบาดโควิด เป็นเหตุให้นักเรียนหลายคนเข้าไม่ถึงการเรียนการสอนได้ดีเท่าที่ควร ทำให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวคิดทำโรงเรียนแซนด์บ็อกซ์ เพื่อลดผลกระทบด้านการศึกษา ให้เด็กกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องปฎิบัติตามมาตารการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด และเชื่อว่า ปลอดภัยกว่าอยู่บ้าน

ครม. ช่วยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเด็กนักเรียน เทอม 1 วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท

ศบค.เผยโควิดคร่าทารก 4 เดือน วันนี้ 26 คนเสียชีวิตในบ้าน ระบาดใหม่ 7 คลัสเตอร์ สธ.โต้ข่าวบิดเบือนโคว...

"เรียนออนไลน์" สะท้อนเหลื่อมล้ำ? กับทางออก “การศึกษาไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19”

เงื่อนไขสำคัญของ Sandbox Safety Zone in School หรือ โรงเรียน​แซนด์บ็อกซ์​ คือ โรงเรียนดังกล่าวต้องมีความพร้อมทั้งด้านสถานที่ บุคลากรทางการศึกษา ครู นักเรียน และต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง นี่เป็นคำอธิบายของ นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ที่เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวี พร้อมระบุว่าหากจะรอให้สถานการณ์โควิดคลี่คลาย แล้วค่อยให้นักเรียนกลับเรียนที่โรงเรียน ได้ตามปกติคงเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ โดยเฉพาะ​ในพื้นที่สีแดงและสีแดงเข้ม เพราะตอนนี้เด็กหลายคนเข้าไม่ถึงการเรียนการสอนได้ดีเท่าที่ควร 

 

เบื้องต้น นายแพทย์สราวุฒิ บอกว่าตอนนี้แนวคิดดังกล่าวได้ผ่านการอนุมัติจาก ศบค.ชุดเล็กแล้ว และเตรียมหาโรงเรียนนำร่อง มาทดสอบระบบในกลางเดือนสิงหาคมนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนประจำ เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนนานาชาติ โดยตอนนี้มีโรงเรียนที่สนใจทำแซนด์บ็อกซ์ประมาณ 100 โรงเรียนจากทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สีแดง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาจะประเมินความพร้อมของโรงเรียน เพื่อคัดเลือกโรงเรียนนำร่อง โดยเฟสแรกเริ่ม 16 ส.ค.นี้ และ เฟสที่สองจะเริ่มหลังเดือนสิงหาคม โดยจะถอดบทเรียนจาเฟสแรกมากำหนดแนวทางต่อไป

 

โดยหลักการสำคัญของโรงเรียนแซนด์บ็อกซ์ คือ ต้องมีการจำกัดบุคคลเข้าออกให้ชัดเจน ห้ามออกนอกโรงเรียน 14 วัน หรือ 1 ภาคเรียน หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี มีการคัดกรองโควิดโดย Antigen Test Kit และ สุ่มตรวจทุก 14 วัน หรือ 1 เดือน ครู นักเรียน ต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงโควิด ตามระยะเวลาที่กำหนด เน้นการทำกิจกรรมในรูปแบบ Bubble and Seal ครู บุคลากรทางการศึกษา ต้องได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่า 85%  นักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะพิจารณาฉีดวัคซีน mRNA ให้เด็กอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป เป็นรายกรณี แต่ยอมรับว่าสถานการณ์ที่วัคซีนมีไม่เพียงพอ นักเรียนกลุ่มนี้อาจต้องรอวัคซีนไปก่อน

“ตอนนี้ถ้าเราดูตัวเลขแล้ว คนที่ติดเชื้อจะไปติดเชื้อกับคนใกล้ชิด ส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน เด็กส่วนใหญ่ก็จะติดจากพ่อแม่ หรือคนที่มาอยู่ที่บ้าน เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่กังวลตอนนี้คือ โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนประจำ ซึ่งเขาตรวจหมดทุกคนทั้งครูและนักเรียน เขาไม่เป็นโรค ผลเป็นลบ แต่พอมีคำสั่งออกมา ในพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่สีแดงเข้มต้องปิดโรงเรียน เขาต้องเอาเด็กกลุ่มนี้กลับไปบ้าน โอกาสเสี่ยงมากกว่าเด็กที่ไม่ติดเชื้ออยู่ในโรงเรียน เพราะฉะนั้นต้องมองกลับกันนิดนึง ถ้าเด็กกลับไปอยู่บ้านพ่อแม่ผู้ปกครองเอง คงไม่ได้อยู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง ไม่สามารถอยู่ในบ้านแบบ Bubble and Seal​ เหมือนในโรงเรียน ที่ทำมาตรการเหล่านี้ไว้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ด้าน ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับทีมข่าวว่า เห็นด้วยกับการทำโรงเรียนเเซนด์บ็อกซ์ เพราะตอนนี้การศึกษารอไม่ได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือ ต้องมั่นใจว่ามาตรการของโรงเรียนแซนด์บ็อกซ์ ลดความเสี่ยงให้เด็กได้จริง ต้องจำกัดคนเข้าออกให้ได้เหมือนล็อกดาวน์ เพราะไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นคลัสเตอร์ได้ โดยเฉพาะเรื่องวัคซีน ที่มองว่าครูควรได้รับวัคซีนไฟเซอร์ เพื่อกระตุ้นภูมิเป็นเข็มที่ 3 เพราะตอนนี้เด็กยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลย

ทั้งนี้ สัปดาห์หน้า กรมอนามัย และกระทรวงศึกษาธิการ จะร่วมกันคัดเลือก โรงเรียนที่มีมาตรการรองรับผ่านเกณฑ์ และจะนำร่องเฟสแรก 16 สิงหาคมนี้ ส่วนที่เหลือ จะเปิดเฟสที่ 2 หลัง สิ้นเดือนสิงหาคม

WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”

สวทช. พัฒนาวัคซีนโควิด-19 แบบพ่นจมูก เตรียมทดสอบในมนุษย์ปลายปีนี้

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ