เปิดภาพการทดลอง ดักจับฝุ่น พบ กล้องมือถือซูมเห็นฝุ่นชัด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พีพีทีวี ทดลองนำเครื่องกรองอากาศ และ พัดลม ไปตั้ง ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อจำลองสถานการณ์ว่า หากประชาชนต้องอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน มีโอกาสสูดดมฝุ่นPM2.5 เข้าไปในร่างกายมากน้อยแค่ไหน

เอาชนะ PM 2.5 เพชรฆาตตัวจิ๋ว  

ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 ธันวาคม 2563

ทีมข่าวพีพีทีวี นำแผ่นกรองอากาศ หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา และ หน้ากากอนามัยแบบN95 ติดไว้ที่ เครื่องกรองอากาศ และ พัดลมทั่วไป และ นำไปติดตั้งที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อุปกรณ์ที่จำลองขึ้นนี้ จะทำหน้าที่เสมือนจมูกของเรา เวลาเปิดอุปกรณ์ ทั้งเครื่องกรองอากาศ และ พัดลมขนาด 14 นิ้ว  ก็จะดูดอากาศที่มีฝุ่นเข้าไปในแผ่นกรองและหน้ากากอนามัย คล้ายกับเวลาที่เราสูดอากาศเข้าร่างกาย

เราปักหลัก ทำการทดลอง ตั้งแต่ 09.00น. จากนั้นเก็บตัวอย่างทุก 1 ชั่วโมง คือ 10.00น. 11.00น.  และ 12.00น.

จากนั้นทีมข่าวรวมรวบตัวอย่างทั้งหมด เดินทางไปหา รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอให้ตรวจสอบหน้ากากอนามัยทั้งหมดให้ ว่า มีฝุ่นอยู่ในหน้ากากมากน้อยแค่ไหน อาจารย์อ๊อด รับตัวอย่างทั้งหมดไป พร้อมรับปากว่าจะนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดให้ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชนิดสแกนนิ่ง อิเล็กตรอน ไมโครสโคป ที่มีกำลังขยายถึง 800,000 เท่า เชื่อว่า จะเห็นฝุ่นขนาดเล็ก เบื้องต้นระบุว่า จะใช้เวลา ประมาณ 1 สัปดาห์

 แต่ในระยะเร่งด่วน อ.อ๊อดใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ ที่มีกำลังขยาย10เท่า ส่องดูที่หน้ากาก N95 พบมี จุดสีดำ อยู่หลายจุด อ.อ๊อดบอกว่า นี่คือ ฝุ่นขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมคอน หากสูดดมเข้าไปก็เป็นอันตรายเช่นกัน ส่วนฝุ่นขนาด 2.5 ไมคอน ต้องรอตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์

ส่วนการใช้กล้องโทรศัพท์มือถือ ถ่ายหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ไม่พบ จุดสีดำอยู่ที่หน้ากากอนามัย หมายความว่า ฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปได้ การทำการทดลองนี้ เบื้องต้น ตอบได้ว่า การใส่หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ป้องกันฝุ่นได้ไม่ดี

อ.อ๊อดบอกว่า หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา จะมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันสารคัดหลั่ง และเชื้อโรค ซึ่งมีขนาดมากกว่า 10-30 ไมคอน เท่านั้น

อ.อ๊อด ยังบอกอีกว่า การทำการทดลองของทีมข่าวพีพีทีวี ใช้วิธีตั้งอุปกรณ์อยู่กับที่ การที่ฝุ่นจะเกาะที่หน้ากากอนามัย จึงมีน้อยกว่าการเคลื่อนไหวไปในพื้นที่ต่างๆ เปรียบเทียบกับ คน หากอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนย้ายไปไหน การสูบอากาศที่ฝุ่นเข้าสู่ร่างกายก็จะน้อยกว่า การต้องเคลื่อนไหว

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ