รพ.บุษราคัม เพิ่ม 1,500 เตียง ผอ.ห่วงผู้ป่วยโควิดสีแดงเพิ่มขึ้น 2 เท่า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โรงพยาบาลบุษราคัม เพิ่มเตียงผู้ป่วยโควิด 19 อีก 1,500 เตียง หลังต่อสัญญาอีก 4 เดือนช่วยแบ่งเบาภาระกรุงเทพมหานคร ด้านผู้อำนวยการโรงพยาบาลระบุ ผู้ป่วยสีแดงน่าเป็นห่วงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เหตุเพราะรอส่งต่อโรงพยาบาลหลักล่าช้า

รองปลัดสธ. ปล่อยโฮ ขอหมอจบใหม่ ช่วยงานโควิด

คลัสเตอร์ใหม่อื้อ! โรงงานเสื้อผ้า โรงเรียน แคมป์ บริษัท เปิด 10 จังหวัดยอดพุ่ง

เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความคืบหน้าการเพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดที่ โรงพยาบาลบุษราคัม ที่อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี วันนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของสถานที่ พร้อมระบุว่ากระทรวงสาธารณสุข ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยังตกค้างไม่ได้เตียง ทั้งผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพราะไม่อยากเห็นภาพคนป่วยตกค้างอยู่ที่บ้าน 

สำหรับ โรงพยาบาลบุษราคัม เฟสที่ 3 ได้ขยายเตียงเพิ่มอีก 1,500 เตียง เมื่อรวมกับจำนวนเตียงเดิมที่เปิดในเฟส 1 และเฟส 2 จะทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 3,700 เตียง ซึ่งตอนนี้มีผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 2,161 เตียง 

ด้าน นายแพทย์ กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุษราคัม เปิดเผยว่า การเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลบุษราคัม จำเป็นต้องมีระบบการส่งตัวผู้ป่วย ไม่สามารถรับแบบวอล์กอินได้ เพราะต้องการคัดกรองผู้ที่จะเข้ามารักษา เนื่องจากเป็นการนอนเตียงรวม ร่วมกันจำนวนมาก พร้อมยอมรับว่าตอนนี้มีคนไข้อาการทรุดลงเพิ่มขึ้น ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น 2-3 คนต่อวัน จากสัปดาห์ที่แล้วที่มีคนไข้กลุ่มนี้เพียง 20-30 คน แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 60 คน

"ปัจจุบัน​เรามีคนไข้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบไฮโฟลว์​ ประมาณ 60 ราย คนไข้เหล่านี้ คือคนไข้ที่กำลังเหลืองเข้ม​แสด​ แดงแล้ว​ และเมื่ออาการทรุดลง เป็นไปตามกลไกของโรค​ ก็จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ​ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ด้วยความที่มันกว้างมากของพื้นที่ การให้ความดูแลคนไข้ ภาวะวิกฤต จะไม่ค่อยสะดวกกระเป๋ามากนะ จะไม่ค่อยสะดวก กับเรามากนัก แต่เราจำเป็นต้องดูแลไว้ เนื่องจาก สถานพยาบาล ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล เตียงที่รับสีแดงที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ มีน้อยมาก เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วเราจะต้อง ดูแลกว่าจะส่งต่อได้ เป็น​ 1-2​ วัน​" นายแพทย์ กิตติศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้  โรงพยาบาลบุษราคัม  ที่อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี กระทรวงสาธารณสุข​ ได้​ต่อสัญญาใช้สถานที่สำหรับทำโรงพยาบาลบุษราคัม​ ไปจนถึงสิ้นเดือน ตุลาคม 2564​ โดยตั้งเป้าว่าระยะเวลา 4 เดือนจากนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระการขาดแคลนเตียงใน กรุงเทพมหานครได้

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ