กทม. เพิ่มเตียงโควิดเหลือง-แดง 596 เตียง คาดเริ่มรับผู้ป่วย 10 ก.ค.นี้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กทม.เพิ่มเตียงรับ ผู้ป่วยโควิดระดับ เหลือง-แดง 596 เตียง เริ่มรับผู้ป่วย 10 ก.ค.นี้ พร้อมหาฮอสพิเทล (Hospitel) เพิ่ม รพ.เครือข่ายเพิ่ม

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังประชุมการบริหารจัดการเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่ากรุงเทพมหานครจะเพิ่มเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยที่อาการรุนแรง (สีแดง) โดยจะใช้พื้นที่ของของศูนย์การเรียนรู้ของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตทวีวัฒนา 

เตียง รพ.ในเขตกทม. น่าห่วง! เหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับวิกฤต 20 เตียง

ตัวเลขโคม่าพุ่ง! กทม.เพิ่ม 8 คลัสเตอร์ พบ นศ.ฝึกงาน นำเชื้อแพร่หลายโรงงาน นายกฯถกล็อกดาวน์ บ่าย 2 วั...

เบื้องต้นจะปรับเพิ่มห้องความดันลบ จำนวน 4 อาคาร สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 40 เตียง ขณะนี้กำลังดำเนินการโดยตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายใน 5 สัปดาห์

“สาธิต” ยอมรับวิกฤตจริง ผู้ป่วยรอเตียงนับร้อย มาตรการไม่เข้มข้น ทำติดโควิดพุ่ง หมอเหนื่อยล้า

คาดว่าภายในวันที่ 10 ก.ค.64 จะเริ่มเปิดรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 10 เตียง หลังจากนั้นเปิดจะรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 10 เตียงอย่างต่อเนื่องจนครบ 40 เตียง  พร้อมติดตั้งระบบความปลอดภัยด้านอื่นๆ เช่น ระบบกำจัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะ เป็นต้น

ส่วนของโรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ 1 เขตทวีวัฒนา จากเดิมที่รองรับผู้ป่วยสีเขียว จะปรับพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองเพิ่มจำนวน 100 เตียง

พร้อมกันนี้ ในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัดเพื่อรองรับผู้ป่วยที่แสดงอาการ(สีเหลือง และสีแดง)  จะปรับพื้นที่  โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน เพิ่มเติม เพื่อรองรับผู้ป่วย สีเหลืองอีก 70 เตียง รวมกับของเดิม 70 เตียง รวมทั้งหมด 140 เตียง ผู้ป่วยสีแดง 16 เตียง

โรงพยาบาลธนบุรี สนับสนุนเตียงผู้ป่วยสีเหลือง 250 เตียง และผู้ป่วยสีแดง 50 เตียง รวมแล้ว กทม. จะขยายศักยภาพการรองรับผู้ป่วยโควิดสีเหลืองและสีแดง เพิ่มขึ้นอีก 596 เตียง

ในส่วนของการจัดตั้งฮอสพิเทล (Hospitel) เพิ่มเติม เร่งดำเนินการกับโรงพยาบาลเครือข่ายเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดเขียวให้ได้มากที่สุด

ระดับสีของผู้ป่วยโควิด-19 แบ่งเป็น

“กลุ่มสีเหลือง” ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีความเสี่ยงหรือมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น 

1.อายุมากกว่า 60 ปี

2.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)

3.โรคไตเรื้อรัง

4 โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)

5.โรคหลอดเลือดสมอง

6.เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

7.ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม

8.ตับแข็ง

และ 9.ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)

กลุ่มสีแดง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอ็กซเรย์ พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise – induced Hyoixemia)

กลุ่มสีเขียว ส่วนใหญ่ส่งเข้าโรงพยาบาล (รพ.) สนาม และฮอสพิเทล (Hospitel)  ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ