"ศิริราช" เปิดผลการศึกษาตัวเลขภูมิคุ้มกัน จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สูตรไขว้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อัพเดตผลการศึกษาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไขว้ เทียบการฉีดด้วยวัคซีนชนิดเดียวกัน

ประเทศไทย เดินหน้าฉีดวัคซีนโควิด-19 สูตรไขว้ เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดผลการศึกษาเบื้องต้น เปรียบเทียบวัคซีนที่ใช้ ซิโนแวค+แอสตร้าเซเนก้า , แอสตร้าเซเนก้า + ซิโนแวค , แอสตร้าเซเนก้า + ไฟเซอร์ , ซิโนแวค + ไฟเซอร์ , แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ซิโนแวค 2 เข็ม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมนำเข้า “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” รักษาโควิด-19

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดให้ผู้ปกครอง ยื่นขอวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้เด็กฟรี

และจากผลการศึกษาวิจัยโดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปได้ว่า

 

การฉีดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้าแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันสูงสุด 2,259.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร

การฉีดวัคซีน ซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันดีรองลงมาที่ 2,181.8 หน่วยต่อมิลลิลิตร

การฉีดวัคซีน ซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ได้ระดับภูมิคุ้มกัน 1,049.7 หน่วยต่อมิลลิลิตร

ซึ่ง สูงกว่า แอสตร้าเซเนก้าตามด้วยซิโนแวค ซึ่งได้ระดับภูมิคุ้มกัน  172.1 หน่วยต่อมิลลิลิตร , แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ซึ่งได้ระดับภูมิคุ้มกัน 278.5 หน่วยต่อมิลลิลิตร  , ซิโนแวค 2 เข็ม ซึ่งได้ระดับภูมิคุ้มกัน 164.4 หน่วยต่อมิลลิลิตร

นอกจากนี้ผลการศึกษายังไม่มีปัญหาเรื่องอาการข้างเคียงหลังฉีดเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองในระยะเวลาห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์

จึงสรุปได้ว่า การใช้วัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มแรก แล้วตามด้วยแอสตร้าหรือไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มแรก ควรตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 และควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนเพื่อยืนยันภูมิคุ้มกันจากการศึกษานี้

 

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ได้วัดระดับภูมิต้านทานต่อโปรตีนหนาม (anti-receptor binding domain : anti:RBD lgG) โดยวิธี Chemiluminescent microparticle immunoassay (CMIA; abbott Laboratories, Ltd.) รวมทั้งอาการข้างเคียงในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ชนิดเดียวกันหรือสลับกัน

ทุบสถิติ โควิด-19 คร่าชีวิตชาวมะกันมากกว่า “ไข้หวัดใหญ่สเปน” แล้ว

ระวัง! ฉีดสารแปลกปลอมเข้าผิวหนัง เสี่ยงเกิดอาการแพ้ - ติดเชื้อที่ผิวหนัง

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ