5 กลุ่มยา-วิตามิน-อาหาร ที่ "ควร" และ "ไม่ควร" รับประทานร่วมกัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดรายชื่อกลุ่มยา-วิตามิน-อาหารที่ "ควร" และ "ไม่ควร" รับประทานร่วมกัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกาย

การรับประทานอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น ชดเชยในบางมื้ออาหารที่เรารับประทานไม่ครบหมู่ แต่ก็พบว่าในบางคนมีการรับประทานอาหารเสริมมากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ส่งผลเสียต่อตับ รวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ นอกจากนี้อาหารเสริมบางชนิด ไม่ควรรับประทานคู่กับยาบางรายการ เพราะอาจเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ลดประสิทธิภาพของยาที่รับประทาน หรือทำให้เกิดพิษในร่างกายได้ ฉะนั้น มาดูกันว่า กลุ่มยา-วิตามิน-อาหาร ประเภทใดที่ควรรับประทานร่วมกัน หรือควรหลีกเลี่ยง
เปิดวิธีรับประทานวิตามินซีที่ถูกต้องเพื่อ “รักษาโรคหวัด”
6 ข้อแนะนำ เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ช่วงโควิด-19
"วิตามิน" เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่เราคิด

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน

1.ยารักษาเบาหวาน
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : มะระขี้นก,ว่านหางจระเข้, โสม, แมงลัก, พืชตระกูลลูกซัด, ผักเชียงดา, และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : เสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย

2.ยาลดความดันโลหิต, ยาลดไขมันในเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำเกรปฟรุต
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจให้เกิดพิษจากยาได้

3.ยาละลายลิ่มเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันปลา, น้ำมันดอกอีฟนิ่ง, ตังกุย, กระเทียม, แป๊ะก๊วย, ขิง
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : หากรับประทานมากไป จะเสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

4.ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ต้านการออกฤทธิ์ของยา

5.ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone และกลุ่ม tetracycline
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ควรรับประทานร่วมกัน

1.วิตามินเอ ดี อี เค
     ควรรับประทานร่วมกับ : อาหารที่มีไขมันจากสัตว์ หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดี

2.ธาตุเหล็ก
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น

3.แคลเซียม
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินดี หรืออาหารที่มีวิตามินดี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก

4.คอลลาเจนเปปไทด์
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ

5.โคเอนไซม์คิวเท็น
     ควรรับประทานร่วมกับ : หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย

ที่มา รพ.สมิติเวช 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ