แอสตร้าเซนเนก้า แนะให้ฉีดห่างจากวัคซีนอื่น 2 สัปดาห์ป้องกันทำปฏิกิริยา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ผลิตวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” ร่อนจดหมายคลายข้อสงสัยก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ย้ำฉีดห่างจากวัคซีนอื่น 2 สัปดาห์

ในภาวะที่กระทรวงสาธารณสุขเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับคนไทย บริษัทผู้ผลิตวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” รวบรวมประเด็นคำถามยอดฮิตและข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ที่มีการตั้งคำถามและแชร์ต่อกันสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า ควรฉีดห่างจากวัคซีนอื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อป้องกันทำปฏิกิริยา ส่วนการฉีดวัคซีนแบบไขว้ยี่ห้อ ควรฟังคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข และ ใครที่รับวัคซีนไปแล้วมีผลข้างเคียงน้อยไม่ได้หมายความว่า วัคซีนไม่ตอบสนองภูมิคุ้มกัน

ไฟเขียว ปรับสูตรวัคซีน "ฉีดสลับชนิดกันได้"

ฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมวัคซีนอื่น ในคราวเดียวกันได้หรือไม่?

ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถกินกาแฟไหม และ การกินกาแฟ จะส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของวัคซีนหรือ?

คำตอบ คือ ไม่จำเป็นจะต้องงดการดื่มชา กาแฟ โดยการดื่มชา กาแฟไม่ได้ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของวัคซีน

ถ้าหากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดวัคซีนอื่นๆ อย่างวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนตับอักเสบ บี หรือวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ได้หรือไม่

คำตอบ คือ ควรเว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน สำหรับวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด หรือ วัคซีนบาดทะยักเมื่อมีบาดแผลให้ฉีดวัคซีนเหล่านี้ได้เลยโดยไม่ต้องทิ้งช่วงการฉีดวัคซีนฯ

เข็มที่ 3 หรือเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จำเป็นไหม? และสามารถฉีดวัคซีนต่างชนิด/ยี่ห้อ สลับกันได้หรือไม่

ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอสำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือวัคซีนเข็มที่ 3 ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ จึงต้องรอข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติม สำหรับการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อกันนั้น เริ่มมีการศึกษาออกมามากขึ้นแต่ข้อมูลยังมีจำกัด คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อกันจึงต้องขึ้นกับคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขของแต่ละประเทศ

หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ไม่มีไข้ขึ้น ไม่ตัวร้อน หรือไม่มีผลข้างเคียงใด แสดงว่าภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองหรือไม่

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นได้เนื่องจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในขณะเดียวกันการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในบางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีผลข้างเคียงร่วมด้วย ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่มีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด

ผู้ที่แพ้อาหาร หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ สามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้หรือไม่? ถ้าฉีดจะทําให้ภูมิขึ้นน้อยกว่าคนปกติหรือไม่

สามารถฉีดวัคซีนได้ เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ผลิตจากสัตว์อาหารทะเล หรือไข่ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ต่าง ๆ

ผู้มีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนโควิด-19

ผลวิจัยใหม่ชี้ ฉีดไฟเซอร์-แอสตร้าเซเนก้า ครบโดสต้านเดลตาได้ | 22 ก.ค. 64 | รอบโลก DAILY

“ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” พ่นพิษติดเชื้อพุ่ง ผู้ว่าฯ ยันเดินหน้าต่อ โควิดไม่เป็นอุปสรรค

โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ