นพ.ยง แนะฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มให้เร็วรับมือ สายพันธุ์เดลตาในอนาคต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นพ.ยง กล่าวถึง วัคซีนโควิด -19 กับการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ แนะฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็มให้เร็วรับมือ สายพันธุ์เดลตาในอนาคต

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง วิวัฒนาการของไวรัส คือ มีการกลายพันธุ์เพื่อ หลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกาย เห็นว่า มีการกลายพันธุ์ตั้งแต่ อัลฟา (Alpha), (เบตา) Beta, (แกรมมา) Gamma, (เดลตา) Delta หรือแต่เดิมที่เราเรียกว่าสายพันธุ์อังกฤษ (Alpha), สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (Beta), สายพันธุ์อินเดีย (Delta) ขณะที่ วัคซีนส่วนใหญ่ทั้งหมดจะพัฒนาจากสายพันธุ์เดิมคือสายพันธุ์อู่ฮั่น

ระยะห่างของการให้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) กับการกระตุ้นภูมิ

วัคซีนโควิด “แอสตร้าเซเนก้า” ป้องกัน “สายพันธุ์เดลตา” ได้ในระดับที่สูง

 

ซึ่งความสามารถในการหลบหลีกประสิทธิภาพของวัคซีน พบว่า 

สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ยังไม่หลบหลีกประสิทธิภาพของวัคซีนมากนัก

สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) มีอํานาจการแพร่กระจายสูง หลบหลีกภูมิต้านทานได้ แต่ น้อยกว่า สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้)

ในทำนองเดียวกันในประเทศไทยแต่เดิมเป็น สายพันธุ์ G และก็โดน สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ระบาดเข้ามาเกิดระบาดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์อังกฤษ ขณะนี้เริ่มมี สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ในประเทศไทยอย่างแน่นอน

ดังนั้นถ้ามาดูการศึกษาระดับภูมิต้านทานของวัคซีนในสกอตแลนด์

สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ต้องการระดับภูมิต้านทานของวัคซีนที่สูงในการป้องกัน จากการศึกษาในสกอตแลนด์ ถ้าเปรียบเทียบวัคซีนที่เปรียบเทียบระหว่าง วัคซีนไฟเซอร์ ที่ให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่า วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าปรากฏว่า ลดลงทั้ง 2 ตัว

แต่วัคซีนที่ให้ภูมิต้านทานสูงลดลงน้อยกว่าการป้องกันโรคเมื่อให้วัคซีนครบ 2 เข็มหลัง 14 วัน พบว่า สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)  วัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันได้ร้อยละ 79

วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ป้องกันโรคได้ร้อยละ 60 แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) การป้องกันโรคไฟเซอร์จะอยู่ที่ร้อยละ 92 กับแอสตร้าเซเนก้าที่ร้อยละ  73

แต่ถ้าให้ วัคซีนเข็มเดียว เปรียบเทียบกันหลัง 28 วันไปแล้วการป้องกันของวัคซีนไฟเซอร์  จะอยู่ที่ 30% แต่ของแอสตร้าเซเนก้าจะอยู่ที่ร้อยละ 18 (ลงพิมพ์ในวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน)

แสดงให้เห็นว่า การป้องกันโรคสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)  จำเป็นที่จะต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ)

 

ประยุกต์ใช้ประเทศไทย แนะ ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ของแอสตร้าเซเนก้าให้เร็วขึ้น

จากข้อมูลถ้ามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย มองว่าการให้วัคซีนเข็ม 2 เข้ามาเร็วขึ้นของแอสตร้าเซเนก้าจะมีประโยชน์ในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ถ้ามีการระบาดของสายพันธุ์นี้เกิดขึ้น และมีแนวโน้มการป้องกันจะลดลง แต่ก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

ในทำนองเดียวกันวัคซีนที่กระตุ้นภูมิต้านทานได้น้อยกว่าก็คงจะต้องใช้การกระตุ้นเข็มที่ 3 ให้ระดับภูมิต้านทานสูงขึ้นเพื่อป้องกันสายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) จนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนใหม่ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่มีการระบาด

เพราะขณะนี้ของเราส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) แต่ก็คงจะหนีไม่พ้นในอนาคตที่จะมีสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมาแทนที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ตามวิวัฒนาการของไวรัส

เช่นเดียวกันกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี และในการเปลี่ยนแปลงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในบางปีการคาดการณ์ก็ไม่ถูกเช่นเดียวกัน แต่ละปีวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน

ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังดูสายพันธุ์ที่ระบาดอย่างต่อเนื่องว่าเป็นสายพันธุ์อะไร และป้องกันไม่ให้สายพันธุ์ Delta ระบาดขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพื่อรอจำนวนวัคซีนที่จะมาและหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชนิดของวัคซีนในอนาคตให้ตรงและจำเพาะกับสายพันธุ์

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ