วัคซีนโควิดเข็มแรกอาจไม่ทัน 14 ก.พ.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เผยแผนการจัดหาวัคซีน 3 ระยะ โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล เผยวัคซีน 5 หมื่นโดสจากแอสตราเซเนกาจะเข้าไทยเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังไม่ชัดเริ่มฉีด 14 กุมภาพันธ์ หรือไม่ สาเหตุเรื่องการขนส่งที่อาจล่าช้า

สธ.เตรียมรับมือผลข้างเคียง วัคซีนโควิด-19

ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก 14 ก.พ.นี้ ลงทะเบียนแอปฯ “หมอพร้อม” ติดตามผล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล  รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/ 2564 ว่า แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้. โดยในส่วนของล็อตแรกที่จะเข้ามา 50,000 โดสจากบริษัทแอสตราเซเนกาในเดือน กุมภาพันธ์ นั้น ขึ้นอยู่กับเรื่องของการขนส่งด้วย เนื่องจากทางอียูมีการจำกัดการส่งออกออกวัคซีน ดังนั้นต้องดูว่าล็อตที่จะเข้ามานี้ถูกรวมอยู่ด้วยหรือไม่ หากรวมอยู่ด้วย รัฐบาลก็จะคุยกับทางบริษัท เพื่อให้ไปต่อสู้ เพื่อให้การขนส่งเข้ามาในไทยเป็นไปตามแผน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าวัคซีนล็อตแรกจะเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่ไม่ได้บอกว่า เข็มแรกจะฉีดทันวันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือไม่

ด้าน นายแพทย์ นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า เมื่อได้รับวัคซีนแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้หรือไม่นั้น ตัดสินได้ยาก เพราะวัคซีนป้องกันการป่วย อาการรุนแรง ยังไม่มีรายงานป้องกันการแพร่เชื้อได้ ดังนั้นจะเอามาตัดสินเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้

ทั้งนี้ประเทศไทยมีแผนว่าภายในปี 2564 จะกระจายวัคซีนให้กับคนไทยและทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย โดยขณะนี้ได้มีความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำแผนสื่อสาร สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ประสิทธิภาพ คุณภาพในระดับที่เรายอมรับ เพราะการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19นั้นเป็นการให้แบบสมัครใจ

ขณะที่ นายแพทย์ โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 กล่าวว่า วัคซีนจะให้กับกลุ่มดังนี้

1.บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน

2. ผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตเรื้อรังระยะสุดท้ายขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งที่ให้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือภูคุ้มกันบำบัด และเบาหวาน และเพิ่มโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกาย 35กก.ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ ที่เพิ่มกลุ่มคนอ้วนเข้าไป เพราะในระยะหลังคนที่มีอาการรุนแรงในต่างประเทศ พบในคนอ้วนมากขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว ดังนั้นจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย

3.ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

4. บุคลากรด่านหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 อาทิ ตำรวจ ทหาร อสม.คนที่ทำงานในโรงพยาบาล

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ