วัคซีนจุฬาฯ ประสิทธิภาพใกล้เคียง “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีความคืบหน้าเรื่องของการพัฒนาวัคซีนของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสุทธิชัย หยุ่น ได้สัมภาษณ์พิเศษผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 พบว่าหลังผ่านขั้นตอนการทดลองในสัตว์ ได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์และโมเดอร์นา หากเป็นไปตามแผน คาดว่า คนไทยจะได้ใช้วัคซีนตัวนี้ต้นปีหน้า

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ที่นักวิจัยไทยกำลังพัฒนา กับคุณสุทธิชัย หยุ่น ในการบันทึกเทปรายการ “กาแฟดำ”

จุฬาฯ เผยผลทดลองวัคซีน โควิด-19 ในลิงมีภูมิคุ้มกันเพิ่ม รอไฟเขียวทดสอบในมนุษย์

วัคซีน mRNA จุฬาฯ เตรียมทดสอบทางคลินิกเฟส 1 กลางเดือน มิ.ย. นี้

 

วัคซีนล็อตแรกที่ไทยจ้างโรงงานในต่างประเทศผลิต กำลังถูกขนส่งมายังประเทศไทยเพื่อเตรียมทดสอบในอาสาสมัครแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ทดสอบในสัตว์พบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับวัคซีนยี่ห้อไฟเซอร์และโมเดอร์นา ขณะที่โรงงานในไทยกำลังอยู่ระหว่างถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้มีความพร้อมทดลองผลิตในปลายเดือนกรกฎาคม 2564

ศ.นพ.เกียรติ ระบุอีกว่า การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 นักวิจัยไทยได้ออกแบบร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐฯ และได้นำไปทดสอบกับหนูและลิง พบค่าแอนติบอดีสูงในระดับที่น่าพอใจ และอยู่ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์แอฟริกา และอินเดีย ควบคู่ด้วย

ส่วนแผนการทดสอบในอาสาสมัครนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 เฟส โดยตั้งเป้าว่าจะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้ ซึ่งหากตามเงื่อนไขไม่จำเป็นต้องผ่านเฟซ3 ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า จะสามารถออกวัคซีน ChulaCov19 ให้คนไทยใช้ได้ แต่หากต้องผ่านการทดสอบเฟส 3 จะต้องต่อเวลาไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน

ศ.นพ.เกียรติ ยังเตือนว่า แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว แต่มาตรการเว้นระยะห่างยังคงต้องปฏิบัติควบคู่กัน โดยยกตัวอย่างมัลดีฟส์ที่ฉีดวัคซีนไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ปล่อยให้นักท่องเที่ยวเข้ามา พบว่ายอดผู้ติดเชื้อใหม่ยังพุ่งสูง โดยกาแฟดำเทปนี้ในคืนวันพฤหัสฯที่ 17 มิถุนายน

 

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ