กรณี ทรู ควบรวม ดีแทค จะมีผลกระทบผู้บริโภคด้านใดบ้าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สภาองค์กรของผู้บริโภค  จัดการพูดคุยกรณี ทรู ควบรวม ดีแทค กระทบผู้บริโภคในมุมไหนบ้าง รวมถึงข้อกังวลที่จะส่งผลต่อการเอาเปรียบผู้บริโภค เตรียมยื่นหนังสือหนังสือคัดค้านการควบรวมกิจการ

ทางเลือกผู้บริโภคน้อยลงและอาจมีผลต่อการกำหนดราคาค่าบริการในอนาคตด้วย

สรุปดีลยักษ์วงการโทรคมนาคม "ทรู-ดีแทค" ดันผู้ใช้หมายเลขขึ้นเบอร์หนึ่ง 51.3 ล้านหมายเลข

กสทช.ตั้งคณะทำงานติดตามอภิมหาดีล "ทรู-ดีแทค" นักวิชาการมองอาจไม่ผูกขาด

พวงทอง ว่องไว อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า ถึงแม้ในปัจจุบัน การควบรวมจะเกิดขึ้นในระดับผู้ถือหุ้น คือระหว่างเทเลนอร์และซีพี โดยยังไม่ได้มีการควบรวมในระดับบริษัทผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม คือระหว่าง ดีแทคกับทรู แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็อาจจะทำให้ไม่มีการแข่งขันของบริษัททั้งสองเพราะอยู่ภายใต้บริษัทแม่เดียวกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบ

ให้ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง หรือหากมีการควบรวมกันในระดับบริษัท นอกจากจะทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่น้อยลงชัดเจนแล้ว ยังจะส่งผลต่อราคาค่าบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายด้วย

ทำให้เกิดบริษัทแม่เหลือบริษัทเดียว  เกิดการแข่งขันในตลาดน้อยมาก เหลือแค่ 2 เจ้า ผู้บริโภคอาจจะไม่มีทางเลือกในการขอใช้บริการ โดยเฉพาะหากมีการกำหนดค่าบริการที่สูงขึ้นหรือให้บริการเอาเปรียบผู้บริโภค

ด้านสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวเสริมว่า ขณะนีในไทยมีค่ายมือถือ 3 เจ้า ผู้บริโภคมีสิทธิ์ย้ายค่ายถ้าไม่ชอบใจเจ้าหนึ่ง ยังสามารถไปเจ้าที่สอง สาม ได้ แต่หากพอควบรวมเท่ากับจะลดลงไปเลย 50% เหลือ 2 เจ้า เยิ่งทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กสทช. ควรออกมาดำเนินการในเรื่องนี้

ทรู-ดีแทค ปิดดีลควบรวมกิจการสู่เทคโนโลยีฮับ

การแข่งขันและพัฒนาบริการลดลง-อำนาจเหนือตลาด-ข้อกังวลการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ขณะที่ ชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สอบ. กล่าวว่า ค่ายมือถือ 3 ค่ายหลัก จะเห็นว่าที่ผ่านมามีแข่งขันกัน ทั้งด้านการพัฒนาบริการใหม่ ๆ การขยายพื้นที่การบริการ รวมไปถึงการแข่งขันด้านราคา แต่หากมีการควบรวมแม้จะเป็นในระดับผู้ถือหุ้น

อาจทำให้สัดส่วนแข่งขันในตลาดเปลี่ยนไป จากที่เคยมี 3 เจ้าเหลือเพียง 2 เจ้าเท่านั้น ซึ่งจะกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมากอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมีระเด็นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่อาจจะถูกเปิดเผยมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต

ในขณะที่บุญยืน ศิริธรรม ประธาน สอบ. ตั้งข้อสังเกตว่า หากข้อตกลงระหว่างเทเลนอร์กับซีพีได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล และสามารถตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ได้ กิจการภายใต้บริษัทดังกล่าวจะมีส่วนแบ่งตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทยถึงร้อยละ 52 จึงอยากสอบถามไปยังคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่ากรณีดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากมีส่วนแบ่งเกินครึ่งหนึ่งของตลาด

เพราะประเทศไทยมีการแข่งขันทางการค้ากันอย่างเสรี หมายความว่ามีหลายเจ้ามาแข่งขันกัน ทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ใครจะเลือกอย่างไรก็ว่ากันไปแต่ถ้าเหมือนการแข่งขันนั้นไม่มีทางเลือกเลย ผู้บริโภคเลือกใครไม่ได้เลย เหมือนบังคับให้เลือก และการมีทางเลือกน้อยเราจะถูกเอาเปรียบเพิ่มขึ้นหรือเปล่า

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค  กล่าวย้ำว่า สอบ. ขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องหาแนวทางในการกำกับดูแลกรณีดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาดทางการค้า ซึ่งส่งผลกระทบและถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค 

“พัคชินฮเย – ชเวแทจุน” เตรียมวิวาห์ปีหน้า เผยข่าวดีตั้งครรภ์ลูกคนแรก

สอบ. มองว่า จำนวนผู้ให้บริการ หรือค่ายมือถือ ไม่ควรลดน้อยลงจากเดิมที่มีรายใหญ่ 3 ราย ดังนั้น กสทช. ควรมีมาตรการที่ส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการรายใหม่

และจะทำหนังสือถึงคณะรัฐมนตรี กสทช. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพรรคการเมือง เพื่อคัดค้านการพิจารณาการควบรวมดังกล่าว

"การควบรวมกิจการ" วิถีการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงวิกฤต

ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร้อง กสทช. ทบทวนการควบรวมของผู้ประกอบธุรกิจ

นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ให้ความเห็นว่า การควบรวมทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง เนื่องจากเป็นเจ้าใหญ่ มีการแข่งขันอยู่แค่ 2 เจ้า เหมือนเป็นเชิงบังคับให้ผู้บริโภคใช้บริการ หากต้องการเปลี่ยนค่ายโทรศัพท์จะมีให้เลือกเพียงแค่ 2 ค่ายใหญ่ ซ้ายหรือขวาเท่านั้น ส่วนค่ายเล็กจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย

ถ้าควบรวมธุรกิจ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ต่อให้ให้บริการไม่ดีก็ยังต้องใช้อยู่ ค่ายอื่นที่มีทุนน้อยกว่า หรือไม่สามารถลงทุนในพื้นที่ตรงนั้นได้ก็ไม่กล้ามาลงทุน กลายเป็นว่าธุรกิจที่ควบรวมเป็นมหาอำนาจในการจัดการพื้นที่ตรงนั้นอย่างไรก็ได้

ในการควบรวมธุรกิจต่างๆ ยังไม่เห็นประโยชน์ของผู้บริโภคเลย เห็นแต่ประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุน แต่ผู้บริโภคกลับมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตหรือการดูแลผู้บริโภคนั้นเป็นหน้าที่ของค่ายโทรศัพท์อยู่แล้ว ผู้บริโภคจึงรู้สึกว่าการควบรวมในครั้งนี้เป็นเพียงการสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคล ทางผู้ประกอบการนั้นมีความชัดเจนในการดูแลและให้บริการที่ดีกับผู้บริโภคอย่างไร

นางนฤมล กล่าวอีกว่า ในเรื่องของอำนาจการต่อรอง ค่ายโทรศัพท์มือถือจะมีอำนาจมากขึ้น จน กสทช. อาจจะต่อรองยาก ล่าสุดปัญหาเรื่องบล็อก SMS หรือ ผู้จัดให้มีเนื้อหา (content provider) ยังแก้ไขปัญหาได้ล่าช้าและพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีประกาศกำหนดอย่างชัดเจน ต่อไปเมื่อควบรวมกันแล้วไม่ยิ่งทำให้แก้ไขปัญหาแย่กว่าเดิมหรือ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอเรียกร้องให้ กสทช. ในฐานะคณะกรรมการกำกับดูแลควรมีบทบาทในการพิจารณาทบทวนการควบรวมธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจทั้ง 2 ราย ว่ามีการดูแลผู้บริโภคให้ได้รับประโยชน์อย่างไร เพราะระบบอินเทอร์เน็ต การจัดการโปรโมชั่น หรือการดูแลลูกค้าในพื้นที่ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดการปัญหาอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องควบรวมธุรกิจ และการควบรวมธุรกิจไม่ควรให้บริษัทได้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว ควรให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้ให้ประโยชน์กับบริษัทได้รับประโยชน์ด้วย

และอยากฝากถึงคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ให้เร่งแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดการควบรวมธุรกิจ เพราะเป็นการผูกขาดและทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ การรวมธุรกิจในรูปแบบเดียวกันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันมากที่สุด ทำให้คู่แข่งในตลาดลดลงอย่างน้อย 1 ราย มักมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคู่แข่งในตลาด ทำให้ระดับการแข่งขันในตลาดลดลง ตามพรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 51 การรวมธุรกิจที่อาจลดการแข่งขันต้องแจ้งผลการรวมธุรกิจต่อ กขค. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รวมธุรกิจ และการรวมธุรกิจที่อาจเกิดการผูกขาด หรือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด คือ มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% จะต้องได้รับอนุญาตจาก กขค. ก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ