ดื่มน้ำเกินพอดี ระวังเสี่ยงต่อโรคไต อันตรายถึงชีวิต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การดื่มน้ำมากกว่า 5 ลิตรขึ้นไป เสี่ยงเซลล์บวม ไตทำงานหนัก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

“น้ำ” เป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ เพราะเป็นส่วนประกอบของร่างกายมากถึง 70% ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยวิธีการสังเกตอย่างง่าย ว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ คือ หากปัสสาวะมีสีเหลืองใส ขับถ่ายสะดวก แสดงว่าดื่มน้ำเพียงพอ ถ้าหากดื่มน้ำน้อยไปจะได้ผลตรงกันข้าม ทั้งอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ อันตรายถึงชีวิตได้

แค่ดื่มน้ำให้ถูกวิธีสามารถช่วยน้ำหนักลด สุขภาพผิวดี แถมยังชะลอวัย
ผู้ป่วยโรคไตระวัง! ดื่มน้ำประปาเค็ม เสี่ยงไตวาย แนะวิธีเลี่ยงก่อนเข้าสู่ภาวะปกติ

แต่หากดื่มมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ก็ไม่เป็นผลดี เพราะหากดื่มมากกว่า 5 ลิตรขึ้นไป จะเกิดภาวะน้ำล้น ไตจะไม่สามารถกำจัดของเหลวส่วนเกินและน้ำก็เริ่มสะสมในร่างกาย ทำให้มีอาการดังนี้
-รู้สึกคลื่นไส้หรืออยากอาเจียน
-ปวดหัวตลอดทั้งวัน ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเริ่มมีอาการบวม หรือเปลี่ยนสี
-เป็นตะคริวได้ง่าย กล้ามเนื้อกระตุก
-รู้สึกเหนื่อยและล้า

ซึ่งการดื่มน้ำมากเกินไปอาจส่งผลเสียได้ในระยะยาว เช่น อาจทำให้เกิดอาการเมาน้ำ หรือที่เรียกว่า hyponatremia ซึ่งทำให้เซลล์ภายในเกิดอาการคล้ายน้ำท่วม เนื่องจากระดับของโซเดียมในเลือดต่ำเกินไป ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการชัก หรือที่ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้

ต้องดื่มน้ำเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
-อายุ 4-8 ปี             5 แก้ว/วัน  (1,200 มล.)
-อายุ 9-13 ปี           7-8 แก้ว/วัน (1,600-1,900 มล.)
-อายุ 14-18 ปี         8-11 แก้ว/วัน  (1,900-2,600 มล.)
-ผู้หญิงที่อายุ 19 ปีขึ้นไป      9 แก้ว/วัน (2,100 มล.)
-ผู้ชายที่อายุ 19 ปีขึ้นไป      13 แก้ว/วัน (3,000 มล.)

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการทำงานภายในร่างกาย เช่น การล้างสารพิษออกจากอวัยวะ หรือการนำสารอาหารและออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ รวมถึงประโยชน์อื่น ๆ ดังต่อไปนี้

-ลดน้ำหนัก ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานดีขึ้น
-บำรุงสุขภาพผิว ให้ดูชุ่มฉ่ำ
-ขับแบคทีเรียจากกระเพาะปัสสาวะ
-มีส่วนช่วยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ควบคุมความดันโลหิต
-ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
-ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร ป้องกันท้องผูก
-ป้องกันความเสียหายของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อลื่นข้อต่อ
-รักษาสมดุลของอิเล็กโตรไลต์ (โซเดียม)

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ