รวมคำถาม-ตอบ ข้อสงสัย การปฏิบัติตัว ข้อห้าม ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เอกสารแนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค สธ. รวบรวมคำถาม ข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ดังนี้

1. ถาม: ข้อดี-ข้อด้อย : แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)?
ตอบ :
ข้อดี :  1. ประสิทธิภาพเกิดขึ้นเร็วตั้งแต่หลังฉีดเข็มแรกเพียง 2 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพเกิดเต็มที่

2. มีประโยชน์ ประสิทธิภาพสูงมากในกรณีที่มีการระบาด เพราะจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่สูงอย่างรวดเร็ว เมื่อฉีดแบบปูพรมเป็นวงกว้างจะยุติการระบาดได้เร็ว

3. มีการรับรอง ยอมรับในประเทศในทวีปยุโรป อเมริกาอาจทำให้เกิดอุปสรรคน้อยกว่า ในการต้องเดินทางเข้าเมืองในประเทศเหล่านั้น

เจาะลึก "ผลข้างเคียงแอสตร้าเซเนก้า" เมื่อวัยทำงาน ไข้ขึ้น อ่อนเพลีย มากกว่าผู้สูงอายุ

เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อย "วัคซีนโควิด 19" ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน

หมอ 3 สถาบัน ตอบทุกข้อสงสัย "วัคซีนต้านโควิด"

ข้อด้อย : 1.มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้บ่อย มีไข้ เพลีย ได้ถึงร้อยละ 70-80 แต่ส่วนใหญ่อาการไม่มาก

2. สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดอุดตันกับเกล็ดเลือดต่ำ (VITT) แต่พบน้อยประมาณ 1 ต่อแสนถึง 1 ต่อล้านโดส โดยในประเทศ ไทยคาดการณ์ว่าจะมีอุบัติการณ์ต่ำกว่านี้ ซึ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงในข้อนี้จะพบว่า ประโยชน์จากวัคซีนยังสูงกว่ามาก

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19?

สปสช.เพิ่มสิทธิตรวจ-รักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่มีอาการหลอดเลือดอุดตัน หลังได้รับวัคซีนโควิด-19

3. แม้จะไม่มีข้อมูลการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก แต่หากไม่มีวัคซีนอื่นเป็นทางเลือกการใช้วัคซีนก็ยังมีประโยชน์กว่าการเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเป็นโรคโควิด19 ซึ่งจะมีความรุนแรงและอันตรายในคนกลุ่มนี้มากกว่าความเสี่ยงจากการฉีดวัคซีน

4.เป็นเทคโนโลยีใหม่ยังไม่แน่ใจว่าการมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่เป็นพาหะ (anti-vector antibody) จะลดทอนประสิทธิภาพในการฉีดครั้งต่อๆ ไปหรือไม่

"ไม่จำเป็นต้องหยุดยาปวดศรีษะไมเกรน" ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 

2. ถาม : บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังการฉีด สามารถทานอาหาร เครื่องดื่ม ได้ตามปกติ หรือไม่
ตอบ
: ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งชา/กาแฟ ยาต่างๆ ตลอดจนทำหน้าที่การงานที่เคยทำปกติ แต่ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจจะทำให้มีอาการมึนเมาเหลือค้างในขณะที่ได้รับวัคซีน

 

3. ถาม : บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังการฉีด วัคซีนอื่น เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนบาดทะยัก
ตอบ
: ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนอื่น (เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนบาดทะยัก) ให้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลาแต่ให้ฉีดที่ตำแหน่งต่างกัน ส่วนในกรณีต้องการสังเกตอาการ/ผลไม่พึงประสงค์ จากการได้รับวัคซีนแต่ละชนิดอาจเว้นระยะเวลาห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์

 

4. ถาม : บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังการฉีดสามารถออกกำลังกายหรือไม่
ตอบ
: บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งก่อนและหลังการฉีดจะออกกำลังกายสามารถทำได้ตามปกติ ไม่ควรออกกำลังกายหนักกว่าที่เคยทำปกติหรือพักผ่อนน้อยกว่าปกติในช่วง 1-2 วันก่อน

 

5ถาม : เมื่อมีไข้หรือปวดเมื่อยมาก สามารถรับประทานยาลดไข้ได้หรือไม่
ตอบ
: เมื่อมีไข้หรือปวดเมื่อยมาก แนะนาให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพราะมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และมีปัญหาแพ้ยาน้อย ส่วนยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ให้ใช้ได้ตามความจาเป็นเนื่องจากมีราคาแพงและอาจเกิดการแพ้ยาได้บ่อยกว่าพาราเซตามอล

สถาบันบำราศนราดูร ชี้แจง คำเเนะนำลดความเสี่ยงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนซิโนแวค

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แจงวัคซีนโควิด-19 และ การใช้ยาคุมกำเนิด

 

6. ถาม : ก่อนฉีดวัคซีนจำเป็นต้องดื่มน้ำมากๆ หรือไม่
ตอบ :
ควรดื่มน้ำตามปกติ เท่าที่ร่างกายต้องการ

 

7. ถาม ผู้มีประจเดือนสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ :
 การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด-19

 

8. ถาม : ในกรณีที่ผู้รับวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า มีอาการแพ้วัคซีนและมีอายุเกิน 60 ปีจะสามารถฉีดวัคซีนของ บริษัทซิโนแวค ได้หรือไม่และควรเว้นช่วงห่างเท่าไร
ตอบ :
สามารถให้วัคซีนของซิโนแวคแทนได้ โดยเว้นช่วงห่าง 10-16 สัปดาห์ ตามระยะห่างของแอสตร้าเซเนก้า เข็ม 1 และ เข็ม 2 การเว้นช่วงห่างระหว่างวัคซีนเข็ม 2 จากวัคซีนเข็ม 1 ในกรณีเปลี่ยนชนิดของวัคซีนให้พิจารณาตามชนิดของวัคซีนที่ฉีดเป็นเข็มที่ 1 เป็นหลัก

 

9. ถาม : วัคซีนฉีดแล้วสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่
ตอบ :
วัคซีนที่ผลิตในปัจจุบันพัฒนามาจากไวรัสที่ระบาดในช่วงแรก จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ไม่ดีเท่าการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป อาจเป็นไปได้ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนที่ป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์ซ้ำในอนาคต

 

10. ถาม : ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่ายเกล็ดเลือดต่ำ หรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ
: ได้ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีน โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (25 หรือ 27) ที่กล้ามเนื้อต้นแขน หลังฉีด วัคซีนให้กดนานประมาณ 5 นาทีด้วยตนเอง จากนั้นอาจใช้น้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นช่วยประคบหลังฉีดวัคซีนได้

11. ถาม : หากเคยฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ต้องมีการฉีดซ้ำเหมือนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อีกหรือไม่
ตอบ :
คาดว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนนี้กระตุ้นอีก แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลวัคซีนโควิด 19 ต่อระดับภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาวจึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าต้องฉีดซ้ำทุกปีหรือไม่

วัคซีนโควิดเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน พบภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่าเกณฑ์

วิจัยพบใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า-ไฟเซอร์ร่วมกัน ผลข้างเคียงมากขึ้น

 

12. ถาม : กรณีที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้ว แต่ต้องกักตัว 14 วัน และมีแนวโน้มไม่สามารถรับวัคซีนตามกำหนดได้ จะต้องทำอย่างไร
ตอบ :
หากกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้ว ขอให้ดำเนินการกักตัวจนครบระยะเวลา 14 วัน แล้วจึงรับวัคซีนโควิด ครั้งที่ 2 โดยเร็วหลังจากพ้นระยะกักตัว

 

13. ถาม : ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้วติดเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องให้วัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 หรือไม่
ตอบ
: หากกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้วติดเชื้อโควิด 19 กำหนดให้รักษาให้หายก่อน แล้วจึงรับวัคซีนโควิด ครั้งที่ 2 หลังจากการติดเชื้อโควิด-19 เวลาอย่างน้อย 3 เดือน

 

14. ถาม : ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้วสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิค-19 แต่ตรวจไม่พบเชื้อ (ผล swab เป็น not detected) บุคคลดังกล่าวจะสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 ได้หรือไม่
ตอบ
: สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 ได้ตามปกติ (แม้ว่าจะเกิดการติดเชื้อในขณะที่ฉีดวัคซีน )

 

15. ถาม : ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วจำเป็นต้องซื้อชุดตรวจภูมิต้านทานแบบรวดเร็วหรือไม่
ตอบ
: ไม่จำเป็น เพราะวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เราฉีดกัน การตอบสนองภูมิต้านทานจะเกิดขึ้นหลังฉีดครบแล้ว มากกว่า 99% แม้กระทั่งวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) เพียงเข็มเดียวภูมิต้านทานก็ขึ้นดีมาก การตรวจจึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจได้ในปัจจุบันก็ไม่สามารถบอกได้ว่าระดับแค่ไหนเป็นระดับที่น้อยที่สุดในการป้องกันโรคถึงเรารู้ระดับภูมิต้านทานเราก็จะยังไม่ทำอะไรอยู่ดี

ดังนั้น ผู้ที่ซื้อชุดตรวจแบบรวดเร็วก็ยิ่งไม่จำเป็นใหญ่เพราะการตรวจจะมีความไวไม่เพียงพอจะให้ผลลบจำนวนมาก เสียสตางค์โดยใช่เหตุในการตรวจวัดเชิงปริมาณ หน่วยที่ใช้ก็ยังไม่ได้ใช้หน่วยเดียวกันในแต่ละห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจ การแปลผลจะสับสนกันมาก จึงไม่มีความจำเป็นในการตรวจ

 

16. ถาม : วัคซีนฉีดแล้วสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่
ตอบ
: วัคซีนที่ผลิตในปัจจุบันพัฒนามาจากไวรัสที่ระบาดในช่วงแรก จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ไม่ดีเท่าการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป อาจเป็นไปได้ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนที่ป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์ซ้ำในอนาคต

 

17. ถาม : ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่ายเกล็ดเลือดต่หรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ : 
ได้ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีน โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (25 หรือ 27) ที่กล้ามเนื้อต้นแขน หลังฉีด วัคซีนให้กดนานประมาณ 5 นาทีด้วยตนเอง จากนั้นอาจใช้น้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นช่วยประคบหลังฉีดวัคซีนได้

 

18. ถาม : หากเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ต้องมีการฉีดซ้ำเหมือนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อีกหรือไม่
ตอบ : 
คาดว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนนี้กระตุ้นอีก แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลวัคซีนโควิด 19 ต่อระดับภูมิคุ้มกันโรคในระยะยาวจึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าต้องฉีดซ้ำทุกปีหรือไม่

 

19. ถาม : กรณีที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 1 แล้ว แต่ต้องกักตัว 14 วัน และมีแนวโน้มไม่สามารถรับวัคซีนตามกำหนดได้ จะต้องทำอย่างไร
ตอบ : 
หากฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 1 แล้ว ขอให้ดำเนินการกักตัวจนครบระยะเวลา 14 วัน แล้วจึงรับวัคซีนโควิด ครั้งที่ 2 โดยเร็วหลังจากพ้นระยะกักตัว

 

20. ถาม :  ในกรณีที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 1 แล้วติดเชื้อโควิด 19 จำเป็นต้องให้วัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 หรือไม่
ตอบ :
หากกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 1 แล้วติดเชื้อโควิด 19 กำหนดให้รักษาให้หายก่อน แล้วจึงรับวัคซีนโควิด ครั้งที่ 2 หลังจากการติดเชื้อโควิด 19 เวลาอย่างน้อย 3 เดือน

21. ถาม : ในกรณีที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้วสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิค-19 แต่ตรวจไม่พบเชื้อ (ผล swab เป็น not detected) บุคคลดังกล่าวจะสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ครั้งที่ 2 ได้หรือไม่
ตอบ
: สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 ได้ตามปกติ (แม้ว่าจะเกิดการติดเชื้อในขณะที่ฉีดวัคซีน)

 

22. ถาม : ผู้ที่มีโรคประจตัวสามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่
ตอบ
ผู้ที่มีโรคประจาตัวต่างๆ สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้ ยกเว้นโรคที่มีความเสี่ยงที่อาจอันตรายถึงชีวิต ที่ยังควบคุมไม่ได้ มีอาการกำเริบ หรืออาการยังไม่คงที่ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางระบบประสาท เป็นต้น ในผู้ที่ไม่แน่ใจหรืออาการยังไม่คงที่ ควรให้แพทย์ผู้ดูแลเป็นประจำประเมินก่อนฉีด

 

23. ถาม : ผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนใดได้บ้าง
ตอบ
 : ผู้สูงอายุสามารถฉีดได้ทั้งวัคซีนของซิโนแวค และแอสตร้าเซเนก้า รวมถึงวัคซีนแพลตฟอร์มอื่นๆ ตามช่วงอายุ ที่ระบุและผ่านการขึ้นทะเบียนแล้วในประเทศไทย

 

24. ถาม :  การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคความดันเลือดสูง ควรพิจารณาระดับความดันเลือดไม่เกินเท่าใด
ตอบ :
ก่อนการฉีดไม่มีเกณฑ์ตัวเลขของความดันเลือดที่ห้ามรับวัคซีน ยกเว้นในกรณีเดียวที่ให้พิจารณาเลื่อนการฉีดก่อนคือ กำลังอยู่ในภาวะความดันเลือดสูงฉุกเฉิน (hypertensive emergency) ที่มีอาการแสดงของระบบอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หอบเหนื่อย ซึมลง ชัก และไตวาย หรืออยู่ในภาวะวิกฤต

 

25. ถาม : ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง เพิ่งได้รับการวินิจฉัยภายใน 1 สัปดาห์ จะสามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่ ถ้าฉีดได้จะสามารถฉีดได้เมื่อใด
ตอบ : สามารถฉีดวัคซีนได้ ถ้าไม่ได้อยู่ภาวะความดันเลือดสูงฉุกเฉินหรืออยู่ในภาวะวิกฤต

 

26.ถาม : ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย/ รูมาตอยด์/ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่
ตอบ :
โรคธาลัสซีเมีย/รูมาตอยด์ ไม่เป็นข้อห้ามในการให้วัคซีนโควิด 19 ดังนั้น สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้

 

27. ถาม : รับประทานยากดคุ้มคุ้มกัน เช่น methotrexate จะสามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม่
ตอบ
: รับการฉีดวัคซีนได้ และให้หยุด methotrexate 1-2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนในกรณีที่โรคเดิมสงบคงที่ หรือควบคุมโรคได้ดีแล้ว (การพิจารณาขึ้นกับขนาด จำนวนยาที่ใช้และโรคที่เป็นอยู่)

 

28. ถาม : ในกรณีที่ผู้ฉีดวัคซีนของซิโนแวค ครั้งแรกอายุ 60 ปี เมื่อมาฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 ควรให้วัคซีน ของแอสตร้าเซเนก้า ใช่หรือไม่
ตอบ :
ควรใช้วัคซีนเดิมในการฉีดเข็มที่ 2 เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนยกเว้นว่าหาวัคซีนเดิมไม่ได้

 

29. ถาม : มีข้อพิจารณาการให้วัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยเบาหวาน (เช่น การพิจารณาระดับ A1C) อย่างไรบ้าง
ตอบ :
ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถรับวัคซีนได้ แม้ยังควบคุมระดับระดับน้าตาลในเลือดไม่ได้ตามเป้าหมาย

 

30ถาม : ในกรณีฉีดวัคซีนซิโนแวคครั้งแรกเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจึงจำเป็นต้องให้วัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า ในครั้งที่ 2 แต่ผู้รับวัคซีนมีความไม่มั่นใจในวัคซีนดังกล่าว ควรดำเนินการอย่างไร
ตอบ :
 ให้เฝ้าระวังอาการหลังฉีด อาจเกิดการแพ้ซ้ำได้แต่น้อยมาก การฉีดวัคซีนให้ครบมีความจำเป็นเพื่อให้ ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างเต็มที่

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ