กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย เจอสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 348 ราย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย เจอสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 348 ราย ใน กทม.มากสุด 318 ราย ที่เหลือกระจายต่างจังหวัด

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  และเครือข่ายห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในประเทศ ระบุว่า ข้อมูลล่าสุด ( 9 มิ.ย.64) มีการรายงานพบสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 348 ราย แบ่งเป็น

เฝ้าระวังโควิดกลายพันธุ์ พบสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 206 รายใน กทม.

ศบค. เผย 28 ราย เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน 12 รายไม่เกี่ยววัคซีน 16 ราย รอผลชันสูตร

 

กรุงเทพมหานคร 318 ราย

อุดรธานี 17 ราย

สระบุรี 2 ราย

นนทบุรี 2 ราย

ขอนแก่น 2 ราย

ชัยภูมิ 2 ราย

พิษณุโลก 1 ราย

ร้อยเอ็ด 1 ราย

อุบลราชธานี 1 ราย

บุรีรัมย์ 1 ราย

และสมุทรสาคร 1 ราย

 

ขณะที่ จากการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัสซาร์-โค-วี-2 (SARS-CoV-2) ตั้งแต่เดือนเมษายน –มิถุนายน 2564 รวมจำนวน 4,185 ราย พบว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) มีการพบมากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 3,703 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.48 

รองลงมาคือ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 348 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.32 

สายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1 (dade G), B.1 (dade GH), B.1.1.1 (dade GR) จำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.34 

สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.62 

และ สายพันธุ์ B.1.524 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.24 

ซึ่งข้อมูลต่างๆ นี้มีการประสานรายงานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในการควบคุมเฝ้าระวังในพื้นที่ต่อไป

และ จากข้อมูลรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และ WHO พบว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายง่าย ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้

ส่วน สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) พบว่า มีการแพร่กระจายได้เร็วกว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ)

อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อัลฟาแต่อย่างใด วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้

ส่วนสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้)  พบว่า มีการแพร่กระจายได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม  

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ