พุ่งไม่หยุด! ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 305 รายเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
ผู้ใช้แอปฯ “หมอชนะ” งง ประเมินความเสี่ยงโควิด-19 คลาดเคลื่อนหรือไม่
วันนี้ 7 ม.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 17 เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสอดคล้องมาตรการจากเบาไปหาหนัก โดยข้อกำหนดตามความในมาตรการ 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 17)
ข้อ 1 การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดังนี้
-การรักษาระยะห่าง
-การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
-การล้างมือ
-การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
-การติดตั้งแอปพลิเคชันที่กำหนด ตลอดจนการยอมรับการกักกันตนตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนดหากอยู่ในข่ายที่ต้องเข้ารับการกักกัน
-สนับสนุนให้ติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิชัน “หมอชนะ” ควบคู่กับหารใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”
โดยที่ประชุมศบค.ชุดเล็กในวันนี้ มีความเห็นว่า ต่อไปนี้ใครติดเชื้อ โควิด-19 แล้วไม่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ถือว่าละเมิดกฎหมายฉบับที่ 17 ที่ผ่านมาไม่สามารถทราบไทม์ไลน์ได้ ฉะนั้นแอปฯหมอชนะจะเป็นคำตอบการระบาดระลอกนี้
ข้อที่ 2 คือการยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด ที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด
-ต้องตรวจสอบและควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคมในการเดินทางเข้าออกพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ จ.จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง และ สมุทรสาคร
-ให้ตั้งจุดตรวจ หรือ สกัดเพื่อคัดกรองการเดินทางเข้าออกพื้นที่อย่างเข้มข้น และ ให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดติดตั้ง และ ใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพราะ 5 จังหวัดนี้มีความเข้มข้นของผู้ติดเชื้อสูงมาก ถ้ายังมีการเดินทางพบปะติดต่อกัน ดังนั้นมาตรการเข้มจะต้องอยู่ใน 5 จังหวัดนี้
-บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดต้องแสดงเหตุผลจำเป็น โดยแสดงบัตรประชาชน หรือ บัตรแสดงตนอื่นๆควบคู่กับเอกสารการรองรับความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่บุคคลที่ได้รับการยกเว้น
3.การปราบรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค
นาทีระทึก! หมอสาว เล่าทำคลอด “แม่ติดโควิด-19” หากพลาด 30 ชีวิตเสี่ยงติดเชื้อ
ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดฯ(ฉบับที่17)กำหนดว่าผู้ใดละเมิด ฝ่าฝืน มีโทษ จำคุกไม่เกิน2ปี ปรับไม่เกิน 4หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ