คนนอนไม่หลับ ควรปรับพฤติกรรม ทำ 5 วิธีนี้จะช่วยทำให้ หลับดีขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การนอน เป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง แต่บางคนกลับนอนกลางวันมากเกินไป ทำให้ช่วงกลางคืนนอนไม่หลับ และนั้นจะยิ่งส่งผลเสียกับร่างกาย จึงจำเป็นต้องปรับพฤติกรรม ก่อนเป็นอันตรายกับร่างกายไปมากกว่านี้

การนอน ถือเป็นเรื่องที่ความสำคัญกับร่างของมนุษย์ เพราะถ้าเรานอนไม่หลับไม่สนิท หรือนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพร่างกายในภาพรวม อาทิ สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก และมักใช้เวลานานกว่าปกติในการจะทำอะไรสักอย่าง ส่วนเรื่องอารมณ์ ก็จะไม่ค่อยดีนัก อาจมีเรื่องกระทบกระทั่งกับคนในครอบครัว หรือคนอื่น อย่างไม่สมเหตุสมผล และยังกลายเป็นการลดทอนความสุขของเราอีกด้วย

​8 เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับที่ง่ายขึ้น  

18 มีนาคม "วันนอนหลับโลก" ถามตัวเองดู วันนี้คุณนอนเพียงพอหรือยัง?

ดังนั้นการนอนไม่หลับ (Insomnia)   จึงเป็นปัญหาที่เราสามารถพบได้บ่อยครั้งเมื่อเกิดและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะมีอาการนี้ในระยะสั้น (acute) หรือเป็นเรื้อรัง  (chronic) ซึ่งหากปล่อยไปเรื่อยก็จะส่งผลร้ายกับร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับ เราจึงควรปรับพฤติกรรมบางอย่างที่อาจช่วยให้เรานอนหลับได้ดียิ่งขึ้น  และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างที่จะทำให้เรานอนหลับได้ยาก


ข้อควรปฏิบัติ
1. ปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้สม่ำเสมอทุกวัน
2. ปรับบรรยากาศห้องนอนให้มืด เงียบ และปรับอุณหภูมิให้มีความเย็นอย่างเหมาะสม
3. หากล้มตัวลงนอนแล้วไม่หลับภายใน 15 - 30 นาที ควรลุกออกจากเตียงไปทำกิจกรรมอื่นเบาๆ สักครู่ เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงแล้วจึงกลับมานอน
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักภายใน 3 - 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
5. ฝึกนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ ใช้เทคนิคการผ่อนคลายรูปแบบต่างๆ อาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

ข้อควรหลีกเลี่ยง
1. รับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรือดื่มน้ำปริมาณมากเกินไปก่อนเข้านอน
2. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หลังเวลา 13.00น. หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
3. ดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์มือถือ รับประทานอาหาร หรืออ่านหนังสือบนเตียงนอน
4. ประชุมหรือวางแผนงานที่มีความเครียดสูงก่อนเข้านอน
5. เมื่อเข้านอนแล้วยังคงจ้องมองนาฬิกา
6. งีบหลับในช่วงเวลาหลัง 15.00น.

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุทั่วไปอื่นๆ อีกที่ทำให้นอนไม่หลับได้ เช่น คู่นอนกรนเสียงดัง มีสัตว์เลี้ยงอยู่บนเตียงนอน หรืออาจเกิดจากโรคจำเพาะบางอย่าง เช่น โรคปอดหรือโรคหัวใจล้มเหลวที่ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบากเมื่อนอนราบ โรคข้ออักเสบที่ทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น

 

ที่มา
- โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
- วารสารจุฬาฯ ฉบับที่ 65 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ