ชาวคลองเตย หวั่น ปิดพื้นที่ ขาดรายได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แม้ตอนนี้ภาครัฐจะยืนยันว่า จะไม่ล็อกดาวน์ปิดพื้นที่ชุมชนคลองเตย แต่ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นก็ทำให้ชาวชุมชนกังวล ว่า หากมีคำสั่งห้ามเข้าออกพื้นที่ จะทำให้พวกเขาไม่สามารถทำมาหากินได้ทีมข่าวพูดคุยกับ หนึ่งในครอบครัวที่กักตัวอยู่ในชุมชนคลองเตย มองว่า มาตรการการช่วยเหลือของรัฐล่าช้าทำให้คนในชุมชนติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เธอบอกว่า ตอนนี้กังวลว่า หากสั่งปิดพื้นที่ครอบครัวอาจอดตาย เพราะ ขาดรายได้

แม้ตอนนี้ภาครัฐจะยืนยันว่า จะไม่ล็อกดาวน์ปิดพื้นที่ชุมชนคลองเตย แต่ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นก็ทำให้ชาวชุมชนกังวล ว่า หากมีคำสั่งห้ามเข้าออกพื้นที่ จะทำให้พวกเขาไม่สามารถทำมาหากินได้ ทีมข่าวพูดคุยกับ หนึ่งในครอบครัวที่กักตัวอยู่ในชุมชนคลองเตย มองว่า มาตรการการช่วยเหลือของรัฐล่าช้าทำให้คนในชุมชนติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เธอบอกว่า ตอนนี้กังวลว่า หากสั่งปิดพื้นที่ครอบครัวอาจอดตาย เพราะ ขาดรายได้

พบชุมชุนคลองเตย ติดเชื้อโควิด 10 คน ยังไม่ได้เตียง หวั่นเป็นคลัสเตอร์

ปธ.คลองเตย วอนรัฐจัดตรวจโควิดทั้งชุมชน

ทีมข่าวพีพีทีวี วิดีโอคอลพูดคุยกับ ชาวชุมชนคลองเตยคนหนึ่ง เธอพาเดินดูสภาพบ้านของเธอ พบว่า เป็นห้องสี่เหลี่ยม ที่ทุกคนในบ้านรวม 5 คน อาศัยอยู่รวมกัน แม้ว่าตอนนี้เธอจะอยู่ภายในบ้าน แต่ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเกือบตลอดเวลา

เธอ เล่าว่า เธอและคนในครอบครัวติดเชื้อโควิดตั้งแต่ 20 เม.ย. หลังรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ เธอเปลี่ยนห้องพักเป็นที่กักตัว โดยใช้เต็นท์กาง แทนที่นอน แล้วแยกทุกคนออกจากกันเมื่อถึงคิวใครได้เตียงรักษา ก็จะมีรถโรงพยาบาลมารับตัวไป เธอกักตัวที่บ้าน 3 วัน ก่อนที่รถโรงพยาบาลจะมารับ ช่วงนั้นคนในชุมชนคลองเตยยังไม่ได้ติดเชื้อเยอะเท่ากับตอนนี้ แต่เพราะ กระบวนการรับตัวผู้ป่วยล่าช้า ทำให้ เกิดการแพร่ระบาดจากคนในครอบครัว ขยายเป็น บ้านใกล้เคียง และกระจายไปทั่ว

หลังออกจากโรงพยาบาลมา  ต้องกักตัวต่อ 14 วันตามมาตรการ  แต่ตั้งใจว่าหลังครบกำหนด จะออกไปทำงาน เพราะเธอเป็นเสาหลักของบ้าน ย้ำว่า ตอนนี้ที่บ้านไม่เหลือเงินสดแล้ว การใช้จ่ายแต่ละวันต้องใช้บัตรเครดิต ยืมเงินในอนาคตมาใช้ก่อน กังวลว่าหากมีการสั่งปิดพื้นที่จะทำให้ออกไปทำงานไม่ได้ จึงอยากให้ภาครัฐ มองเรื่องการทำมาหากินของชาวชุมชนด้วย หรือหากจะปิดพื้นที่ทั้งหมด ก็ควรมีมาตรการเยียวยา ช่วยเหลือ เพราะ  หากรัฐบาลไม่ดูแลเรื่องนี้ เชื่อว่า สุดท้ายคนในชุมชนก้ต้องดิ้นรนออกไปทำงาน เพราะทุกคน กลัวว่าครอบครัวจะอดตาย

หนุ่มคลองเตยติดโควิด-19 หาเตียงไม่ได้ กักตัวในรถ กลัวแพร่เชื้อชุมชน

มีข้อเสนอจาก นพ. เรวัต  วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย เรื่องการจัดการป้องกันโควิดในชุมชนคลองเตย โดยแนะนำว่า สิ่งที่ภาครัฐควรทำมากที่สุดตอนนี้ คือ ตรวจคัดกรองเชิงรุก “ทุกคน” ในชุมชนคลองเตย เพื่อแยกคนที่ติดเชื้อ ออกจากคนที่ไม่ติดเชื้อ จากนั้นส่งผู้ติดเชื้อเข้าระบบการรักษาทันที ลดโอกาสที่ผู้ติดเชื้อจะมีอาการหนัก

รวมถึงควรจัดเตรียมสถานที่กักตัว ให้กับกลุ่มคนที่เสี่ยงสูง เพราะบ้านแต่ละหลังมีคนอาศัยอยู่ด้วยกันมาก รวมถึงต้องมีมาตรการเยียวยาเช่น เงินชดเชย อาหารการกิน ระหว่างที่ต้องกักตัว 14 วัน เพื่อให้คนกลุ่มนี้มั่นใจว่า ตลอดเวลาที่กักตัวพวกเขาจะยังชีพต่อไปได้  คุณหมอเรวัต บอกว่า รัฐต้องเข้าใจคนที่อาศัยในพื้นที่คลองเตย ว่า ส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะหยุดงานกักตัว  เนื่องจากเป็นลูกจ้างแรงงานรายวัน หากไม่ไปทำงานก็ไม่ได้เงิน

ส่วนประเด็นการนำวัคซีนไปฉีดให้ชาวชุมชนคลองเตย หลังมีการระบาดแล้ว คุณหมอเรวัต ระบุว่า สามารถทำได้ แต่ควรปูพรมฉีดตั้งแต่ก่อนการระบาดนานแล้ว  และมองว่า ตอนนี้ไม่ควรฉีดให้เฉพาะชาวคลองเตย แต่ควรฉีดให้กับทุกพื้นที่ที่เป็นชุมชนแออัดด้วย

รวมถึงมองว่า รัฐควรฉีดวัคซีนควบคู่ไปกับการตรวจหาเชิงรุก เพื่อแยกคนติดเชื้อออกจากคนไม่ติดเชื้อ เพราะหากฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีเชื้อแล้ว ก็เท่ากับว่า วัคซีนที่ฉีดไปสูญเปล่า และสิ้นเปลืองวัคซีน ในสถานการณ์ที่วัคซีนตอนนี้มีไม่เพียงพอ

ชุมชนคลองเตย เปิดวัดสะพาน ทำจุดกักตัวชั่วคราว ก่อนส่งรพ.สนาม

ทั้งนี้หากเราย้อนไปดูในต่างประเทศ จะพบว่า มีหลายพื้นที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในชุมชนแออัด ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนธาราวี (Dharavi) ในนครมุมไบของอินเดีย ซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งการระบาดโควิดที่ชุมชนธาราวี เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา  สุดท้ายควบคุมการระบาดได้ และได้รับการชมเชยจากองค์การอนามัยโลก และกลายเป็นต้นแบบให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

ชุมชนธาราวีมีผู้อาศัยอยู่เกือบ 1 ล้านคน บนพื้นที่เพียง 2 ตารางกิโลเมตรกว่า ปีที่แล้วช่วงที่มีการระบาดหนัก รัฐบาลอินเดียกังวลว่า ชุมชนธาราวี จะกลายเป็นจุดระบาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย ทำให้มีการออกมาตรการ ปิดทางเข้าออกชุมชน ส่งเจ้าหน้าที่พ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ และใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด แต่ถึงแม้จะทำตามแนวทางนี้ ก็ยังควบคุมการระบาดได้ยาก เพราะ ประชาชนในชุมชน ใช้ห้องน้ำชุมชน และ ทุกคนต้องออกจากที่พักมารับน้ำและอาหาร 

ต่อมามีการปรับเปลี่ยนแนวทางการควบคุมการระบาดโควิด-19 จากที่รอให้ผู้ติดเชื้อมาหา เป็น ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตามบ้านเรือน 47,500 หลัง “ตรวจคัดกรอง” ประชาชนเกือบ 7 แสนคน จากนั้น ย้ายผู้ที่ติดเชื้อไปอยู่ที่นอกพื้นที่ ซึ่งจัดทำโรงเรียนและโรงกีฬาเป็นศูนย์กักโรค ระหว่างการคัดแยก หากประชาชนคนใดรู้สึกไม่สบายสามารถพาตัวเองไปที่ศูนย์กักโรคเพื่อให้แพทย์ตรวจได้ทันที

ภายในเวลา 3 เดือน ชุมชนธาราวี สามารถจำกัดวงการแพร่ระบาดโควิด-19ได้ และ ลดจำนวนประชาชนที่ติดเชื้อ จาก วันละ เกือบ 100 คน เหลือ วันละ 10 คน จนในที่สุดก็ไม่พบผู้ติดเชื้อ

ส่วนสถานการณ์ปีนี้ที่อินเดียมีการระบาดโควิดอย่างหนัก ชุมชนธาราวี ก็พบการระบาดซ้ำเช่นเดียวกัน ทางการสั่งให้ใช้โมเดลเดิม คือ เพิ่มศูนย์กักตัว แยกโรคและรักษาผู้ป่วยตรวจตรา ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยง และคัดกรองเข้มงวด โดยแนวทางทั้งหมดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และ เอกชน รวมถึงสั่งให้ล็อกดาวน์พื้นที่อย่างเข้มงวด และ ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา

แต่ปีนี้มีการเพิ่มเติมเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข้าไปด้วย ซึ่งทางการอินเดีย กำลังจัดการแก้ปัญหาเรื่องชาวชุมชนลังเลเรื่องการฉีดวัคซีน

หลังที่คำยืนยันว่า จะไม่ล็อกดาวน์พื้นที่คลองเตย แม้ว่า จะพบการระบาดของโควิด-19 แล้วหลายร้อยคน

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ