ปธ.บอร์ด รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ตัดพ้อ ถูกเทตัดโควตาวัคซีน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไม่เฉพาะแต่แอสตราเซเนกาเท่านั้น ที่พบปัญหาตอนนี้ ล่าสุดทีมข่าวพูดคุยกับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พบข้อมูลว่า ทางโรงพยาบาลถูกตัดโควตาวัคซีนซิโนแวก จากเดิม 12,000 โดส เหลือเพียง 6,000 โดส และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่วัคซีนไม่ครบ 6,000 โดส ทั้งที่วัคซีนนี้จะถูกนำมาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์

ข้อความส่วนหนึ่งที่ ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์  ประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ตัดพ้อ ว่า เขาและบุคลากรทางการแพทย์ กำลังถูกเท พร้อมบอกว่า “เราถูกขอให้ต่อสู้ รบยืดเยื้อ และให้ขยายแนวรบออกไปตลอดเพื่อชาติ  ชาติบอกเรามาว่า ให้ปันส่วนกระสุน เอาไปคนละสิบนัดในเดือนนี้ แล้วให้ตรึงแนวรับไว้ให้ได้จนถึงเดือนหน้า  บางหน่วยยังเตรียมพร้อมอยู่ในที่ตั้ง แต่มีกระสุนให้ไม่จำกัด”

บุคลากรทางการแพทย์ โอด เลือกวัคซีนฉีดไม่ได้

เปิดเส้นทาง “ลำเลียง” วัคซีนป้องกันโควิด-19

ศาสตราจารย์ สุรพล บอกอีกว่า เริ่มรู้สึกท้อ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ที่วัคซีนไม่พอไม่วามารถแบ่งให้ได้ตามที่สัญญาไว้ เพราะ มีคนที่มีอำนาจทางการเมืองเอาวัคซีนไปใช้หาเสียงหรือไม่

ทีมข่าวตรวจสอบไปยัง รองศาสตราจารย์นายแพทย์ พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ยอมรับว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องจริง โดยก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลได้ติดต่อขอโควต้าวัคซีนแบบองค์กร กับกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 12,000 โดส เพื่อฉีดให้บุคลากรอื่นๆ นอกเหนือจากแพทย์ และพยาบาล ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามม.ธรรมศาสตร์  โรงพยาบาลสนามในสวทช. และเอไอที หรือสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมั่นใจ หลังที่นี่ถูกใช้เป็นเป็นพื้นที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก

ตอนแรก กระทรวงสาธารณสุขส่งมอบวัคซีนให้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม จำนวน 2,000 โดส  วันถัดมาแจ้งขอลดโควต้าวัคซีนเหลือ 6,000 โดส จากเดิมที่จะได้ 12,000 โดส  แต่อีก 4,000 โดส จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการส่งมอบให้ และ ยังไม่ได้รับการติดต่อว่าจะส่งมอบให้วันไหน  แต่ตามกำหนดการทางโรงพยาบาลเริ่มฉีดวัคซีนตามแผนที่วางไว้ วันนี้วันแรก 1,200 คน พรุ่งนี้อีก 800 คน  หมายความว่าหากไม่ได้วัคซีนที่เหลือ วันถัดไปก็จะไม่มีวัคซีนแล้ว

เมื่อถามว่า โควต้าวัคซีนที่ถูกตัดออกไปมีกระแสว่านำไปให้คนมีอำนาจทางการเมืองหาเสียงหรือไม่ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ พฤหัส ระบุว่า ไม่รู้ว่า วัคซีนที่หายไปถูกโยกไปอยู่ในส่วนไหน และไม่รู้ว่า ส่วนกลางหรือกระทรวงสาธารณสุขมีวิธีการจัดสรรวัคซีนอย่างไร แต่ถ้าตามหลักวิชาการจะต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ระบาดก่อนอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นกลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปที่อายุน้อยกว่า 59 ปี

ขณะที่อีกเรื่องซึ่งถูกวิจารณ์หนักไม่แพ้กัน คือ แผนการกระจายวัคซีน เดือนมิถุนายน ซึ่ง4 จังหวัดสีแดงเข้ม กทม.จะได้รับวัคซีน 2,510,000 โดส ส่วน สมุทรปราการ จะได้รับวัคซีน 237,000 โดส ขณะที่ นนทบุรี ได้วัคซี๊น 64,000 โดส และ ปทุมธานี ได้วัคซีน 62,000 โดส

ส่วนพื้นที่สีแดง ที่เริ่มพบการระบาดหนัก อย่าง นราธิวาส มิถุนายนนี้จะได้วัคซีน 16,000 โดส ส่วนเพชรบุรี ได้ 24,000 โดส

ส่วนกลุ่มสีส้ม 3 จังหวัดแรกที่จะได้รับวัคซีนสูงสุด คือ อุดรธานี 246,000 โดส สกลนคร 181,000 โดส และ นครราชสีมา 147,000 โดส ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า ทำไมพื้นที่สีส้ม ซึ่งไม่ได้มีการระบาดหนักเท่าสีแดง และ สีแดงเข้ม จะได้วัคซีน หลัก แสนโดสในเดือนมิถุนายน  ขณะที่ ปทุมธานี  นนทบรี ได้แค่ 60,000 โดส  หรือ อย่างนราธิวาส ที่พบการระบาดสายพันธุ์แอฟริกา และ เพชรบุรี ที่พบการระบาดในโรงงาน ได้วัคซีนแค่ 1-2 หมื่นโดส

ประเด็นนี้มีคำอธิบายจาก นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า แผนดังกล่าวจัดทำขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพร้อมย้ำว่า แผนการกระจายวัคซีนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอด โดยสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขนำมาเป็นเกณฑ์สำหรับจัดสรรวัคซีนมี 4 ข้อใหญ่ เช่น จังหวัดที่พบการระบาด  จังหวัดพื้นที่เศรษฐกิจ  กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม และความเร่งด่วนของนโยบาย

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ