อย.เผย สปุตนิก วี ยังไม่ส่งเอกสารสำคัญ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อย.จะงานเข้า ต้องออกมาชี้แจงเรื่องการขึ้นทะเบียนถี่ขึ้น วันก่อนเคลียร์ปมวัคซีนไฟเซอร์ไป ไม่ทันไร วันนี้ ออกมาเคลียร์ประเด็นบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด ให้ข้อมูลถึงปัญหาวัคซีนสปุตนิก วี ยังไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียน

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วยนายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. ชี้แจงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดย นายแพทย์สุรโชค ระบุว่า บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด ได้จัดส่งเอกสารให้ อย. พิจารณาบางส่วน เช่น ข้อมูลการผลิตวัคซีนบางหัวข้อ ข้อมูลการทดลองในสัตว์ทดลอง และการทดลองวัคซีนในคน แต่ยังขาดข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของวัคซีน, ความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีน, แผนการจัดการความเสี่ยงของวัคซีน รวมถึงหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตวัคซีน

อย. แจงปมยังไม่ขึ้นทะเบียน “ สปุตนิก วี” เหตุบริษัท คินเจน ส่งข้อมูลไม่ครบ

อย.อนุมัติวัคซีนโควิด-19 แล้ว 3 ราย “โมเดอร์นา”อยู่ระหว่างประเมินคำขอขึ้นทะเบียน

ประเด็นเอกสารสำคัญที่ยังไม่ส่งมาให้ อย.พิจารณา ทาง อย.ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัท คินเจนฯ เพื่อขอให้จัดส่งข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาเพิ่มเติม โดยทางบริษัทฯ แจ้งว่าจะดำเนินการส่งข้อมูลที่ขาดให้ครบถ้วนภายในเดือน พ.ค.นี้

ประเด็นวัคซีนสปุตนิก วี ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา คือ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวิภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. อธิบายให้ทีมข่าวพีพีทีวี เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนตัวนี้ว่า วัคซีน สปุตนิก วี เป็นวัคซีนแบบ Viral vector คือ เป็นวัคซีนที่นำไวรัส มาทำให้อ่อนแอลง ไม่สามารถก่อโรคได้ แล้วมาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ coronavirus ลงไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และเป็นวัคซีนที่ต้องฉีด 2 เข็ม

อย.ของประเทศบราซิล ตรวจพบว่าวัคซีน สปุตนิก วี  เข็มที่ 2 มีปัญหา ส่งผลให้ประเทศบลาซิลปฏิเสธการนำเข้าวัคซีนชนิดนี้ เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากหัวเชื้อที่ใช้ผลิตวัคซีน หรือ เกิดจากการปนเปื้อนในการผลิตวัคซีนเฉพาะล็อตนี้ เท่าที่ทราบตอนนี้ประเทศบราซิล เป็นประเทศเดียวที่พบว่ามีปัญหาลักษณะนี้

ส่วนการที่ประเทศไทยมีแผนนำเข้าวัคซีน สปุตนิก วี ของรัสเซีย ดร.อนันต์ เชื่อว่า อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนก่อนนำเข้ามาใช้ในประเทศอยู่แล้ว ซึ่งการตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ