6 สิ่งควรทำ เพื่อลดความเสี่ยงการเป็น "โรคอัลไซเมอร์"


โดย BDMS Wellness Clinic

เผยแพร่




โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) จัดเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ประเภทหนึ่ง พบได้มากที่สุดถึงประมาณ 70% ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด เกิดจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อสมอง

ส่งผลให้ระดับสารสื่อประสาทอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ลดลง มีผลกระทบต่อความคิด ความทรงจำ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทุกคนล้วนทราบกันดีว่าโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่นั้นไม่ได้แปลว่าเราไม่สามารถจัดการกับสาเหตุของโรคได้ เพราะก่อนที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการและได้รับการวินิจฉัย โรคนี้ใช้เวลาพัฒนาอยู่เงียบๆ นานหลายสิบปี คล้างคลึงกับโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงอย่างที่หลายคนรู้จักกัน เช่น หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการตอนอายุประมาณ 70 ปี หมายความว่าโรคอัลไซเมอร์อาจได้ก่อตัวตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว

ผู้หญิงเสี่ยง “อัลไซเมอร์” มากกว่าผู้ชาย

9 ปัจจัยเสี่ยงสู่ภาวะสมองเสื่อม

และนี้คือช่วงเวลาสำคัญที่เราสามารถเข้าไปแทรกแซง เพื่อชะลอการพัฒนาของโรคและยืดเวลาออกไปได้อีก 10-20 ปี จนผู้ป่วยมีอายุ 90-100 ปีได้

คาดอีก 30 ปี ทั่วโลกสมองเสื่อม 139 ล้านคน

วิจัยเผยอยู่ใกล้ย่านรถติดเสี่ยงสมองเสื่อม

วีถีชีวิตที่ดี (Healthy Lifestyle) ปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์
1. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ - งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าอาหารมีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาของโรค ผู้ที่รับประทานข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช ผักผลไม้เป็นประจำ, เลือกแหล่งโปรตีนจากปลาและถั่วหลากชนิด, ลดการกินของทอด และเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หวานจัด มีการทำงานของสมองที่เฉียบคมเท่ากับคนที่มีอายุน้อยกว่าตนเองถึง 7.5 ปี 
2. การออกกำลังกายเป็นประจำ – การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง งานวิจัยที่ใช้เวลาติดตามนานถึง 44 ปี พบว่าผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เริ่มป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายนานถึง 10 ปี
3. นอนหลับอย่างมีคุณภาพ – ขณะที่เรานอนหลับลึก (deep non-REM sleep) สมองจะกำจัดโปรตีนเบต้า-อะไมลอยด์สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ผ่านกระบวนการชำระล้างสมอง (Glymphatic System) เพราะฉะนั้นควรรีบเข้านอนเวลาเดิมเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ เพราะแสงสีฟ้าจะรบกวนการนอนได้
4. บรรเทาความเครียด – เพราะความเครียดเรื้อรังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่พัฒนาไปสู่โรคสมองเสื่อมได้ การหาวิธีผ่อนคลายความเครียดจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การทำสมาธิ ฝึกลมหายใจ ปลูกต้นไม้ หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบก็ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
5. เลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมกับร่างกาย – สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี วิตามินดี ช่วยลดอนุมูลอิสระ (oxidative stress) ซึ่งเป็นสาเหตุความเสื่อมของเซลล์ได้ อย่างไรก็ตามแนะนำให้ตรวจระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด เพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารเสริมที่เหมาะสมกับร่างกายมากที่สุด
6. ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของสมองเป็นประจำ – กิจกรรมประเภทการอ่านหนังสือ การเขียน การทายปริศนา การเล่นเกมส์ที่ส่งเสริมสมอง เช่น หมากรุก อักษรไขว้ รวมถึงการเข้าสังคมและทำกิจกรรมแบบกลุ่ม เช่น การเต้นลีลาศ ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 5 ปี

ถึงแม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ สามารถชะลอการเกิดของโรคออกไปได้ยาวนานถึง 10 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องคุ้มค่ามากถ้าจะเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียตั้งแต่วันนี้

ลด ละ เลิก 10 นิสัยทำร้ายสมอง

งานวิจัย เผย คิดลบซ้ำซากเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่ม

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก BDMS Wellness Clinic

แหล่งอ้างอิง
1. Morris MC, Tangney CC, Wang Y, Sacks FM, Barnes LL, Bennett DA, et al. MIND diet slows cognitive decline with aging. Alzheimer's & dementia. 2015;11(9):1015-22.
2. Hörder H, Johansson L, Guo X, Grimby G, Kern S, Östling S, et al. Midlife cardiovascular fitness and dementia: a 44-year longitudinal population study in women. Neurology. 2018;90(15):e1298-e305.
3. Wilson RS, Wang T, Yu L, Grodstein F, Bennett DA, Boyle PA. Cognitive Activity and Onset Age of Incident Alzheimer Disease Dementia. Neurology. 2021.
 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ