ปริศนาประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทจีน “ซิโนแวค” ท่ามกลางความกังวลของหลายประเทศ ว่าอาจไม่มีประสิทธิภาพจริง

“โคโรนาแวค (CoronaVac)” คือชื่อของวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทจีน “ซิโนแวค” ซึ่งปัจจุบันกำลังทำการทดสอบทางคลินิกเฟส 3 อยู่ใน 5 ประเทศ คือ ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย ชิลี และจีน

อย.ขึ้นทะเบียน วัคซีนซิโนแวคแล้ว ล็อตแรกถึงไทยพรุ่งนี้

รู้จัก “ ซิโนแวค” วัคซีนโควิด-19 ก่อนฉีดเข็มแรกให้คนไทย

แต่วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค ถูกตั้งข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 จากผลการทอสอบทางคลินิกเบื้องต้นที่ถูกเผยแพร่ออกมาจาก 4 แหล่ง ซึ่งอัตราประสิทธิภาพ “แตกต่างกันทั้งหมด”

เหตุผลที่ "บิ๊กตู่" ไม่ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" จากจีน ประเดิมเข็มแรก

วัคซีนซิโนแวคเริ่มการทดสอบทางคลินิกเฟส 3 อย่างเป็นทางการในบราซิลเป็นที่แรก ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2020 ในอาสาสมัคร 9,000 คนโดยร่วมมือกับสถาบันชีวการแพทย์บูตันตัน (Instituto Butantan) ต่อมาช่วงเดือนตุลาคมเพิ่มจำนวนอาสาสมัครในการทดลองเป็น 13,000 คน

บราซิลหยุดการทดสอบเฟส 3 ชั่วคราวในวันที่ 10 พฤศจิกายนหลังมีอาสาสมัครการฆ่าตัวตาย ก่อนจะกลับมาทดสอบต่อในวันที่ 11 พฤศจิกายน ทางสถาบันบูตันตันกล่าวว่า การฆ่าตัวตายไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทดลองวัคซีน

เมื่อเดือนสิงหาคม โคโรนาแวคเริ่มทารทดสอบทางคลินิกเฟส 3 ในชิลีและอินโดนีเซีย ส่วนในเดือนกันยายน เริ่มการทดสอบในตุรกี

กระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม บราซิลออกมาบอกแบบกระมิดกระเมี้ยนว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพมากกว่า 50% อย่างแน่นอน แต่ระบุว่า ยังไม่สามารถเปิดเผยผลการทดสอบเต็ม ๆ ได้ เพราะติดเงื่อนไขกับทางซิโนแวค โดยสื่อต่างประเทศชี้ว่าเป็นการเลื่อนการเปิดเผยผลทดสอบออกไปเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

ในวันถัดมา ตุรกีประกาศว่า โคโรนาแวคมีประสิทธิภาพถึง 91.25% จากการวิเคราะห์ระหว่างกาลก่อนการวิจัยสิ้นสุด พบผู้ติดเชื้อเพียง 29 ราย จากผู้ได้รับวัคซีน 1,322 ราย ในอาสาสมัครทั้งหมด 7,371 คน

7 มกราคม 2021 สถาบันชีวการแพทย์บูตันตัน (Instituto Butantan) ของบราซิล ประกาศว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพได้ผล 78% ในกรณีที่ไม่รุนแรง และมีประสิทธิภาพ 100% ในการติดเชื้อรุนแรงและปานกลาง โดยอ้างอิงจากการพบผู้ติดเชื้อเพียง 220 รายจากอาสาสมัคร 13,000 คน โดยไม่อธิบายอย่างละเอียดว่าอัตราประสิทธิภาพถูกคำนวณอย่างไร

ต่อมา วันที่ 11 มกราคม 2021 อินโดนีเซียประกาศอัตราประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค อยู่ที่ 65.3% จากข้อมูลของผู้เข้าร่วม 1,620 คนในการทดสอบ พร้อมประกาศให้ใช้วัคซีนได้ในกรณีฉุกเฉิน และอินโดนีเซียเริ่มฉีดวัคซีนแล้วในวันนี้ (13 ม.ค.) โดยประธานาธิบดี โจโค วิโดโด ประเดิมรับวัคซีนซิโนแวคเป็นคนแรกของประเทศ

ล่าสุดวันที่ 12 มกราคม 2021 มีการประกาศจากสถาบันบูตันตันว่า อัตราประสิทธิภาพวัคซีน “โดยรวม” ซึ่งรวมถึงเคสที่ไม่รุนแรงมากที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์อยู่ที่ 50.38% เท่านั้น จากข้อมูลทั้งหมดของการทดสอบกับผู้เข้าร่วม 12,508 คน ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้เกือบ 30%

นอกจากไทย ใครอีกบ้างซื้อวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค”

ข้อมูลประสิทธิภาพที่สวนทางหรือทับซ้อนกันไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยแอสตราเซเนกา ผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 จากอังกฤษเอง ก็เคยพบอัตราประสิทธิภาพการป้องกันโควิด-19 ที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือพบว่า ประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนเพียง 1 โดสครึ่ง สูงกว่าการฉีด 2 โดส ซึ่งเป็นเรื่องแปลก

เปิดแผน รับวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกถึงไทย 24 ก.พ.นี้

แต่ไม่เพียงข้อมูลประสิทธิภาพจะแตกต่างทับซ้อนเท่านั้น ในบราซิลยังเกิดการตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของวัคซีน หลังสถาบันบูตันตันเลื่อนการประกาศผลการทดสอบทางคลินิกเฟส 3 ฉบับสมบูรณ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2020 บราซิลบอกเพียงว่า โคโรนาแวคมีประสิทธิภาพมากกว่า 50%

ล่าสุดสถาบันบูตันตันบอกว่าจะเปิดเผยรายงานฉบับสมบูรณ์ในเวลา 12.45 น. ของวันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีรายงานดังกล่าว

แม้ผลการทดสอบยังไม่แน่ชัด แต่มี 11 ประเทศ/พื้นที่ ที่สั่งจองวัคซีนโคโรนาแวคไว้ คือ บราซิล โบลิเวีย ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ตุรกี และยูเครน โดยบางส่วนได้รับวัคซีนแล้ว ขณะที่บางส่วนจะได้รับภายใน 3 เดือนแรกของปี 2021 นี้ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งสั่งจองไว้ 2 ล้านโดส และล็อตแรก 2 แสนโดสจะมาถึงภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

สำหรับไทยกระทรวงสาธารณสุขเจรจาขอซื้อวัคซีนจำนวน 2 ล้านโดสได้ในราคา 17 ดอลลาร์ต่อโดส (ราว 508 บาท) ใช้งบราว 1,170 ล้านบาท ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องรอกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว วัคซีนโควิด-19 โคโรนาแวคตัวนี้ จะมีประสิทธิภาพอย่างเป็นทางการมากน้อยเพียงใด

เส้นทางวัคซีนโควิด "ซิโนแวค" มาไทย 24 ก.พ.

แต่จุดหนึ่งที่ต้องตระหนักไว้คือ วัคซีนตัวนี้และอีกหลาย ๆ ตัว ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนผ่านการรับรองระดับสากลให้ใช้งานได้จริง เพียงแต่แต่ละประเทศอาศัยมาตรการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อซื้อวัคซีนมาเท่านั้น เรื่องของความเสี่ยงและประสิทธิภาพต่าง ๆ จึงยังคงต้องศึกษาให้ถี่ถ้วนต่อไป

 

เรียบเรียงจาก Bloomberg / Reuters

ภาพจาก AFP

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ