"ความเป็นจุฬาฯ" เปิดคุณสมบัติ "ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว" ปมร้อนน้อง - พี่ สีชมพู แจงเลื่อนบอลประเพณีฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เป็นปมร้อนต่อเนื่อง กรณีคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯประกาศยกเลิกการ "อัญเชิญพระเกี้ยว" ในงานบอลประเพณีจุฬาฯ -ธรรมศาสตร์ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กว้างขวาง

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ออกประกาศสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ใจความว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ และสมาคมธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนิสิตเก่า ศิษย์เก่า และนิสิต นักศึกษา ทั้ง2 สถาบัน และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมไทย 

มธ.ยันไม่มีใบสั่งห้าม “ขบวนล้อการเมือง” ทำได้แต่ต้องไม่ขัดกฎหมาย

ประมวลภาพ! ขบวนพาเหรดฟุตบอลประเพณี จุฬา ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74

 

 

นายกฯ มอบรมว.พาณิชย์ สอบปมส่งถุงมือยางใช้แล้วไปสหรัฐฯ

ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์งาน อำนวยความสะดวกให้งานจัดขึ้นได้ด้วยดี และเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมในฝ่ายเชียร์ พาเหรด และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ และเปลี่ยน เรียนรู้ รู้จักการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งยังได้ซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของทั้ง 2 สถาบันฯ

ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 นี้ สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือแจ้งลงวันที่ 30 กันยายน 64 แจ้งขอเลือนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ก็เห็นพ้องด้วย เพื่อร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

ทั้งนี้ การจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งต่อๆ ไป สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯยังคงสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในจุฬาฯ ของเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันทั้งมวล

ใจความหลัก สมาคมนิสิตเก่าฯ ยืนยันการ "อัญเชิญพระเกี้ยว" ในงานฟุตบอลประเพณี

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการ "อัญเชิญพระเกี้ยว" จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเป็นข้อถกเถียงหลังจาก 

เป็นประเด็นร้อน เมื่อคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่แถลงการณ์พร้อมคำอธิบาย ผ่าน องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เรื่อง "ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์" ลงวันที่ 23 ตุลาคม 2564 

คณะกรรมการอบจ.จึงเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ล้าหลังอันขัดต่อคุณค่าสากลอย่างประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชน เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระ-เกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ 

ทหารซูดาน บุกคุมตัวนายกฯในบ้านพัก ส่อเค้ารัฐประหาร

ใจความของประกาศ คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว เป็นส่วนหนึ่งของขบวนพาเหรดในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยรูปแบบของขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวนั้นจำลองกระบวนแห่อย่างราชสำนัก ในกิจกรรมดังกล่าวจะมี “ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” ถือ “พระเกี้ยว” ที่เป็นสัญลักษณ์สูงสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่งบนเสลี่ยงซึ่งถูกแบกโดยนิสิตกว่า 50 คน อีกทั้ง ผู้อัญเชิญซึ่งมาจากกลุ่ม CU Coronet ยังถือว่าเป็นตัวแทนของความเป็นจุฬาฯ ในกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลประเพณีและในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป

ทว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวสนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน รูปแบบกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวยังเป็นภาพแทนของวัฒนธรรมแบบศักดินาที่ยกกลุ่มคนหนึ่งสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่งพร้อมสัญลักษณ์ของศักดินาคือ “พระเกี้ยว” บนเสลี่ยง ในส่วนของกระบวนการคัดเลือกผู้อันเชิญฯ ยังเป็นที่กังขาถึงความโปร่งใส และยังมีข้อกังขาว่าเป็นการสนับสนุนความเป็นอภิสิทธิ์ชนผ่านค่านิยมมาตรฐานความงามแบบใดแบบหนึ่งในสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการใช้อำนาจในการบังคับให้คนต้องมาแบกเสลี่ยง ดังที่เห็นจากกระบวนการหานิสิตหอในเพื่อมาแบกเสลี่ยงเข้าสนามนั้นมีการบังคับผ่านการอ้างว่าจะมีผลต่อคะแนนการคัดเลือกให้มีสิทธิอยู่ในหอพัก

คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ล้าหลังอันขัดต่อคุณค่าสากลอย่างประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชน จากมติในวาระการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2564 ของคณะกรรมการบริหารฯ มีมติ 29 : 0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระ-เกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมมิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป"

การ "อัญเชิญพระเกี้ยว" เรื่องนี้เป็นประเด็นถกเถียงในหมู่นิสิต และนิสิตเก่าจุฬาฯในวงกว้าง กระทั่ง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกประกาศยืนยันอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯต่อไป

ยังพบคนร้องเรียน SMS รบกวน 2,039 ราย หลัง กสทช.สั่งบล็อก

"โชคชัย  สุเวชวัฒนกุล" เขียนเรื่อง ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ไว้ในหนังสือฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 51 เผยแพร่ในเว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ในงานฟุตบอลประเพณีทุก ๆ ปีสิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่มีคู่กับงานฟุตบอลประเพณีตลอดมาคือ   ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ซึ่งจะเป็นผู้อัญเชิญสัญลักษณ์สูงสุดของมหาวิทยาลัย

ในสมัยก่อนการคัดเลือกผู้อัญเชิญนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่จะเป็นเครื่องยืนยันเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ และคุณสมบัติโดยละเอียด แต่ที่แน่ ๆ คือ ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติแห่งความเป็นจุฬาฯ อยู่ในตัวเอง

ความคิดของการมีผู้อัญเชิญฯ ในปีนี้คือ ผู้ทำงานทุกคนคิดว่านอกจากการรักษาประเพณีที่เคยมีมาแต่เดิมแล้ว การอัญเชิญพระเกี้ยวที่ถือว่าเป็นของสูงคือเป็นตราประจำพระองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ควรมีผู้อัญเชิญออกมามากกว่าที่จะให้ออกมาโดยไม่มีใครอัญเชิญ และได้มีการกำหนดหลักการและเหตุผลเกี่ยวกับผู้อัญเชิญพระเกี้ยวไว้ดังนี้

คุณสมบัติ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวจุฬาฯ

“ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นตัวแทนของนิสิตจุฬาฯ  ที่จะอัญเชิญสัญลักษณ์สูงสุดของมหาวิทยาลัยในงานฟุตบอลประเพณีฯ ดังนั้นจึงควรมีความเป็นนิสิตจุฬาฯ อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือควรจะเป็นผู้มีความพร้อมในแง่วิชาการและบุคลิกภาพ เพราะนอกจากหน้าที่ในการอัญเชิญพระเกี้ยวในวันงานแล้วยังต้องเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่จะประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณี และแสดงถึงภาพลักษณ์ของนิสิตจุฬาฯ ที่ดีสู่สังคม”

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในปีนี้เป็นนิสิตชาย 1 คน เป็นนิสิตหญิง 1 คน

แทนที่จะเป็นนิสิตหญิงทั้ง 2 คน เหมือนหลาย ๆปี ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นตัวแทนของนิสิต   จุฬาฯ อย่างแท้จริงเนื่องจากนิสิตจุฬาฯ ประกอบด้วยนิสิตหญิงและนิสิตชาย และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อเปลี่ยนมุมมองของบุคคลภายนอกที่มักจะคิดว่าผู้หญิงเชิญพระเกี้ยวเป็นผู้ที่  “สวย” ที่สุดของจุฬาฯ เท่านั้น แต่ที่แท้จริงแล้วผู้อัญเชิญฯ ต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นจุฬาฯ มากที่สุดต่างหาก

ตามมติที่ประชุมฝ่ายขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวและที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานกิจการนิสิต (ที่ประชุมอาจารย์) ได้กำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้

1.             เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 เพศชาย 1 คน เพศหญิง 1 คน

2.             เกรดเฉลี่ยสะสม 2.5 ขึ้นไป

3.             มีบุคลิกภาพดี

4.             เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งของคณะและของมหาวิทยาลัย

5.             มีความประพฤติดีสมกับเป็นตัวแทนของนิสิตจุฬาฯ

เมื่อได้หลักการและคุณสมบัติแล้วก็จะจัดส่งไปยังหัวหน้านิสิตคณะต่าง ๆ เพื่อคัดตัวแทนของคณะมาคณะละ 2 คน (ชาย 1 คนและหญิง 1 คน) โดยอิงตามหลักการและคุณสมบัติดังกล่าว

จากนั้นก็ถึงขบวนการที่สำคัญที่สุดคือการสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วย

1.             คณาจารย์ฝ่ายกิจการนิสิต

2.             หัวหน้านิสิตทั้ง 16 คณะ

3.             ตัวแทนนิสิตจากส่วนกลาง (ทีมงานฟุตบอลประเพณีฯ)

การสัมภาษณ์จะเป็นการถามคำถามโดยให้ตัวแทนแต่ละคณะเข้าสัมภาษณ์ที่ละ 1 คน กับ

"คณะกรรมการ คำถามส่วนใหญ่ก็จะวัดปฏิภาณ ไหวพริบของผู้สมัครแต่ละคน ซึ่งคณะกรรมการก็จะให้คะแนนที่ละคนตามที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก็จะได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว

จากขั้นตอนดังกล่าวทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการคัดเลือกค่อนข้างจะยุ่งยากทำให้หลาย ๆ คนอาจคิดว่าสำหรับการเพียงแต่นั่งยิ้มและอัญเชิญพระเกี้ยวอยู่บนเสลี่ยงในวันงานไม่น่าจะทำให้ยุ่งยากขนาดนี้แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือผู้อัญเชิญสัญลักษณ์สูงสุดของมหาวิทยาลัยควรจะเป็นผู้แทนของเราที่พร้อมที่จะสะท้อนแสดงภาพลักษณ์ที่ดีของชาวจุฬาฯ ทุกคนอยู่เสมอ"  โชคชัย  สุเวชวัฒนกุล ระบุไว้

ขณะที่ปัจจุบันมีกลุ่ม CU Coronet หรือกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในการรับสมัคร คัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยว 

อย่างไรก็ตามต้องจับตาความเคลื่อนไหวกรณีอัญเชิญพระเกี้ยว ต่อไป ขณะที่ อบจ. เปิดสำรวจความคิดเห็นในประเด็นนี้แล้ว

 

               

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ