เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย "วัคซีนโควิด 19" ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในเอกสาร แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกรมควบคุมโรคได้เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย "วัคซีนโควิด 19" ไว้ดังนี้

7 มิ.ย.64 จะเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของไทยในการระดมฉีดวัคซีนโควิด-19ให้กับประชาชนวันแรกทั่วประเทศ ซึ่งวัคซีนหลักๆ ที่จะนำมาใช้มี 2 ตัว คือ แอสตร้าเซเนก้า และ ซิโนแวก โดยวัคซีนแต่ละตัวมีข้อดีและข้อด้อย

ที่สำคัญ คือ ไม่สามารถนำผลการศึกษาของวัคซีนต่างชนิดในคนละกลุ่มประชากรและคนละเวลา มาเปรียบเทียบกันโดยตรงได้ เพราะปัจจัยในเรื่องของแบบแผนการศึกษา ลักษณะ ประชากร ลักษณะของเชื้อที่ระบาดและวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

รวมคำถาม-ตอบ ข้อสงสัย การปฏิบัติตัว ข้อห้าม ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19

กางผัง 45 จุด ทั่วกรุงฯ ฉีดวัคซีนโควิดผู้ประกันตน ม.33

 

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาที่รายงานมามากขึ้นพอจะสรุปข้อดีและข้อด้อยของแต่ละวัคซีนจากการศึกษาและประสบการณ์การใช้จริง ซึ่งมีใช้หรือกำลังจะมีใช้ในประเทศไทยได้

โดย 2 ตัวแรก คือตัวที่กำลังจะเริ่มระดมฉีดให้กับประชาชนทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. เป็นต้นไป ดังนี้

แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)

ข้อดี : 

1.ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเร็วตั้งแต่หลังฉีดเข็มแรกเพียง 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพเกิดเต็มที่และจากประสบการณ์ในประเทศสกอตแลนด์ป้องกันการป่วยหนักและนอนโรงพยาบาลได้ร้อยละ 89 หลังฉีดเข็มแรก ไม่แตกต่างจากวัคซีนของไฟเซอร์ (Pfizer) ซึ่งป้องกันได้ร้อยละ 91

2.จะมีประโยชน์และประสิทธิภาพสูงมากในกรณีที่มีการระบาด เพราะจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่สูงอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดแบบปูพรมเป็นวงกว้างจะยุติการระบาดได้เร็ว

3.มีการรับรองและยอมรับในประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาอาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่า ในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น

ข้อด้อย : 

1.มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้บ่อย มีไข้ เพลีย ได้ถึงร้อยละ 70-80 แต่ส่วนใหญ่อาการไม่มาก

2.สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสนถึง 1 ต่อล้านโดส โดยในประเทศ ไทยคาดการณ์ว่าจะมีอุบัติการณ์ต่ำกว่านี้ เพราะมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคที่คล้ายคลึงโรคนี้ต่ำมาก แต่เป็นภาวะที่รักษาได้ ซึ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงในข้อนี้จะพบว่า ประโยชน์จากวัคซีนยังสูงกว่ามาก

3.แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก แต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็นโรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตรายในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน

4.เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะ (anti-vector antibody) จะลดทอนประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไปหรือไม่

สุทธิชัย หยุ่น : 7 มิถุนายน "ดีเดย์" ไม่เหมือน "คิกออฟ"

ซิโนแวก (Sinovac)

ข้อดี : 

- มีอาการข้างเคียงน้อย
- เป็นวัคซีนเชื้อตายจึงไม่ต้องกังวลในการใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและหญิงตั้งครรภ์
- เทคโนโลยีในการผลิต เป็นแบบที่เคยมีการใช้มาก่อนในวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น โปลิโอ ตับอักเสบเอ ทำให้มีความไว้วางใจในความปลอดภัยระยะยาว

ข้อด้อย : 

- ประสิทธิภาพจะยังเกิดไม่เต็มที่หลังเข็มแรก ต้องฉีดครบ 2 เข็ม จึงจะมีประสิทธิภาพเกิด ได้เต็มที่

- มีรายงานอาการข้างเคียงซึ่งคล้ายอาการทางระบบประสาท ที่เรียกว่า ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (Immunization stress-related response (ISRR)) ซึ่งพบในช่วงที่ระดมฉีดให้บุคลากรที่อายุน้อยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จึงทาให้เกิดความระแวงและไม่มั่นใจ

ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน (ISRR)หลังพบจากการฉีดวัคซีนโควิด

- เนื่องจากการศึกษามีน้อยกว่า การใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาทำให้การเก็บข้อมูลไม่เป็นเข้มแข็งเท่า จึงยังไม่เป็นที่ ยอมรับของประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา

ต่อมาคือ ข้อเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อด้อย ของวัคซีนโควิด-19 ที่มีใช้กันทั่วโลก แต่ยังมีการนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน  แม้ว่าจะผ่าน อย.ไทยแล้วก็ตาม

ไฟเซอร์ (Pfizer) , โมเดอร์นา (Moderna) 

ข้อดี :

1. มีข้อมูลการศึกษาและใช้จริงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งเห็นผลประสิทธิภาพสูงมาก รวมทั้งการศึกษาในประเทศอิสราเอล พบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด ได้ร้อยละ 95

2. ป้องกันการติดเชื้อที่ไม่มีอาการได้ร้อยละ 91

3. ป้องกันการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ร้อยละ 97 

4. การศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 70 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก 26 และในประเทศ สกอตแลนด์พบว่าวัคซีนสามารถป้องกัน การนอนโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 91 ตั้งแต่หลังการฉีดเข็มแรก

5. มีข้อมูลการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องว่าปลอดภัยและได้ผลดี มีการรับรองและยอมรับสำหรับประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา อาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น

ข้อด้อย : 

1. มีอาการข้างเคียงพบได้บ่อยประมาณครึ่งหนึ่งแต่ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง

2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้มีความระแวงถึงผลข้างเคียงในระยะยาว

จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (johnson & johnson)

ข้อดี : 

1. ฉีดเข็มเดียว
2. เลียนแบบการติดเชื้อไวรัสอะดิโนตามธรรมชาติ จึงไม่มีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงระยะยาว
3. มีการรับรองและยอมรับสำหรับประเทศในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา อาจทำให้ เกิดอุปสรรคน้อยกว่าในการต้องเดินทาง เข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น

ข้อเสีย : 

1. แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมากแต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็น โรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตราย ในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน

2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะจะลดทอน ประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไปหรือไม่

ทั้งหมดคือ ข้อดี ข้อด้อย ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นำมารวบรวมไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคนไทย

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ