เปิดใจ หมอแบกคนไข้น้ำหนัก 100 กก. รักษาโควิด-19 เรื่องเล่าจากหมอ 24 ชม.นาทีชีวิต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การทำงานของบุคลากรด่านหน้าที่ทำงานรับผู้ป่วยโควิด ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงตลอดเวลา หลายโรงพยาบาล บุคลากรทำงานหนัก เพราะจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงมีบุคลากรบางส่วนถูกกักตัวเพราะสัมผัสเสี่ยงสูง ล่าสุดผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เขียนเล่าเบื้องหลังการทำงานของทีมบุคลากรที่ดูแลงานด้านโควิด พบว่าต้องแบกรับการตัดสินใจ และ ความเสี่ยงที่ประมาทไม่ได้ รวมถึงต้องทำงานแข่งกับเวลา

สธ.เผยให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด 7 ล้านโดส ชนิดอื่นที่รัฐไม่ได้จัดหา

เช็ก 2 กลุ่มแรกจองคิวฉีดวัคซีนโควิดได้ก่อนผ่าน LINE หมอพร้อม 1 พ.ค.64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแชร์ภาพ คุณหมอโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ยกเตียงคนไข้โควิด น้ำหนักรวม 100 กิโลกรัม ด้วยความทุลักทุเล เพราะล้อรถเข็นไม่กางออก ต่อมาทราบ คือ แพทย์หญิงนิษฐา เอื้ออารีมิตร อายุรแพทย์โรคระบาดทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตประจำ รพ.เอกชัย ซึ่งเล่าว่า วันดังกล่าวคนไข้ จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนแรงดันสูง จึงเร่งลำเลียงผู้ป่วย ร่วมกับ พยาบาลและคนขับรถ แต่อาจเป็นเพราะอาการร้อนทำให้คนขับรถเป็นลม

 

สุดท้ายคุณหมอต้องประคอง คนไข้จนมีคนมาช่วยเหลือเพิ่มเติม คุณหมอบอกว่าเหตุการณ์นี้เป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ไม่ว่าใครอยู่ในเหตุการณ์ก็ต้องทำแบบที่คุณหมอทำ

เบื้องหลัง “บุคลากรทางการแพทย์” สู้โควิด-19

คุณหมอยังบอกอีกว่า หลังส่งต่อผู้ป่วยเสร็จกลับมาปฐมพยาบาลให้คนขับรถที่เป็นลม ด้วยความเร่งรีบทำให้ไม่ได้ถอดชุด หรือ ถุงมือ กลายเป็นว่าทำให้คนขับรถกลายเป็นผู้เสี่ยงสูง ต้องกักตัวเพิ่มเติมอีก

ส่วนอีกกรณีที่เกิดขึ้น และสะท้อนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้ดี คือ นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า เมื่อคืน ทีมแพทย์ พยาบาล และพนักงานลำเลียงผู้ป่วย ช่วยกันย้าย ผู้ป่วยโควิด อายุ 68 ปี ซึ่งมีภาวะปอมบวม นอนอยู่ที่โรงพยาบาลสิชล ต่อเนื่อง 8 วัน ไปที่ห้องความดันลบ เพราะ ค่าออกซิเจนในเลือด “ลดลง”

แพทย์ตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจ  ให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อลดการต่อต้านเวลาใส่ท่อ เพราะ หากผู้ป่วยต่อต้าน และมีอาการไอ หรือ จาม จะทำให้เชื้อโควิดฟุ้งกระจาย

โดยทีมแพทย์ที่ทำให้สวมชุดป้องกันสูงสุด ในระหว่างปฏิบัติการ ส่วนหัวหน้าทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ตัดสินใจประเมินการรักษา ตามปกติจะต้องคอยสั่งการอยู่ภายนอก เพราะ หากเข้าใกล้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะทำให้แพทย์คนนี้มีความเสี่ยงสูง หรือ หากแพทย์คนนี้ต้องกักตัว จะส่งผลโดยรวมการรักษาโควิดผู้ป่วยทั้งหมด

แต่เมื่อคืนแพทย์คนนี้ ตัดสินใจสวมชุด PPE เข้าไปประเมินอาการ สัญญาณชีพ ผู้ป่วยด้วยตนเอง พร้อมปรับการตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะกับสภาพร่างกายผู้ป่วย จนสุดท้ายอาการผู้ป่วย ทรงตัว และ ค่าออกซิเจนในเลือดปรับตัวสูงขึ้นเป็น 99% (อยู่ในเกณฑ์ปกติ) แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะ ผู้ป่วยอายุมากแล้ว มีโอกาสที่จะอาการทรุดลงได้อีก

นพ.อารักษ์ เขียนไว้ในเฟซบุ๊กว่า โควิดทำให้อาการผู้ป่วยทรุดลงได้เสมอ ช่วง 5-8 วันแรก อาจไม่แสดงอาการใดใด แต่สภาพในปอดอาจเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก หากอยู่ใน “สถานที่” ไม่พร้อม จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

นพ.อารักษ์ บอกว่า ทีมบุคลากรทางการแพทย์สู้เต็มที่กับผู้ป่วยทุกคน นี่เป็นอีกมุมหนึ่งของทีมแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโควิด19 จึงขอส่งกำลังใจให้กับทุกท่าน อยู่บ้าน อดทนกันอีกหน่อย ไม่นานก็ผ่านไปได้


 

หมอ-พยาบาล ทำงานต่อเนื่อง24ชม./14วัน

ขณะที่ก่อนหน้านี้ นพ.อารักษ์ เคยโพสต์ข้อความเล่าว่า สถานการณ์โควิดตอนนี้ทำให้โรงพยาบาลสิชล มีผู้ป่วยมากกว่า 85 แยกการรักษาออกจากโรคอื่น โดยใช้อาคารผู้ป่วย 7 ชั้น แต่ละชั้นรับได้ 28 - 30 คน จัดเป็นห้องรวม ล็อกละ 6 คน มี 4 ล็อก ได้ 24คน มีห้องแยกอีก 2 ห้อง  ขณะที่ก่อนหน้านี้ นพ.อารักษ์ เคยโพสต์ข้อความเล่าว่า สถานการณ์โควิดตอนนี้ทำให้โรงพยาบาลสิชล มีผู้ป่วยมากกว่า 85 แยกการรักษาออกจากโรคอื่น โดยใช้ อาคารผู้ป่วย 7 ชั้น แต่ละชั้นรับได้ 28 - 30 คน จัดเป็นห้องรวม ล็อกละ 6 คน มี 4ล็อก ได้ 24 คน มีห้องแยกอีก 2 ห้อง

ส่วนบุคลากร แต่ละชั้นจัดทีมพยาบาล 2-3 คน ผู้ช่วยพยาบาล 1 คน ส่วน แพทย์ 2 คน ดูแลรวมทุกชั้น โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม กุมารเวชกรรม รังสี วิสัญญี เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และ ทีมบริหาร คอยสนับสนุนที่ศูนย์รักษาผู้ป่วยโควิดด้านนอก

ส่วนการทำงานของแพทย์และพยาบาล แต่ละชุด จะทำงาน 14 วัน โดยไม่มีการผลัดเปลี่ยนระหว่างทาง คือ ทั้งทีมจะต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เราเห็นภาพ ทีมแพทย์ พยาบาล งีบหน้าตามหน้าห้องผู้ป่วยในโรงพยาบาล เมื่อครบ 14 วัน ทีมชุดใหม่จะเข้าไปรับไม้ต่อ ส่วนชุดเดิมจะต้องกักตัวต่อ อีก14 วัน และตรวจหาเชื้อตามเวลาที่กำหนด

ตอนแรกทีมข่าวพีพีทีวี ประสานของสัมภาษณ์ นพ.อารักษ์ ให้สะท้อนการทำงานของบุคลากร เพราะ ตอนนี้ทุกโรงพยาบาล ทีมแพทย์และบุคลากร เผชิญกับสถานการณ์ไม่ต่างกัน แต่คุณหมอติดเคสใหญ่ที่ต้องดูแลจึงไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้

หมอ ประทับใจ ผู้ป่วยโควิดช่วยดูแลกันเอง

ส่วนอีกหนึ่งเฟซบุ๊กคุณหมอ ที่สะท้อนปัญหาเรื่องการรักษาผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาล คือ เฟซบุ๊กของนพ.สมนึก สังฆานุภาพ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ซึ่งโพสต์เล่าว่า โควิดระบาดระลอกนี้ การบริหารจัดการเตียงระหว่าง เตียงคนไข้โควิด (cohort ward) กับ ICU เกิดการปรับเปลี่ยนทุกวัน ซึ่งทีมแพทย์ พยาบาล มีข้อจำกัดว่าไม่สามารถเข้าไปในห้องของผู้ป่วยได้บ่อยเหมือนผู้ป่วยปกติ ต้องอาการการวิดีโอคอล ยกเว้นในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤต ทำให้การติดตามอาการผู้ป่วยไม่สะดวกมากนัก

นพ.สมนึก เล่าว่า ในสถานการณ์แบบนี้ เกิดเหตุการณ์สร้างความประทับใจขึ้น คือ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล จะคอยช่วยดูแลผู้ป่วยเตียงข้าๆ  หรือ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นชายหนุ่มแข็งแรง ไม่มีอาการมากนัก จะคอยดูแลผู้สูงอายุ ที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ หรือ ผู้ป่วยผู้หญิง ที่อยู่ห้องเดียวกับเด็กเล็กที่พ่อแม่เด็กอาการหนักอยู่ในICUก็จะคอยดูแลเด็กเล็กแทน  นพ.สมนึก เล่าว่า ผู้ป่วยหลายคนเต็มใจที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยคนอื่นๆแทนบุคลากรทางการแพทย์ในยามจำเป็น

 

1 เดือน แพร่โควิดจากคนใกล้ชิด สู่ ทีมแพทย์

แต่ก็ยังมีอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าตกใจ ที่นพ.สมนึกเปิดเผยเกี่ยวกับการระบาดของโควิด ระลอกนี้ คือ เมื่อดูสถิติการติดเชื้อในเดือนเมษายน พบว่า ช่วงสัปดาห์แรกของเดือน กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ไปเที่ยวสถานที่อโคจร / ส่วนสัปดาห์ที่ 2 เป็นกลุ่มพ่อ แม่ ลูก และ เพื่อน ของผู้ป่วยกลุ่มแรก ถัดจากนั้นสัปดาห์ที่ 3 จะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย และ หลาน ของผู้ป่วยกลุ่มแรก สุดท้ายสัปดาหืที่ 4 ผู้ป่วยโควิดตอนนี้ ที่เจอ คือ เพื่อนของเพื่อน ครู นักเรียน คนขับรถ คนงาน นายจ้าง รวมถึง หมอ และ พยาบาล ของผู้ป่วยกลุ่มแรก

ทั้งหมดสะท้อนว่า การแพร่ระบาดของโควิด กระจายไปทั่ว โดยเฉพาะตอนนี้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก คือ บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ติดเชื้อ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ