พบต่างด้าวถูกสั่งกักตัว เดินขอถุงยังชีพ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิดเป็นแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกตลาดกลางกุ้ง 900 คน ได้รับการยืนยันว่า เป็นตัวเลข 2-3 วันที่ผ่านมารวมกัน ไม่ใช่การตรวจภายในวันเดียว แต่หากดูเฉพาะ บริษัทพัทยา ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตปลากระป๋องที่อยู่ในสมุทรสาคร พบว่า ยอดการติดเชื้อสะสม ก็อยู่ที่ประมาณ 900 คน เช่นเดียวกัน พีพีทีวี ลงพื้นที่สมุทรสาคร โดยถ่ายทำบนรถข่าวไม่ลงไปในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัย พบว่า รอบพื้นที่ตลาดกลางกุ้ง ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งโรงงานผลิตปลากระป๋องและโรงงานอื่นๆ ยังมีแรงงานทั้งไทย และ แร

เครือข่ายแรงงานฯ เผย มีแรงงานต่างด้าว ในโรงงานดัง ติดโควิด-19 เพิ่มอีก 900 คน

สธ.ยันโรงงานปลากระป๋องดัง คนงานติดโควิด 914 คน การันตีผลิตภัณฑ์กินได้!!

อาคารที่พักของแรงงานข้ามชาติ ในซอยที่อยู่ติดกับตลาดกลางกุ้ง จะเห็นว่า แรงงานยังสามารถออกมานอกห้องพักและใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะ จุดนี้ไม่ใช่พื้นที่กักกันโรค ช่วงกลางวัน เป็นช่วงที่มีแรงงานจำนวนไม่มากนัก เพราะ ส่วนใหญ่ไปทำงานที่โรงงาน โดยโรงงานย่านตลาดกลางกุ้ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีพนักงานหลักพันคน

ซึ่งจากข้อมูลของศบค. พบว่า ในพื้นที่จ.สมุทรสาคร มีโรงงานมากถึง 11,467 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นโรงงานในเขตอำเภอเมือง 7,241 แห่ง

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูลของ เครือข่ายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ที่บอกว่า รอบพื้นที่ตลาดกลางกุ้ง มีโรงงานอยู่หลักร้อยแห่ง

ในจำนวนนี้มีโรงงานปลากระป๋องหลายแห่งที่อยู่ในพื้นที่ และหนึ่งในนั้น คือ บริษัทพัทยา ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ที่พบแรงงานติดเชื้อโควิด โดยโรงงานนี้อยู่ห่างจากตลาดกลางกุ้งไม่ถึง 2 กิโลเมตร

ล็อกดาวน์สมุทรสาคร เสียหายวันละพันล้าน

ย้อนไปดูบรรยากาศในพื้นที่ว่า สถานการณ์ที่สมุทรสาคร พื้นที่รอบตลาดกลางกุ้ง เป็นอย่างไรคุณอัฟนัน อับดุลเลาะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์โดยใช้วิธี ถ่ายทำบนรถข่าว โดยไม่ลงจากรถ เพื่อป้องกันความเสี่ยง ไปดูว่า สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่เป็นอย่างไร

นอกจากคุณอัฟนัน จะลงพื้นที่ไปสำรวจแล้ว ยังประสานขอสัมภาษณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ที่ช่วยเหลือกลุ่มแรงงานโดยใช้วิธีถ่ายทำจากบนรถเหมือนเดิม ผู้ประสานงานคนนี้บอกว่า ไม่เฉพาะแต่แรงงานข้ามชาติบริษัทผลิตปลากระป๋องเท่านั้นที่ติดโควิด แรงงานในโรงงานอื่นๆใกล้เคียงก็ติดโควิด เหมือนกัน เธอเล่าว่า เมื่อวานนี้มีแรงงานข้ามชาติซึ่งถูกบริษัทสั่งให้กักตัวอยู่ในห้องพักเพื่อดูอาการ เดินมาหาที่สำนักงานของเครือข่ายฯ เพื่อขอถุงยังชีพโดยเธอถามว่าทำไมไม่อยู่แต่ในห้องตามที่โรงงานสั่งให้กักตัว

ผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ ย้ำว่าประเด็นที่น่ากังวล คือ มีแรงงานหลายคนเดินออกมาปะปนกับคนทั่วไป ในพื้นที่ต่างๆ เพราะ ก่อนหน้านี้ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการกักตัว รวมถึง มาตรการของรัฐไม่ได้บังคับให้คนกลุ่มนี้อยู่กับที่ห้ามไปไหน

แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่พักอาศัยรวมกัน ใกล้กับโรงงาน ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เรียงแถวมากกว่า 50 ตึก คล้ายกับในตลาดกลางกุ้ง โดยมีคนไทยบางส่วนปะปนอยู่ด้วย และพื้นที่รอบนอกไม่ได้กั้นพื้นที่ห้ามเข้าออก โดยพื้นที่รอบนอกตลาดกลางกุ้ง มีข้อมูลว่ามีแรงงานข้ามชาติอยู่มากกว่า 1 แสนคน

ผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ บอกว่า พฤติกรรมของแรงงานข้ามชาติ จะพักอยู่ในหอพัก ขนาดห้อง 4 X 4 เมตร แต่ละห้องอยู่รวมกับ 3-5 คน บางห้อง แรงงานแยกกันทำงานคนละโรงงาน หมายความว่า หากโรงงาน A สั่งในแรงงานกักตัว ในห้องเดียวกันก็จะมีแรงงานอีกส่วนไปทำงานที่โรงงานอื่น หากมีการติดเชื้อโควิด มีโอกาสที่เชื้อจะแพร่จากคนในโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานหนึ่งได้

ในโรงงานเหล่านี้ยังมีแรงงานคนไทยร่วมทำงานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ กลุ่มแรงงานคนไทย จะอยู่หอพักแยกจากกลุ่มแรงงานต่างด้าว โดยจะอยู่หอพักเพื่อนทำงานในวัน จันทร์ ถึง เสาร์ และ เย็นวันเสาร์จะเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ก่อนจะกลับมาทำงานอีกครั้งในเช้าวันจันทร์ หมายความว่าหากมีการติดเชื้อโควิด มีโอกาสสูงที่จะแพร่เชื้อไปในพื้นที่อื่น ยกตัวอย่างเช่น สาวโรงงานผลิตปลากระป๋องที่ไปตรวจพบโควิดที่เพชรบุรีบ้านเกิด

ส่วนข้อมูลก่อนหน้านี้ ที่บอกว่าพบการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานผลิตปลากระป๋อง ที่สมุทรสาคร ได้รับการยืนยันจาก นายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ยืนยันว่า มีแรงงานต่างด้าวที่จังหวัดสมุทรสาคร ติดโควิดเพิ่มจริง แต่ตัวเลข 900 คน เป็น ตัวเลขภาพรวมหลายโรงงานไม่ใช่โรงงานผลิตปลากระป๋องอย่างเดียว ส่วนสาเหตุที่ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูง เป็นเพราะ เน้นการตรวจเชิงรุกในพื้นที่หลายโรงงาน

สอดคล้องกับ ที่ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวยืนยันว่า ตัวเลขการติดเชื้อ 900 คน เป็นตัวเลขรวม 2-3 วัน แต่ก็ระบุว่าหากดูตัวเลขเฉพาะบริษัทพัทยา ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตปลากระป๋อง พบว่า ติดเชื้อโควิดสะสม 914 คน จากแรงงานทั้งหมดกว่า 3,000 คน ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีการปิดบังตัวเลขผู้ป่วยตามที่ถูกตั้งข้อสังเกต

ส่วนวิธีการควบคุมโรคภายในโรงงานแห่งนี้ นายแพทย์โอภาส อธิบายว่า จะใช้วิธีการคุมโรค คล้ายกับตลาดกลางกุ้ง คัดแยกผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ แยกผู้ติดเชื้ออาการน้อย  อาการมาก มีการจัดตั้ง รพ.สนาม ในพื้นที่ ส่วนคนที่ไม่ติดเชื้อยังอยู่ภายในโรงงาน ไม่มีการออกมาข้างนอก และมีการตรวจหาเชื้อเป็นระยะ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ ผ่านไปประมาณ 10 วัน ก็จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ โดยมาตรการควบคุมดูแลทุกอย่างจะอยู่ภายใต้การดูแลของสาธารณะสุขจังหวัด จึงอยากให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อออกมาสู่ภายนอก 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ