ภาวะเครียดในเด็ก!! สังเกตความเครียดของเด็ก ในสถานการณ์ โควิด-19


โดย BDMS

เผยแพร่




ในสถานการณ์ โควิด-19 ที่เราต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน หลายหลายคนอาจจะเกิดภาวะตึงเครียดขึ้นมาได้ไม่ใช่แค่เพียงผู้ใหญ่วัยทำงานเท่านั้น แต่เด็กและวัยรุ่นเองก็สามารถมีภาวะตึงเครียดแบบนี้ได้เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นภาวะตึงเครียดเหล่านี้อาจจะส่งผลลบกับสุขภาพของเด็กเด็กในระยะยาวได้เราจะมีวิธีการสังเกตความเครียดของเด็กเด็กในสถานการณ์ โควิด-19 อย่างไรและจะมีวิธีการเยียวยารักษาอย่างไรบ้าง

เด็กๆ เองก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไม่ต่างจากผู้ใหญ่ จากที่เคยมีอิสระในการเดินทางไปไหนมาไหนตอนนี้ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านจากที่เคยเล่นสนุกสูดอากาศได้อย่างเต็มที่ ตอนนี้ไปไหนมาไหนก็ต้องใส่หน้ากากอนามัย การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่อาจจะก่อเป็นความเครียดในใจของเด็กๆ โดยที่เด็กไม่รู้ตัวหรืออาจจะยังไม่เชี่ยวชาญพอที่จะบอกความรู้สึกหรือความต้องการกับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองก็สามารถสังเกตความเครียดของเด็กๆ ได้ผ่านพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

คำขวัญวันเด็ก 2565 “รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม”

ยูเอ็น-อนามัยโลก เตือน ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิต "น่ากังวลอย่างยิ่ง"

เด็กนักเรียนในจีนฆ่าตัวตายมากขึ้น หลังปลดล็อกดาวน์โควิด-19

เด็กแต่ละคนอาจจะตอบสนองความเครียดแตกต่างกันแต่ลักษณะทั่วไปมักจะมีดังต่อไปนี้ในวัยเด็กเมื่อมีความเครียดเด็กเด็กอาจจะมีอาการร้องไห้หรือมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนนอกจากนี้อาจจะกลับไปทำพฤติกรรมเดิมๆทั้งที่เคยเรียนรู้หรือฝึกฝนผ่านพ้นมาแล้ว เช่น มีปัญหาในการเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะรดที่นอน มีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น ทานได้น้อยลงหรือไม่อยากทานอาหาร รวมถึงมีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่เป็นเวลาหรือนอนหลับหรือยากยิ่งขึ้น

“หมอโอ๋” แนะวิธีรับมือความเครียดที่เกิดจากการเรียนออนไลน์

สำหรับวัยรุ่นเมื่อมีความเครียดอาจจะมีความรู้สึกกังวลหรือเศร้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างชัดเจนรู้สึกปวดหัวหรือปวดเมื่อยตามร่างกายบางส่วนโดยที่หาสาเหตุไม่ได้จดจ่อได้ยากยิ่งขึ้นมีสมาธิในการทำงานได้น้อยลงรวมถึงอาจจะหลีกเลี่ยงหรือไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชื่นชอบในอดีตหาคุณพ่อคุณแม่สังเกตุเห็นพฤติกรรมหรืออารมณ์ของน้องน้องที่เปลี่ยนไปก็สามารถเยียวยาหรือป้องกันความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 ได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

1. ตอบคำถามเด็กๆ หรือเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ โควิด-19 ในแบบที่เด็กเด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ช่วยสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตให้กับเด็กๆ

2. แบ่งปันให้เด็กๆ ทราบว่าเป็นเรื่องปกติมากที่คนเราจะมีความกังวลหรือความหงุดหงิด ในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้ จากนั้นก็แบ่งปันวิธีการจัดการความเครียดในแบบของพ่อแม่เป็นตัวอย่างให้กับน้องๆ

3. ระมัดระวังการรับชมข่าวในช่องทางต่างๆ ของผู้ใหญ่เพราะเด็กๆ อาจจะมาได้ยินหรืออาจตีความผิด จนเกิดเป็นความกลัวในสิ่งที่เขาเองก็ไม่เข้าใจ

4. หากเด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้านควรออกแบบกิจวัตรประจำวันให้เหมือนกันไปโรงเรียนตามปกติ สร้างตารางกิจกรรมประจำวันที่มีทั้งกิจกรรมการเรียนรู้การเล่นสนุกและการผ่อนคลาย

เด็กเครียดเรียนออนไลน์ ผู้ปกครอง คุณครูต้องปรับตัวอย่างไร?

5. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับบุตรหลานในการป้องกันเชื้อโรคเช่นการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหรือการล้างมือเป็นประจำรวมทั้งดูแลสุขภาพกายใจเช่นการแบ่งเวลาพักผ่อนการนอนหลับให้เพียงพอและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 

ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากสังคมเล็กๆในบ้านของเขา เด็กเป็นวัยที่เรียนรู้จากการเห็นตัวอย่างและการเข้าสังคมเมื่อเด็กๆ ต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้านไม่สามารถไปเจอคุณครูหรือเพื่อนๆ ได้คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นห้องเรียนทักษะชีวิตให้กับน้องๆ ได้

ขอบคุณข้อมูล : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ