เข้าใจ "ผลบวกปลอม-ผลลบปลอม" จากการใช้ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำความเข้าใจการใช้ ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit) แล้วอาจเกิดกรณีผลบวกปลอม - ผลลบปลอม

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ประชาชนสามารถใช้ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen Test Kit) เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ด้วยตนเองนั้น ในกรณีของการแปรผล ซึ่งปรากฏว่าอาจมีกรณีของ ผลบวกปลอม และ ผลลบปลอม ซึ่งถือว่าเป็นการแปรผลที่ไม่ถูกต้อง โดยมีปัจจัยคือ 

แนะวิธีใช้ Antigen Test Kit พร้อมข้อควรระวัง ไม่แนะนำซื้อทางออนไลน์

ทำความเข้าใจใหม่ ชุดทดสอบแอนติเจน VS ชุดทดสอบแอนติบอดี มีวิธีใช้ที่ต่างกัน

กรณีผลบวกปลอม 

ไม่ติดเชื้อ ไม่มีเชื้อไวรัสตัวนี้ แต่ให้ผลออกมาเป็นบวก ซึ่งอาจเกิด

1.จากการปนเปื้อนจากพื้นที่ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้

2.การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่นๆ 

 

 

3.ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลากำหนด

4.สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม

ทำความเข้าใจกับชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง "Rapid Antigen Test"

ส่วนกรณีที่เกิดเป็น "ผลลบปลอม" กรณีนี้สำคัญมากเพราะนั้นหมายถึง เป็น ผู้ติดเชื้อ แต่ให้ผลการทดสอบเป็น ลบ ซึ่งกรณีนี้มีปัจจัย คือ 

1.เพิ่งติดเชื้อในระยะแรกมีปริมาณไวรัสต่ำ 

2.การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง

3.ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ประชาชนสามารถใช้ชุดทดสอบแอนติเจน เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด 19 ได้ด้วยตนเอง โดยประชาชนหาซื้อได้ที่คลินิก และร้านขายยาแผนปัจจุบันหรือตามที่ อย.กำหนด ไม่แนะนำซื้อทางออนไลน์ 

ส่วนกรณีที่บางคนตรวจวิธี RT-PCR ครั้งแรกเป็นบวก แล้วเมื่อตรวจครั้งถัดมาอาจเป็นลบ ก็มีความเป็นไปได้ เนื่องจากช่วงที่ไปตรวจครั้งแรกที่เป็นบวก อาจเป็น ระยะท้าย ของการติดเชื้อแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่เมื่อตรวจซ้ำผลจะออกมาเป็นลบ 

นอกจากนั้น นายแพทย์ศุภกิจ ยังอธิบายถึงกรณีที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วและติดเชื้อซ้ำอีกและมีอาการรุนแรงขึ้น มีความเป็นไปได้อย่างไร กรณีนี้ต้องบอกว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซ้ำไปครั้งหนึ่งแล้วเหมือนเป็นการฉีดวัคซีนไปโดยธรรมชาติ ซึ่งไวรัสไปสร้างแอนติบอดีไวรัส กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน แต่เมื่อมีการกลายพันธุ์ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์เดิมอาจไม่เพียงพอ ก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้ แต่จะพบกรณีนี้ไม่มากส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันเดิมก็จะช่วยให้อาการไม่รุนแรง

คอนเทนต์แนะนำ
คลัสเตอร์ใหม่เคหะลำลูกกาติดโควิด 100 กว่าราย เด็ก 7 เดือนหยุดหายใจ
ครม.เคาะเยียวยาผู้ประกอบการ-ลูกจ้างเพิ่ม 3 จังหวัด ล็อกดาวน์ “ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-อยุธยา”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ