อย่า...! มองข้ามปัญหา "กลิ่นปาก" เพราะมันสามารถบอกโรค


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กลิ่นปาก สาเหตุส่วนใหญ่ประมาณ 90 % มาจากภายในช่องปาก ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกครั้ง แต่บางครั้งถ้าเรามีกลิ่นปากเป็นระยะเวลานั้น หรือเรื้อรัง นั้นอาจบอกว่าร่างกายเรามีโรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้น

กลิ่นปาก ถือว่าเป็นปัญหาคลาสิกที่ส่งผลร้ายกับบุคลิกภาพของบุคคลนั้น เพราะมันสามารถทำลายความมั่นใจและยังทำให้ใครหลายคนไม่อยากอยู่ใกล้กับคนที่มีกลิ่นปาก ซึ่งสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากนั้น ประมาณ 90 % เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีต้นเหตุมาจากเศษอาหารตกข้างอยู่ตามซอกเหงือก ฟัน และลิ้น นอกจากนี้ยังพบได้ บริเวณที่อุดฟัน ครอบฟันไม่พอดี หรือการเป็นโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ มีฟันผุรูกว้าง ฟันปลอมชนิดถอดได้ ทำให้เศษอาหารตกค้างในบริเวณดังกล่าว 

เปิดขวด “น้ำยาบ้วนปาก” หมอเตือนอย่าใช้บ่อยเสี่ยงเชื้อราเพิ่มขึ้น

ไม่ปวดฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม?

และอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ก็คือภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ เมื่อมีน้ำลายน้อย เชื้อโรคต่างๆจะตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดกลิ่นมากขึ้น

สำหรับอีก 10 % ที่เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปากนั้นมาจากปัจจัยภายนอกอาทิ การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สูบเป็นโรคปริทันต์รุนแรงมากขึ้น และกลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวขึ้นได้ 

นอกจากนี้การรับประทานอาหารบางชนิดเมื่อรับประทานจะมีกลิ่นขับออกมาทางลมหายใจ เช่น กระเทียม ทุเรียน หัวหอม เครื่องเทศ ผู้ที่ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือท้องผูกหลายๆ วัน ก็ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ แต่โดยธรรมชาติ เมื่ออาหารถูกดูดซึม ซึม และขับถ่ายออกแล้วกลิ่นก็จะหายไปได้เอง

แต่สำหรับบางโรคก็ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ คือ
1. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งที่โพรงกระดูก

2. โรคในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอดหรือมะเร็งปอด โรคของระบบขับถ่าย

ดังนั้นเมื่อเกิดกลิ่นปากแล้ว อันดับแรกควรหาต้นเหตุของการเกิดกลิ่นปาก เพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม และที่สำคัญอย่าปล่อยให้ปากแห้ง จึงจำเป็นต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะน้ำช่วยขจัดแบคทีเรียและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก ช่วยขจัดคราบบนลิ้นและเสมหะในลำคอ ตลอดจนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่องของทอนซิล

หรือใช้น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ หรือลูกอมรสมินท์ ในการช่วยลดกลิ่นปาก แต่ถ้ายังมีกลิ่นปากเรื้อรังให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพช่องปาก และหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

 

ที่มาข้อมูล

- โรงพยาบาลศิริราชปิยการุณย์

-ทพญ.นุชนาถ โอปิลันธน์ งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

- คลินิกกลิ่นปาก ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

เช็ก 8 พฤติกรรมเข้าข่ายอาการ “โนโมโฟเบีย” โรคกลัวการขาดมือถือ

ประโยชน์ของน้ำผึ้ง ที่ไม่มีแค่ความหวานหอม แต่ยังช่วยบำรุงร่างกายได้

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ