ผู้พักอาศัยร้องเรียน รถไฟฟ้าเสียงดังบ่อย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังจากที่ทีมข่าวพีพีทีวีได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียม ติดกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งได้รับผลกระทบเรื่องเสียงรถไฟฟ้าวิ่งในยามวิกาลและแรงสั่นสะเทือน ล่าสุดกรมการขนส่งทางราง หน่วยงานที่เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเตรียมส่งเรื่องถึงกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาติดตั้งกำแพงกันเสียงแก้ปัญหาให้ประชาชน

คลิปวิดีโอที่ทีมข่าวบันทึกไว้ ขณะรถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งผ่านคอนโดมิเนียม ย่านบางซ่อน ช่วงกลางวัน ซึ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับคลิปวิดีโอที่ผู้พักในคอนโดฯ บันทึกไว้ตอนกลางคืน จะพบว่า ช่วงกลางคืนเสียงรถไฟฟ้าดังมากกว่า นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชุมชนรอบๆบริเวณนี้ ตัดสินใจร้องเรียนปัญหาดังกล่าวถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทีมข่าวสัมภาษณ์ นายทยากร จันทรางศุ ผู้อำนวยการมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง ยอมรับว่า ตั้งแต่เริ่มเดินรถไฟฟ้ามีประชาชนร้องเรียนปัญหา เรื่องการเดินรถเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

วุ่น! โจรลักสายไฟ "รถไฟฟ้าสายสีแดง" ส่งผลเครื่องมือชำรุด มีคนบุกรุกเข้าเขตหวงห้าม

“บีทีเอส” วอน “บิ๊กตู่” เร่งแก้ปัญหา รัฐบาลติดหนี้ 30,000 ล้านบาท

โดยเฉพาะเดือนที่ผ่านมามีการร้องเรียนของรถไฟฟ้าสายสีแดงจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเสียงดังและแรงสั่นสะเทือน

การลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่าจุดที่เป็นปัญหา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณทางโค้ง ช่วงที่รถไฟฟ้าออกตัวจากสถานี และช่วงเบรกก่อนเข้าสถานี ซึ่งระดับเสียงอยู่ที่ 120 เดซิเบล ขณะที่เส้นทางเดินรถปกติระดับเสียงอยู่ที่ประมาณ 80 ถึง 90 เดซิเบล

ผู้อำนวยการมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทางบอกว่า การแก้ไขปัญหา เรื่องเสียงดังจากการเดินรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ จะต้องซ่อมบำรุงราง โดยการเจียราง เคลือบน้ำมันลดการเสียดสีและติดตั้งกำแพงกั้นเสียง ซึ่งในส่วนของการซ่อมบำรุงเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจสอบ หากพบปัญหา จะประสานงานให้ผู้ให้บริการจะได้รับการแก้ไขปัญหาภายในเวลา 2 ถึง3 เดือน แต่ในส่วนของการติดตั้ง กำแพงกั้นเสียงนั้น จะขึ้นอยู่กับการจัดหางบประมาณของผู้ให้บริการ

ปัญหาเรื่องนี้ เคยถูกร้องเรียนไปที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิกเฉยต่อการแก้ไขปัญหา

 ทีมข่าวพีพีทีวี พูดคุยกับ นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ข้อมูลว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มักได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหารถไฟฟ้าหลายครั้ง แม้ว่า จะไม่ใช่หน่วยงานแก้ปัญหาโดยตรง แต่เมื่อได้รับการร้องเรียน ก็ต้องตรวจสอบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาหรือไม่ หรือ ใช้งบประมาณคุ้มค่ากับการแก้ปัญหาหรือไม่นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบเรื่อง งบ เงินเดือน หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งจากการตรวจสอบที่ผ่านมา ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ 

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มองว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าและดำเนินการวิ่งรถไฟฟ้านั้นจะต้องมีการประเมินผลกระทบโครงการหรือทำEIA ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งกรณีการเดินรถไฟฟ้าที่มีผลต่อชุมชนสามารถเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยเช่น การสร้างที่อยู่อาศัยขึ้น ภายหลังจากการสร้างรถไฟฟ้าแล้ว ซึ่งในส่วนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมการขนส่งทางรางก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านต่อไป

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ