นายกฯ ปัดขวางเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นายกรัฐมนตรี ชี้แจง การจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้กีดกันเอกชน ขณะที่ สถิติปัจจุบัน ฉีดวัคซีน 1 ล้าน เสียชีวิต 11 คน ในทางการแพทย์ถือว่ายอมรับได้ แต่ก็ไม่อยากให้เกิดการสูญเสีย ขณะที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซัด รัฐบาลหาวัคซีนโควิดล่าช้า แทนที่จะยอมรับ กลับแก้ตัว แนะ 3 ข้อ เพื่อให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนรวดเร็ว จี้ "นายกฯ" สั่งการเอง ออกแบบให้ฉีดได้มากกว่า 5 ล้านเข็มต่อเดือน

ส่องวัคซีนโควิด-19 รอบบ้านอาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญเตือน “เข็มฉีดยาขาดแคลน” อาจขัดขวางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอนาคต

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกรายการผ่านพอดแคสต์ "ไทยคู่ฟ้า" ชี้แจงถึงการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ของไทยว่า เหตุใดจึงจัดซื้อไม่ครอบคลุมต่อประชากร และล่าช้าเกินไปหรือไม่นั้น ซึ่งพลเอกประยุทธ์ ชี้แจงว่า รัฐบาลเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 ด้วยการจองล่วงหน้า และให้กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวง ตาม ม.18 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ 2561 เพื่อให้สามารถจองวัคซีนล่วงหน้าได้ตามกฎหมาย       

ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเอื้อให้กลุ่มทุนหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การจัดซื้อพิจารณาจากคุณสมบัติของวัคซีน ทั้งรูปแบบการวิจัย การพัฒนา ผลการวิจัยทางด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพ รวมถึงระยะเวลาการส่งมอบ ประโยชน์ระยะยาวที่จะส่งผลกับประเทศ และที่ต้องเน้นซื้อ แค่ 2 บริษัท นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ถ้าเราไม่มีการคัดกรองบริษัท ถือเป็นความประมาทมากกว่า การจองวัคซีนล่วงหน้า ถือเป็นความเสี่ยง ดังนั้น การเลือก จึงต้องทำให้ประเทศไม่รับความเสี่ยง ส่วนการคัดเลือกบริษัทเอกชน ที่รัฐบาลจะให้ทุนสนับสนุนนั้น ได้มอบหมายให้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ประเมินศักยภาพผู้ผลิตวัคซีนในประเทศทุกแห่ง มีอนุกรรมการพิจารณาข้อเสนอของเอกชน โดยจะใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้

ส่วนแผนการฉีดวัคซีนเพียง 21.5% ของประชากรนั้น ย้ำว่าเป็นเพียงการตั้งเป้าที่จัดหามาได้และก็ให้ฉีดไปก่อนแต่ขณะนี้ก็ยังจัดหาเพิ่มเติม ไม่ได้หยุดยั้ง และการพิจารณาสยามไบโอไซเอนซ์ เพียงรายเดียว ก็ขึ้นอยู่กับ แอสตราเซเนกา ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จะเป็นผู้คัดเลือกเอกชนร่วมงานกับเขาซึ่งจะคัดเลือกจากความสามารถเครื่องมือเครื่องมือที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีของ แอสตราเซเนกา ไม่เกี่ยวกับผลประกอบการเดิม ไปล็อคไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีหลายบริษัทมาเสนอ แต่แอสตราเซเนกาเลือกสยามไบโอไซเอนซ์ ย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้กีดกัน อย.ก็ยินดีให้บริษัทต่างๆมาขึ้นทะเบียน ซึ่งปัจจุบันมีมายื่นขอ 3 ราย

นอกจากนี้ จากสถิติ วัคซีนโควิด-19 ถ้านับ 1 ล้านคน จะเสียชีวิต 11 คน ในทางการแพทย์ถือว่ายอมรับได้ เราก็ไม่อยากให้มีใครตายสักคน ยอมรับว่าหากฉีดวัคซีน โอกาสติดเชื้อก็ยังมี โอกาสที่จะป่วยอาจจะเป็นแต่ไม่รุนแรง แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อฉีดไปแล้วจะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า  จนถึงตอนนี้ จากข้อมูลทั้งหมดที่มี เราสามารถสรุปได้ว่ารัฐบาลจัดหาวัคซีนได้ล่าช้ากว่าประเทศอื่น ฉีดวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น แต่แทนที่รัฐบาลจะออกมายอมรับความผิดพลาดของตนเองกลับออกมาแก้ตัวด้วยข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผล  จึงมีข้อเสนอถึงรัฐบาล 3 ประการ เพื่อจัดการฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้รวดเร็วกว่านี้ นำประเทศกลับสู่ความเป็นปกติได้เร็วกว่านี้

1.เป้าหมายการฉีดวัคซีนเดือนละ 5 ล้านเข็ม น้อยเกินไปและช้าเกินไป ผมเข้าใจว่าเกิดจากการส่งมอบวัคซีนช้า รัฐบาลจึงต้องเร่งเจรจาหาผู้ผลิตที่สามารถส่งมอบได้เร็วกว่านี้โดยคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นประเด็นรอง นายกรัฐมนตรีต้องนั่งสั่งการกำกับการเจรจาจัดหา และติดตามความคืบหน้าด้วยตนเองทุกวัน

2. รัฐบาลต้องเริ่มออกแบบกระบวนการฉีดวัคซีนอย่างลงรายละเอียด หากเราต้องการฉีดให้ได้ 5 ล้านเข็มต่อเดือน หมายความว่าเราต้องฉีดให้ได้ 2,200 เข็มต่อจังหวัดต่อวัน ผมเชื่อว่าถ้าเราจัดหาวัคซีนได้มากกว่านี้[MOS]ต่อเดือนและออกแบบบริหารการฉีดได้ดี เราสามารถฉีดได้มากกว่า 2,200 เข็มต่อวันต่อจังหวัดรัฐบาลต้องเริ่มกำหนดศูนย์ฉีดวัคซีนในแต่ละจังหวัดให้ชัดเจนว่าแต่ละจังหวัดมีกี่ศูนย์ที่ใดบ้าง หลังจากนั้นจึงออกแบบกระบวนการในแต่ละศูนย์ ทั้งสถานีและบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการขนส่ง และการสร้างฐานการจัดเก็บข้อมูลการฉัดวัคซีน         

3. รัฐบาลต้องเปลี่ยนท่าทีในการพูดเรื่องวัคซีนกับประชาชน คนจำนวนมากไม่อยากฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รัฐบาลต้องเลิกทำให้ประชาชนกลัววัคซีน บอกข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาเรื่องการแพ้วัคซีน ซึ่งอ้างอิงได้จากผลการทดสอบยาในระยะสาม เปิดเผยข้อมูลต่างๆอย่างรอบด้านเพื่อให้ประชาชนไว้วางใจ หากประชาชนไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน ต่อให้จัดหาวัคซีนมาได้ก็ไม่มีประโยชน์

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ