6 ลำดับสำคัญในการควบคุม โควิด-19 เมื่อมีการระบาดรอบใหม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“คงเป็นการยากมากแล้วที่จะทำให้โรคโควิด-19 สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย 6 ลำดับสำคัญในการควบคุมการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ ดังนี้

1. การป้องกัน ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดกระจายออกไป ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกนอกบ้าน ล้างมือและใช้แอลกอฮอล์ กำหนดระยะห่างบุคคลไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรืออยู่บ้านดีที่สุด หลีกเลี่ยงแหล่งอโคจร

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ล่าสุด 5 ม.ค. 2564

เช็กด่วน 11 พื้นที่เสี่ยงโควิด รีบแจ้งกทม. ผ่านเว็บ “BKK covid-19”

2. การควบคุม  เป็นหน้าที่ของทุกคน รวมทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคอยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้ มีมาตรการต่างๆเบาไปหาหนัก สร้างกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมาจนกระทั่งถึงปิดเมืองเด็ดขาดแบบอู่ฮั่น

3. การลดปริมาณโรคให้น้อยลง จัดการตรวจวินิจฉัยแยก คัดกรอง ให้ความรู้ โดยเฉพาะในแหล่งระบาดให้เกิดโรคหรือติดต่อแพร่กระจายให้น้อยที่สุด ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายไปจุดอื่นๆ

4. การกวาดล้าง เมื่อโรคเหลือจำนวนน้อยลงจะต้องยังคงมาตรการ เพื่อให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไป

5. การทำให้โรคหมด  ด้วยกฎเกณฑ์จะต้องไม่พบผู้ป่วยในบริเวณนั้นอย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัวหรือ 28 วัน จึงจะสามารถกล่าวได้ว่าโรคนั้นหมดไป

6. การทำให้สูญพันธุ์ คงเป็นการยากมากแล้วที่จะทำให้โรคโควิด-19 สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ จากสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นการยากมากที่จะทำให้โรคหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังมีความเชื่อว่าเราจะต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนาน

ขณะนี้สิ่งที่ต้องการที่สุดอยู่ในมาตรการการป้องกันและการควบคุมไม่ให้จำนวนโรคหรือผู้ป่วยมากไปกว่านี้ ถ้าเราไม่สามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้ เราอาจเห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นหลักเลข 4 ตัวต่อวัน

“ยอดผู้ป่วยที่เราเห็นอยู่ทุกวันขณะนี้จะสะท้อนความเป็นจริงเมื่อ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา การติดโรคกว่าจะมีอาการและได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจะใช้เวลากว่า 1 อาทิตย์ การติดโรค ณ วันนี้อาจจะมากกว่านี้อีกหลายเท่า ถ้าเราไม่ช่วยกัน” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ