รพ.สนามหมอเหรียญทอง เปิดรับผู้ป่วย 19 พ.ค.นี้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ศักยภาพโรงบาลต่างๆ ประสบปัญหาในการรับผู้ป่วย ทางออกของปัญหา ผู้ป่วยล้นเตียง คือ การสร้างโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม เพื่อรองรับ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในคนที่ริเริ่มทำโรงพยาบาลสนาม ที่จะรองรับผู้ป่วยหนัก คือ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ล่าสุด โรงพยาบาลสนามดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว วันที่ 19 พ.ค.จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

โรงพยาบาลสนามพลังแผ่นดินถือเป็นโรงพยาบาลสนามแห่งแรกที่รับผู้ป่วยอาการหนัก หรือ เรียกว่าเป็นเคสสีแดง มารักษาที่นี่ ขณะนี้ คือเตียงผู้ป่วย 48 เตียงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์อื่นๆ นอกจาก 48 เตียงที่รับผู้ป่วยวิกฤตแล้วยังมีเตียงผู้ป่วยที่จะรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด -19 อาการปานกลาง ตรงนี้มีประมาณ 150 เตียง

พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ พาสื่อมวลชนเดินชม ก่อนที่จะเปิดรับผู้ป่วยอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 พ.ค.นี้ 

สบส. ชี้ รพ.สนามหมอเหรียญทอง ขออนุญาตแล้ว

“หมอเหรียญทอง” เปิดรับบริจาคสร้างรพ.สนาม

อันนี้คือเรื่องช่วยหายใจ และอันนี้อันนี้คือ เครื่องตัวมอนิเตอร์อาการผู้ป่วยวิกฤต ของแต่ละคนจากจุดนี้ จะส่างผ่านข้อมูลปรากฎอย่างไร ก็จะไปโชว์ที่สถานีกลาง ที่มีเจ้าหน้าที่ เปรียบเสมือนเคาเตอร์ในไอซียู แต่เนื่องจากนี่คือไอซียูขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นเคาเตอร์ของพยาบาลจะอยู่ตรงนู้น อีกด้านหนึ่ง ติดตามอาการคนไข้วิกฤตตลอดเวลา

“เห็นกล้องนี้ไหมครับ อันนี้อันนี้ทุกท่านต้องขอโทษนะอย่าไปมองว่ามันมวยวัดและลูกทุ่ง วันนี้ตรงพูดตรงๆ นี่ความจริง นี่เป็นการแสวงเครื่อง หมายถึงว่าเอาสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราก็ใช้ระบบวงจรปิดดึง ส่องกล้องมาที่หน้าจอของ เครื่องช่วยหายใจด้วย ไม่งั้นหมอต้องมาเดินตลอดเวลา หมอพยาบาลต้องมาเดินตลอดเวลา ความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ก็จะยิ่งมาก จะเป็นอันตรายนักรบเสื้อกาวน์ ก็อาจจะติดเชื้อไป และก็แย่ไปเอง เราก็ต้องลดความเสี่ยงของเรา เราก็ใช้กล้องดึงภาพ ไปที่สถานีกลาง”

หมอเหรียญทอง เอาผิด ปชช.ขวางทางเข้ารพ.สนาม

หมอเหรียญทอง อธิบายถึงศักยภาพ เตียงไอซียู  ยืนยัน ว่าได้มาตรฐานของสาธารณสุข นอกจากนั้นยังมี เตียงผู้ป่วยอาการปานกลางอีก พร้อมยกระดับให้เป็นเตียงไอซียูหากเกิดเหตุการวิกฤติกว่านี้ นอกจากนั้นยังมีห้องผ่าตัดใช้สำหรับผู้ป่วยที่ มีอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น เรียกว่าครบวงจรในการรักษาผู้ป่วยในขั้นวิกฤต

โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ที่ตั้ง ซอยแจ้งวัฒนะ 14 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ จ.กรุงเทพมหานค เนื้อที่  3,000 ตารางวา  ใช้เวลาสร้างประมาณ 12 วัน เท่านั้น รับผู้ป่วยวิกฤต 48 เตียง รับผู้ป่วยอาการปานกลาง 167 เตียง ใช้งบประมาณ 75 ล้านบาท

ส่วนเบื้องหลังแนวคิดโรงพยาบาลสนามแบบไอซียูแห่งแรกของไทย หมอเหรียญทองบอกว่า ศึกษาจากโรงพยาบาลสนามของทหารอเมริกันที่ต่อสู้กับโรคระบาด อย่าง เชื้อไวรัสอีโบลา และนำมาประยุกต์เชื่อว่าโรงพยาบาลสนามไม่มีรูปแบบตายตัว หวังให้ที่นี่ เป็นสิ่งที่จุดกายความคิดคนในสังคม

ชำแหละปัญหาสื่อสารวัคซีน ทำคนไม่เชื่อมั่น

ที่นี่พร้อมเปิดรับผู้ป่วยวันพรุ่งนี้ โดยคนที่จะเข้ารับการรักษาที่นี่ จะต้องถูกส่งต่อมาจาก กระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาล เท่านั้น ญาติผู้ป่วยไม่สามารถส่งตัวผู้ติดเชื้อมาเองได้ หมอเหรียญทอง เชื่อว่าโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ จะแก้ไขปัญหาคนไข้ป่วยหนักล้นเตียง และทำให้สถานการณ์โควิดของไทยดีขึ้น

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ