เปิดที่มาชุมชน"สำเภาล่ม"พบเรือล่มทุกปี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เหตุเรือล่มที่จุดตัดแม่น้ำป่าสัก-เจ้าพระยาบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร เมื่อวานนี้(29 ก.ย.) ไม่ใช่ครั้งแรก ย้อนไป 15 ปีก่อนเคยเกิดเหตุลักษณะคล้ายกัน ที่จุดใกล้กันมาแล้ว คนในพื้นที่บอกว่า จุดนี้น้ำไหลแรง เชี่ยว เวลาถึงฤดูน้ำหลากจะเกิดอุบัติหตุเป็นประจำ

ชาวจ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนมาก มาเฝ้าดูการกู้ซากเรือ หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหตุการณ์นี้น่ากลัว รุนแรง เพราะ ช่วงนี้น้ำสูงกว่าช่วงฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา ทีมข่าวพบว่า ในพื้นที่ใกล้ชุดเกิดเหตุ มีชุมชน ชื่อว่า ชุมชนสำเภาล่ม รวมถึงมีตำบล ชื่อว่า ตำบลสำเภาล่มด้วย

คุณป้าพนิดา แผ่กลิ่น อายุ 58 ปี ชาวบ้านในชุมชนสำเภาล่ม บอกว่า ชื่อตำบลและชื่อชุมชนของเธอ น่าจะได้มาจาก “เหตุการณ์สำเภาล่ม”สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คุณป้าพนิดา บอกว่า เธอเคยชิน กับสถานการณ์เรือล่มในจุดนี้ เพราะ เห็นแทบทุกปี

เรือขนส่งเจ้าพระยา หยุดวิ่งหลังเหตุเรือล่ม

เรือล่มสามแยกแม่น้ำวัดพนัญเชิง คาดมีผู้สูญหาย 2 ราย

คุณป้าพนิดา ยังบอกอีกว่า ที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานกันว่า ชื่อชุมชนและชื่อตำบล สำเภาล่ม มี 2 ตำนานที่ถูกเล่าต่อกันมา คือ ตำนานแรกมาจากเรื่องราวของเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ที่ประดิษฐานรูปปั้นที่วัดพนัญเชิงวรวิหาร มีเรื่องเราว่าเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก เสียชีวิตในเรือสำเภาเมื่อเรือแล่นมาถึงช่วงวัดพนัญเชิงวรวิหาร

ส่วนอีกตำนานมาจากการที่สำเภาจีนในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล่นมาทำการค้าขาย เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง จนเป็นที่มาของตำบล เธอยอมรับว่าตอนเด็กๆ เคยสงสัยว่าทำไมตำบลตัวเองถึงต้องตั้งชื่อเป็นกาลกิณี แต่ก็ทำใจยอมรับ 

คุณป้าพนิดา เล่าให้ทีมข่าวฟังอีกว่า ในย่านที่เรือล่ม ยังมีตลาดชื่อว่า ตลาดน้ำวนบางกะจะ ชื่อตลาดมาจากน้ำวนที่เกิดขึ้นจากน้ำป่าสัก ไหลมาบรรจบกับน้ำเจ้าพระยาที่บริเวณสามแยกวัดพนัญเชิงวรวิหาร และ ตรงกลางแม่น้ำเป็นกระแสน้ำวน ชาวบ้านในพื้นที่จึงเรียกบริเวณนี้ว่า กลาง-วน

สำหรับอุบัติเหตุทางเรือที่เกิดขึ้น คุณป้าพนิดา บอกว่า ตั้งแต่เกิดมา จำความได้ก็พบว่าที่นี่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง เสมอ และ ส่วนใหญ่มักเป็น เหตุการณ์ที่เรือลากจูงเรือบรรทุกที่มาจากกรุงเทพฯ เกิดอุบัติเหตุ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะไม่ชำนาญเส้นทาง

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ