ไฟเขียว ปรับสูตรวัคซีน "ฉีดสลับชนิดกันได้"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อนุทิน นั่งหัวโต๊ะ เคาะมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว. สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงสาธารณสุข ในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าที่ประชุม ได้พิจารณา เห็นชอบการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า

ไทยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 8,656 รายเสียชีวิต 80 ราย อยู่อันดับที่ 60 ของโลก

ไฟเขียว ปรับสูตรวัคซีน "ฉีดสลับชนิดกันได้"

ซึ่งมีระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์เดลต้า โดยโรงพยาบาล(รพ.) ต่างๆ สามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่เสียสละดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

 

 

นอกจากนั้น ยังได้มีมติให้ ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (บูสเตอร์โดส) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์หลังได้รับวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม และทิ้งระยะห่างเกิน 3-4 สัปดาห์แล้ว

ดังนั้นจะสามารถฉีดบูสเตอร์โดสได้ทันทีเพื่อป้องกันและกระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้สูงและเร็วที่สุดกับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่เสี่ยงสัมผัสเชื้อโควิด-19  จากการกลายพันธุ์จากอัลฟา มาเป็นเดลตา โดยสามารถใช้ทั้งวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า หรือ ไฟเซอร์ ก็ได้ แต่ต้องต่างชนิดกันกับ 2 เข็มแรก

หมอนิธิเผย 15-16 ก.ค.นี้ เปิดให้ปชช.จองวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ผ่านแอป

ต่อมา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการศึกษา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกระทรวงอุดมศึกษาฯ เห็นว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดกันมีประโยชน์สามารถต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ โดยมีการศึกษา

- เข็ม 1 เป็น ซิโนแวค

- เข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซเนก้า ระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์

พบว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้มีระดับสูงได้เร็วมากขึ้น ใก้ลเคียงกับผู้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม แต่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า และสามารถต่อต้านสายพันธุ์เดลตาให้ดีขึ้น

ส่วนกรณีที่ได้รับแอสตร้าเซเนก้า เข็มที่ 1 แนะนำให้เข็มที่ 2 ยังคงเป็นแอสตร้าเซเนก้า โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์

ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ นายแพทย์โอภาส ระบุว่า ให้วัคซีนเข็มที่ 3 ซึ่งเป็นวัคซีนกระตุ้น (บูสเตอร์โดส) อาจเป็นแอสตร้าเซเนก้า หรือ ไฟเซอร์ ก็ได้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงและเร็วที่สุดแก่บุคลากรทางการแพทย์ และธำรงไว้ซึ่งระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ