ชีวิตแรงงานต่างชาติ ในวิกฤตโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แรงงานต่างชาติมักได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมอยู่แล้ว ยิ่งในสถานการณ์ที่การระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างชาติอยู่กันอย่างหนาแน่นที่สุดในประเทศไทยอย่างสมุทรสาคร ทำให้แรงงานต่างชาติที่แม้จะต่างพื้นที่ก็ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็สมิตรกว่าเดิม

แชร์ว่อน! ไทม์ไลน์หนุ่มภูเก็ตติดโควิด ทัวร์ทั่วใต้ ภูเก็ต-สุราษฎรธานี-กระบี่ ร่วมงานปาร์ตี้ 40 คน

เปิดภาพความเป็นอยู่สถานกักตัว ตลาดกลางกุ้ง

ที่พักที่สร้างด้วยสังกะสี เรียงยาวติดกันภายในที่พักคนงาน ภายในห้องมีที่นอนพกพาถูกพับไว้บนเสื่อ อีกฝั่งเป็นครัวที่ชั่วคราวที่มีอุปกรณ์จำเป็นในการทำอาหารไม่มาก เปลนอนที่แขวนอยู่กึ่งกลางพื้นมีเด็กชายตัวน้อยกำลังนอนหลับสนิท

สถานที่ที่ เอ เอ มิน หญิงสาวชาวเมียนมาวัย 31 ปี เรียกว่าบ้าน ที่เธออาศัยอยู่กับสามี ที่วันนี้ออกไปทำงานก่อสร้างและลูกๆอีก 3 คน

7 ปีแล้ว คือเวลาที่เอย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดที่เมียนมามาอยู่เมืองไทย ด้วยเหตุผลว่าที่นั่นไม่มีงานรองรับ

การตัดสินใจมาตายเอาดาบหน้าในประเทศที่เธอเองก็พูดภาษาท้องถิ่นไม่ได้ ยังดูมีความหวังกว่าการที่เธอและครอบครัวอาจต้องอยู่แบบอดอยาก หากอยู่ที่เมียนมาต่อไปเรื่อยๆ

ขอปชช.อย่ารังเกียจแรงงานเมียนมาเพราะโควิด-19

บ้านเมืองที่ทันสมัย สวยงามและคนไทยที่ใจดีคือภาพที่เธอคิดไว้ก่อนเดินทางมาถึง ไม่มีวุฒิการศึกษา ไม่มีปริญญา งานแรกที่เธอทำได้ทันทีที่มาถึงเมืองไทยคือ อาชีพแม่บ้าน 1,500 บาทคือเงินเดือนที่ได้รับ

นอกจากหยาดเหงื่อที่ต้องแลกกับการทำงานบ้านทุกอย่างตั้งแต่เช้ายันค่ำแล้ว อีกสิ่งที่ต้องอดทนคือ คำพูดเหยียดหยามของนายจ้าง

ในสถานการณ์ที่โควิด-19 กำลังระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่ที่มีแรงงานต่างชาติมากที่สุดในประเทศไทยเกือบ 230,000 คน แบ่งเป็นชาวเมียนมา 211,975 คน ลาว 9,684 และกัมพูชา 8,194 คน

ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อเกือบ 900 ราย เป็นแรงงานต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา ทำให้คนในสังคมมองชาวเมียนมาด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตรมากกว่าเก่า แม้พวกเขาจะไม่ได้เดินทางกลับบ้านหรือเดินทางไปสมุทรสาครเลย

หากเดินเข้าไปในตลาดแห่งใดในประเทศไทยตอนนี้ จะสามารถพบเห็นแรงงานต่างชาติอย่างน้อยๆ 1 คน

20 คนคือจำนวนแรงงานต่างชาติชาวเมียนมาที่เจ้าของแผงผักรายนี้เคยรับเข้าทำงาน ด้วยงานที่ต้องใช้แรงงาน ทั้งขนผัก จัดแผง เฝ้าร้าน เหล่านี้เป็นงานที่หาคนไทยทำยาก แรงงานต่างชาติจึงเข้ามาแทนที่

ในฐานะที่คลุกคลีกับลูกจ้างชาวเมียนมามาจำนวนหนึ่ง เจ้าของแผงผักบอกว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมที่มีอคติกับชาวเมียนมานั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่เคยสัมผัสหรือทำงานร่วมกับชาวเมียนมา

แต่ด้วยชุดความคิดบางอย่างทำให้พวกเขาเลือกที่จะตัดสินไปแบบนั้น การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยนี้ เอยอมรับว่าเธอต้องป้องกันตัวเองและครอบครัวอย่างเข้มข้น เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ เพราะนอกจากจะไม่รู้ว่าจะได้รับสิทธิในการดูแลรักษามากน้อยขนาดไหนแล้ว เธอยังไม่อยากถูกส่งตัวกลับเมียนมา แม้จะต้องถูกดูถูกเหยียดหยามเพียงใดแต่เอและแรงงานชาวเมียนมาส่วนใหญ่ก็ต้องยอมทนเพื่อทำงาน หารายได้ในไทย ที่สามารถเลี้ยงดูทั้งครอบครัวของพวกเขาเองที่นี่และส่งกลับไปจุนเจือพ่อแม่พี่น้องที่บ้านเกิด

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ