รู้จักภูมิคุ้มกันหมู่ ความหวังทำให้โควิด-19 อยู่ในสถานะไข้หวัดธรรมดา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทำความเข้าใจคำว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) กับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคนไทย

นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ ผอ.อาวุโสด้านการสื่อสาร โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายถึงคำว่า "ภูมิคุ้มกันหมู่" หมายความว่า ประชาชนในพื้นที่นั้นๆ มีภูมิคุ้มกันต่อโรค เช่น โควิด คอตีบ ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ เกินกว่า 60-70% ของประชากรขึ้นไป เพื่อ

ทำไมอินโดนีเซียเล็งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนวัยทำงานก่อนผู้สูงอายุ?

จีนหวังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ปีนี้ ฉีดวัคซีนโควิด-19 วันละ 10 ล้านโดส

“วันหนึ่งโควิดจะกลายมาเป็นโรคภูมิภาคเหมือนไข้หวัดใหญ่ แต่สำคัญถ้าเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว ความรุนแรง อัตราป่วยหนัก ตาย จะลดลงเมื่อนั้นเราจะควบคุมมันได้ " 

 

จากภาพ นพ.พงศกร อธิบายเพิ่มว่า สมมุติให้คนสังคมไทยตอนนี้ทั้งหมด คือ 10 คน เป็นดังภาพที่ 1 คือ ไม่มีใครมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 มาก่อนเลยเหมือนคนทั้งโลกในปี 2563 

ต่อมาภาพที่ 2 เริ่มจาก 1 คน ติดเชื้อ ก็เกิดการแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ทุกคนมีโอกาสได้รับเชื้อทั้งหมดเพราะไม่มีใครมีภูมิคุ้มกันเลย ประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน ตอนนี้กระจายติดต่อไปกันไปใกล้แสนคนเข้าไปทุกที โดยกระจายติดกันไปเรื่อยๆ โดยสิ่งที่เราทำกันอยู่คือ เว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ ทำงานที่บ้าน ฯลฯ เพื่อป้องกันติดเชื้อจากภาพนอกเพราะภายในของเรายังไม่มีภูมิคุ้มกัน

ต่อมาภาพที่ 3 เริ่มมีการฉีดวัคซีน ทำให้คนที่ฉีดวัคซีนเริ่มมีภูมิคุ้มกัน (สีเขียว) แต่ยังเป็นส่วนน้อย แม้ว่าผู้ติดเชื้อสีแดงจะไม่สามารถติดต่อไปที่สีเขียวได้แต่ยังแพร่ไปที่สีขาวได้อีกมากเพราะคนรับวัคซีนยังมีน้อยเกินไป

ภาพที่ 4 เมื่อมีคนฉีดวัคซีน แล้ว 7 ใน 10 คน โควิด-19 ก็สามารถแพร่ไปยังตัวสีขาวที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่ก็แพร่ระบาดไปยังตัวสีเขียวอื่นๆ ไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน แม้ว่าตัวสีขาวยังไม่ได้ฉีด แต่การที่โควิด-19 จะแพร่มาถึงตัวก็น้อยลงเพราะมีตัวสีเขียวซึ่งมีมากขึ้น 60-70% ของจำนวนประชากร ขวางอยู่

ทั้งหมดคือการเกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) 

 

แต่ด้วยวัคซีนมีหลากหลายยี่ห้อของไทยใช้หลักๆ คือ แอสตร้าเซเนก้าและซิโนแวค ขณะที่ในอนาคตอาจมียี่ห้ออื่นๆ เข้ามาอีก ทำให้เกิดคำถามว่าสมควรจะรอให้มีทางเลือกมากขึ้นก่อนไหม ยี่ห้อวัคซีนมีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่หรือไม่

นพ.พงศกร บอกว่า ถ้าพูดเฉพาะโควิด-19 การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ดูที่จำนวนของคนที่ฉีด ไม่ได้อยู่ที่ชนิดวัคซีน

เพราะวัคซีนทุกชนิดสร้างภูมิคุ้มกันได้เหมือนกันหมด ทุกคนเกิดภูมิคุ้มกันหมด เพียงแต่วิธีการต่างกัน แต่ว่าจะกี่เปอร์เซ็นต์มากน้อยแต่ละยี่ห้อที่แตกต่างกัน และภูมิคุ้มกันที่จะเกิดโรคขึ้นนั้น จะป้องกันโรคได้มากน้อยเท่าไหร่ก็จะแตกต่างกันไปนิดหน่อย

แต่ทุกยี่ห้อมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ป้องกันอัตราตาย ป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น ไม่ให้เชื้อลงปอด เพราะฉะนั้นถามว่าวัคซีนยี่ห้ออะไรกับภูมิคุ้มกันหมู่มีผลกันไหม ไม่มีครับควรฉีดให้เยอะที่สุด เร็วที่สุด ย่อมดีที่สุด ยี่ห้ออะไรก็ได้ 

ถ้าตัดสินใจฉีดแล้ว "วัคซีนโควิด-19" จะอยู่ได้นานแค่ไหน

นพ.พงศกร  อธิบายว่า โดยหลักการควรจะอยู่กับเราได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี แต่วัคซีนโควิด-19 ที่เราใช้ทุกวันนี้ยังบอกยาก เพราะถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่มากๆ วัคซีนโควิด-19 เข็มแรกที่ถูกฉีดยังไม่ครบ 1 ปีเลย เพราะฉะนั้นเราไม่รู้ว่า 1 ปีแล้วภูมิคุ้มกันจะอยู่แค่ไหนกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ต้องติดตามดูต่อไป

แต่อย่างน้อยๆ ถ้าเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ โอกาสจะกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติต้องมีมากขึ้น ที่ใช้คำว่าใก้ลเคียงปกติ เพราะคาดว่าน่าจะกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิมภายปี หรือ 2 ปีนี้ 

ขณะเดียวกันสิ่งที่สถาบันทางการแพทย์พูดตรงกัน ณ วันนี้ คือคาดว่าจะต้องฉีดเวอร์ชันสอง เวอร์ชันสาม กระตุ้นเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดกระตุ้นทุกปี  เนื่องจากไวรัสมันกลายพันธุ์ไปแล้ว ให้เห็นภาพคือ วัคซีนที่เราฉีดเป็นการนำไวรัสตัวแม่มาทำ แต่มันไม่คลอบคลุมตัวลูก ทำให้ตอนนี้บริษัทผลิตวัคซีนทั้งหมดเริ่มลงมือทำเวอร์ชันสองแล้ว ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น ภูมิคุ้มกันหมู่ จะช่วยให้

“ โควิด-19 กลายมาเป็นโรคภูมิภาคเหมือนไข้หวัดใหญ่ แต่สำคัญถ้าเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว ความรุนแรง อัตราป่วยหนัก ตาย จะลดลงเมื่อนั้นเราจะควบคุมมันได้ พอกลายพันธุ์ใช่ไหมก็ฉีดเพิ่มเข้าไป ”

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเป็นไปได้หรือไม่ถ้าจะเปลี่ยนมาระดมฉีดให้คนวันทำงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ก่อน เนื่องจากต้องเดินทาง เคลื่อนย้าย ออกจากบ้านมากกว่า นพ.พงศกร มองว่า โดยหลักการ ทุกกลุ่มควรมีโอกาสได้รับวัคซีนโควิด-19 เท่าๆ กัน ถ้าเรามีวัคซีนเพียงพอ แต่ ณ วันนี้มีจำนวนวัคซีนจำกัด ไม่เพียงพอสำหรับทุกกลุ่ม จำเป็นต้องเลือกกลุ่มที่โอกาสเสียชีวิตเมื่อติดโรคสูงก่อน

แต่ถ้าเราอยากให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่เยอะๆ  ก็สามารถหันมาให้น้ำหนักกับกลุ่มวัยทำงานด้วย เพราะเขาออกจากบ้านประจำ และเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ขณะที่ผู้สูงอายุก็จะอยู่บ้านมากกว่า แต่สุดท้ายภูมิคุ้มกันหมู่เอาที่จำนวนคนไม่ได้เอาที่กลุ่มหรืออะไร เพราะฉะนั้นปูพรมให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์คือดีที่สุด และคนวัยทำงานก็จะช่วยได้มาก

อย่างไรก็ตาม นพ.พงศกร กล่าวทิ้งท้ายว่า วัคซีน ณ วันนี้ทุกยี่ห้อเมื่ออยู่ในจุดที่สามารถออกมาให้มนุษย์ได้ใช้ แปลว่า ต้องปลอดภัย เพราะฉะนั้นทุกยี่ห้อที่เอามาใช้วันนี้ ความปลอดภัยสูง

สิ่งที่เราได้ยินบ่อยเรื่องผลข้างเคียงเกิดได้ไหม เกิดได้แต่ในอัตราที่ต่ำมาก เพราะฉะนั้น อยากบอกทุกคนว่า ถ้ามีโอกาสรับวัคซีน รับวัคซีนเถอะ เพราะมันคุ้มค่าแน่ๆ ขณะที่อาการข้างเคียงทางโรงพยาบาลจะมีระบบดูแลอยู่แล้ว มีการตรวจสอบอาการจนแน่ใจแล้วถึงให้กลับบ้านได้  และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทุกคนกลับมาเป็นปกติหมด ภายใน 2 - 3 วัน หรือ บางคนนานหน่อย แต่ไม่มีเลยที่จะเป็นทุพพลภาพถาวร

" โควิด-19 วันนี้ก็เหมือนสนามรบ มีกระสุนสาดเข้ามาทุกวิถีทาง ต่อให้มีเสื้อเกราะให้เลือก 2 ยี่ห้อ ก็ควรเลือกไว้ก่อน เพราะกระสุนมันไม่ได้เลือกยี่ห้อเสื้อเกราะ แต่ถ้าไม่สวมเลยสักทางก็มีโอกาสโดนกระสุนมากกว่าอยู่ดี "

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ