หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาฯ ระบุ ไม่ควรเรียก "โควิดสายพันธุ์ไทย" เพราะยังไม่ระบาดในท้องถิ่น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวถึงการเกิดขึ้นของ "โควิดสายพันธุ์ไทย" ในอังกฤษ ด้าน หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามา ระบุว่า ไม่ควรเรียก "สายพันธุ์ไทย" เพราะยังไม่ระบาดในท้องถิ่น และถูกพบในสถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine) เท่านั้น

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล(รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ถึงกรณี "โควิด-19 สายพันธุ์ไทย" พบในอังกฤษ ว่า โดยปกติการระบุชื่อสายพันธุ์ขอไวรัส จะใช้รหัสพันธุกรรมเป็นตัวตั้งนำไปใส่ในคอมพิวเตอร์  แล้วนำไปเทียบกับทั่วโลก และออกมาเป็นรหัสอย่างที่เห็นกัน ในกรณีนี้คือ C.36.3 คล้ายกับการระบุ ทะเบียนรถยนต์ 

"โควิดสายพันธุ์ไทย" ยังไม่น่ากังวลเท่าสายพันธุ์อังกฤษ อินเดีย แอฟริกา

อังกฤษ พบ ผู้ติดโควิดสายพันธุ์อินเดียพุ่ง 2 เท่า

 

ก่อนหน้านี้คือ สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) สายพันธุ์แอฟริกาใต้  (B .1.351) สายพันธ์อังกฤษ (UK Variant)

"การนำรหัสพันธุกรรมมาเรียกเป็นชื่อ เช่น สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์อังกฤษนั้น เป็นชื่อที่ใช้เรียกในวงการสื่อมวลชน ขณะที่ WHO (องค์การอนามัยโลก) พยายามที่จะไม่ใช้เพราะอาจเป็นปัญหาได้ " แม้อีกนัยหนึ่งชื่อประเทศก็สามารถบอกโลเคชันของไวรัสที่แพร่ระบาดด้วยเหมือนกัน แต่ส่วนของ "สายพันธุ์ไทย" ยังไม่มีการระบาดในประเทศ และผู้ป่วยในสถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine) ก็หายดีและออกจากประเทศไทยแล้ว

ขณะที่ในกรณีนี้ เป็นผู้ติดเชื้อเดินทางมาจากอิยิป (ชายชาวอิยิปต์ อายุ 33 ปี) แต่ยังไม่ได้แพร่ในไทย จึงไม่น่าเรียกว่าสายพันธุ์ไทยด้วยซ้ำ  เพียงแต่ตรวจเจอไวรัส ใน สถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine) ของไทย เมื่อ 4 เดือนก่อน (ตามภาพด้านล่าง) เป็นสายพันธุ์ C.36.3 และรายงานขึ้นไป จริงๆ เราเขียนชัดว่าที่มาที่ไปอยู่ใน สถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine) และได้ค้นพบรวมถึงถอดรหัสพันธุกรรมได้ในไทย 

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ แนะนำว่า ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบควรอธิบายผ่านทางสถานทูตให้เข้าใจมากขึ้น และยืนยันว่าขณะนี้ประเทศไทยมีเพียงสายพันธุ์อังกฤษ อินเดีย แอฟริกา ส่วนสายพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า สายพันธุ์ไทย (C.36.3) ยังไม่ได้ระบาดในท้องถิ่นไทยเลย"

ส่วนความกังวลว่าจะมีผลต่อวัคซีนหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ ย้ำว่าจากรหัสพันธุกรรมถือว่าอยู่ในระดับบ้านๆ ไม่ได้มี รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าจะหลบเลี่ยงวัคซีน

"ทุกสายพันธุ์มีโอกาสที่จะพัฒนาแต่ส่วนใหญ่ไวรัสน่าจะพัฒนาเชื่องลง"

 

 

สอดคล้องกับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะ​วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ในเชิงวิชาการไม่มีการตั้งชื่อสายพันธุ์เป็นประเทศ เนื่องจากภาษาพันธุกรรมจริงๆ ก็จะเรียกเป็นรหัสพันธุกรรม แต่อาจจะเรียกยาก เลยตั้งเป็นชื่อขึ้นมา ยกตัวอย่างในอังกฤษมีการเรียกสายพันธุ์เมืองเคนส์ เพราะมีการแพร่ระบาดสูง ชาวเมืองก็ออกมาไม่พอใจ แม้กระทั่งสายพันธุ์อินเดียก็ตาม

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ