จุฬาฯ ทดลองวัคซีนใบยาระยะแรกสิ้นเดือน ส.ค.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วัคซีนที่ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยไทยอีกหนึ่งชนิดคือ “วัคซีนใบยา” ล่าสุดทีมนักวิจัยเตรียมเริ่มทดลองระยะแรกในอาสาสมัคร 100 คน ปลายเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมกับพัฒนาจากสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ เพื่อให้รับมือการแพร่ระบาดในปัจจุบันได้ทัน

ทีมข่าวพีพีทีวี มีโอกาสพูดคุยกับ เภสัชกร กิตตินพ กิตติโรจน์รุจิ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่าปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนนี้ จะเริ่มคัดเลือกอาสาสมัครเพื่อทดสอบระยะที่ 1  โดยในระยะแรกจะใช้อาสาสมัคร 100 คน อายุ 18-65 ปี ที่มีสุขภาพดีและต้องไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน ส่วนระยะที่ 2 ทดลองในอาสาสมัครประมาณ 1000 คน และระยะที่ 3 ทดลองในอาสาสมัครจำนวนที่มากขึ้นถึง 1 หมื่นคน โดยระยะที่ 2 และ 3 จะทดลองควบคู่กันไป เพื่อผลที่รวดเร็วให้สามารถนำไปใช้ได้เร็วขึ้น

วัคซีนโควิด "จุฬา-ใบยา" จ่อทดสอบในคน ต้นเดือย ก.ย.นี้ คาดไตรมาส 3 ของปี 2565 ได้ใช้จริง

จุฬาฯ เตรียมทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในคนระยะแรก พ.ค.นี้

เนื่องจากขณะนี้ไวรัสโควิด-19 ได้กลายพันธุ์ไปทั่วโลก ทีมนักวิจัยจึงคิดค้นและพัฒนาวัคซีนในรุ่นที่ 2 เพิ่มเติม โดยนำเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์มาทั้งหมดแล้วรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจรวมกันเป็น 1 เข็ม สามารถป้องกันได้หลายสายพันธุ์  ซึ่งข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือสามารถเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือโปรตีนชนิดอื่นได้อย่างรวดเร็ว หากมีการกลายพันธุ์ก็สามารถตรวจสอบรหัสพันธุกรรมและนำมาผลิตเป็นวัคซีนได้เลย

หากทดสอบในคนผ่านทุกระยะและมีความปลอดภัยคาดว่าจะผลิตและเริ่มใช้วัคซีนชนิดนี้ได้กลางปี 2565 หรือไตรมาสที่ 3 ส่วนกำลังในการผลิตในพื้นที่โรงงาน 1200 ตารางเมตร คาดว่าจะผลิตได้ 5 ล้านโดสต่อเดือน หรือ 60 ล้านโดสต่อปี ส่วนการนำไปใช้ในเด็กหากทดสอบในคนผ่านทุกระยะและมีความปลอดภัยก็จะนำไปทดสอบในกลุ่มอายุน้อยต่อไป

ส่วนวัคซีนอีกหนึ่งชนิดที่เป็นความร่วมมือขององค์การเภสัชกรรมและคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างวัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac  ล่าสุด นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยความคืบหน้าของวัคซีนชนิดนี้ ระบุว่าขณะนี้การศึกษาวิจัยในมนุษย์ในระยะที่ 1 ได้ผลการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันที่ 14 วัน หลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว โดยเมื่อวานนี้ (16 ส.ค.) อภ.ได้เริ่มศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2 แล้ว ในอาสาสมัคร 250 คน อายุ 18-75 ปี ที่มีสุขภาพดี ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกชนิดมาก่อน และไม่เคยเป็นผู้ป่วยโควิด-19 มาก่อน

สำหรับการพัฒนาวัคซีนชนิดนี้มีการวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตและสามารถผลิตวัคซีนจากนวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสม ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟักเช่นเดียวกับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และนำเข้าสู่กระบวนการวิจัยในมนุษย์ได้สำเร็จในระยะเวลา 10 เดือน  เมื่อการศึกษาวิจัยในมนุษย์ครบทั้ง 3 ระยะ และได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก อย.คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในกลางปี 2565 โดยจะสามารถผลิตได้ 20-30 ล้านโดสต่อปี และจะขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถรองรับการฉีดเพื่อป้องกันโควิด-19 ให้ชาวไทยได้ 10-15 ล้านคน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองคิวฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 “แอสตร้าฯ-ซิโนแวค” 20,000 ราย เริ่ม 18 ส.ค.นี้

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ