ถนนปริศนากลางทุ่งนา ไม่ได้ใช้ประโยชน์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ที่ยโสธร มีถนนสายหนึ่งโผล่กลางทุ่งนา เป็นถนนลาดยางและติดตั้งระบบไฟโซล่าเซลล์อย่างดี แต่ที่น่าแปลกใจคือไม่มีหน่วยงานไหนยอมรับว่าเป็นคนก่อสร้าง อีกทั้งถนนสายนี้ไม่ค่อยมีใครได้ใช้ประโยชน์ เพราะไม่เชื่อมต่อกับหมู่บ้าน ล่าสุดทาง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีล่างและเซบายล่าง ชี้แจงว่าเป็นเจ้าของถนนดังกล่าว โดยสร้างเพื่อให้เป็นเส้นทางขนผลผลิต

สภาพถนนลาดยาง ผิวถนนกว้างประมาณ 5 เมตร ระยะทางยาวประมาณ 1,700 เมตร  ที่ถูกสร้างขึ้นบริเวณกลางทุ่งนาในหมู่บ้านเหมือด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จากภาพจะเห็นว่าถนนสายนี้มีลักษณะเพิ่งก่อสร้างใหม่ เรียบคลองชลประทาน  โดยตลอดสองข้างทางที่ถนนสายนี้ผ่าน ล้อมรอบไปด้วยทุ่งนา ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับหมู่บ้าน อีกทั้งเป็นทางตัน ซึ่งปลายทางถนนไปสิ้นสุดอยู่กลางทุ่งนา

อบจ.อ่างทอง แจงเสาไฟริมทาง ต้นละ 8.3 หมื่น

อบจ.ขอนแก่น ทุ่มงบ10 ล้านบาทซ่อมถนน หลังมนุษย์อวกาศนำธงชาติไทยไปปัก

นอกจากนี้ ยังพบการติดตั้งระบบไฟส่องสว่างข้างทาง เป็นโซล่าเซลล์จำนวนกว่า 30 ต้น  ซึ่งก็ถูกตั้งคำถามถึงความจำเป็น ว่าอยู่กลางทุ่งกลางนาแบบนี้ ชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร อีกทั้งแสงสว่างยังส่งผลกระทบกับออกรวงของต้นข้าวในนา ทำให้ข้าวไม่ออกรวง หรือออกรวงช้าด้วย

แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ เมื่อ ป.ป.ช. จังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ตรวจสอบ กลับไม่มีหน่วยงานไหนยอมรับว่าเป็นเจ้าของถนนสายนี้  ไม่ว่าจะเป็นแขวงทางหลวงชนบท จังหวัดยโสธรที่ยืนยันว่าไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบ ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าหยาด เจ้าของพื้นที่เองก็ยืนยันว่าไม่ได้เป็นคนก่อสร้างถนนเส้นนี้

ล่าสุดทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีล่างและเซบายล่าง ก็ออกมายอมรับแล้วว่า เป็นคนดำเนินการก่อสร้างถนน  โดยได้รับงบประมาณปี 2564 วงเงินกว่า 8 ล้าน 4 แสนบาท ระยะทาง 1,816 กิโลเมตร เป็นงานจ้างเหมาทั้งโครงการ 

โดยเป็นการปรับปรุงคันคลองส่งน้ำจากหินลูกรังเดิมให้เป็นลาดยาง เพื่อให้ชาวบ้านและเกษตรกรใช้เป็นทางสัญจร เป็นทางเชื่อมเข้าสู่ชุมชนหรือใกล้ตัวเมืองมากที่สุด และจะได้ใช้ขนถ่ายสินค้าการเกษตรสะดวกขึ้น

ก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา เนื่องจากราคายางตกต่ำ จึงได้มีนโยบายให้กรมชลประทานสนับสนุนแผนงานส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ และโครงการฯชีล่างและเซบายล่าง ได้เสนอแผนงานดังกล่าวในภาพรวม โดยได้เสนอแผนงานก่อสร้างถนนคันคลองชลประทานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด

โดยก่อสร้างเป็นถนน ตั้งแต่ปี 2561 เพราะคลองส่งน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรังที่ชำรุดทรุดโทรมและได้ใช้มาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี เมื่อได้รับงบประมาณปรับปรุงให้เป็นถนนลาดยาง ทำให้เกษตรกรหันมาใช้เป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น และเป็นเส้นทางลัด ทางเชื่อมชุมชนหรือใกล้ตัวเมืองมากที่สุด สามารถขนส่งผลผลิตการเกษตรได้รวดเร็ว 

ลอตเตอรี่ราคาพุ่ง คนแห่ซื้อช่วงปลายปี

"โอไมครอน" ยังไม่เจอในไทย ยืนยัน RT-PCR และ ATK ยังตรวจได้

สำหรับโครงการฯชีล่างและเซบายล่าง ได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุงคันคลองชลประทานของสถานีสูบน้ำ P.5 ตั้งแต่ปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 8 สาย ความยาว 11.965 กิโลเมตร ยังเหลือที่ต้องดำเนินการอีก 43.163 กิโลเมตร รวมกว่า 161 โครงการ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี.

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ