สำรวจปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักของไทย ยังพร้อมรับน้ำไหลเข้าอีก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สำรวจปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยทั้งหมดยังมีที่ว่างรองรับน้ำที่จะไหลเข้า ส่วนน้ำที่ท่วมเกิดปริมาณฝนที่ตกส่วนใหญ่ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อนฯ

เตือน! 12 จว.รวม กรุงเทพฯ ปภ.สั่งเตรียมรับมือน้ำหลาก ประชาชนริมน้ำให้ระวัง

ด่วน!! นนทบุรี เตรียมรับมือน้ำท่วม 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 26-30 ก.ย.นี้

อุตุฯ เตือน ฝนตกหนัก 39 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

แม้สถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่จะต้องเผชิญกับอุทกภัย เพราะได้รับผลกระทบพายุโซนร้อน "เตี้ยนหมู่" ส่งผลให้น้ำในลุ่มเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำทางตอนบนที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ทำให้กรมชลประทานต้องตัดสินใจปรับปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งอาจส่งผลให้ประชาชนที่อยู่บริเวณนอกคันกันน้ำได้รับความเดือนร้อนเพราะระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร{

สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาพรวมปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วงเนื่องจาก ปริมาณน้ำเก็บกักรวม 11,648 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำใช้การได้
4,952 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุใช้การ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯจำนวน 278.16ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 10.26 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 13,223 ล้าน ลบ.ม.  โดยแยกเป็น 

• เขื่อนภูมิพล ปริมาณน้ำ 6,098ล้าน ลบ.ม. (45% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้ 2,298ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงอ่างฯ 133.34 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 0.50 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 7,364 ล้าน ลบ.ม.

• เขื่อนสิริกิติ์ปริมาณน้ำ 4,068ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้1,218ล้าน ลบ.ม.
ไหลลงอ่างฯ 16.92 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 0.00 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 5,442 ล้าน ลบ.ม.

• เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปริมาณน้ำ 777 ล้าน ลบ.ม. (83% ของความจุอ่างฯ)
น้ำใช้การได้734 ล้าน ลบ.ม. ไหลลงอ่างฯ 21.12 ล้าน ลบ.ม.ระบาย 1.12 ล้าน ลบ.ม.
รับน้ำได้อีก 162 ล้าน ลบ.ม.

• เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำ 705 ล้าน ลบ.ม. (73% ของความจุอ่างฯ) น้ำใช้การได้
702ล้าน ลบ.ม.ไหลลงอ่างฯ106.78ล้าน ลบ.ม. ระบาย 8.64ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก255 ล้าน ลบ.ม.

ซึ่งหากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของกับปีก่อน ( ปี 2563) พบว่าเขื่อนภูมิพล, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่ภาพรวมปริมาณน้ำกักเก็บยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกส่วนใหญ่ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อนฯ

ส่วนแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2564 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาพบยังมีความต้องการน้ำฤดูฝน ปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ต.ค.64 จำนวน 11,739 ล้าน ลบ.ม. (น้ำชลประทาน 2,800 ล้าน ลบ.ม. และน้ำฝน 8,939 ล้าน ลบ.ม.) ปัจจุบันวันที่ 27 ก.ย.64 จัดสรรน้ำชลประทานไปแล้ว 3,608 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 129 ของแผนฯ เกินแผนจัดสรรน้ำ 808 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ (-29%)

สำหรับพื้นที่รับน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำ 1,414,808 ไร่ ได้รับรายงานว่า ปัจจุบัน มีการเก็บเกี่ยวไปแล้วทั้งสิ้น 1,168226 ไร่ คิดเป็น 91 % ของพื้นที่ทั้งหมด โดยภาพรวมสามารถรับน้ำได้ 1,787 ล้าน ลบ.ม. 

และจากข้อมูลล่าสุดพบว่า รับน้ำไปสะสมไปแล้ว 496.84  ล้าน  ลบ.ม. และยังคงสามารถรองรับน้ำได้อีก 1,290.16 ล้าน ลบ.ม.  

related-line-157258}

รวมทุกช่องทางแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำทุกพื้นที่ พร้อมวิธีรับมือ

ที่มาข้อมูล 

กรมชลประทาน

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ