เช็ก 3 สัญญาณเตือน ของคนมีภาวะติดหวาน ต้องรีบลดน้ำตาลก่อนสุขภาพจะเสีย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ภาวะติดหวาน ถือเป็นภาวะอันตราย เพราะนำไปสู่โรคร้ายหลายๆ อย่างได้ซึ่งอาการเหล่านี้จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน และจำเป็นที่ต้องปรับพฤติกรรมในการรับประทานของหวาน และลดน้ำตาล

อย่างที่ทราบ น้ำตาล คือสารให้ความหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป น้ำตาลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นไขมันไปสะสม ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และนี่ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา อาทิ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะไขมันพอกตับ ไมเกรน หรืออาจส่งผลให้เลือกข้น เลือดหนืด จนเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ช้า และอาจทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะผิดปกติ รวมถึงยังทำให้ผิวของคุณแห้งเหี่ยวก่อนวัยอันควรอีกด้วย  

"สารให้ความหวาน" ให้อะไรมากกว่าแทนน้ำตาล

เฝ้าระวัง! สัญญาณ 4 กลุ่มโรคร้าย ก่อนลุกลามเป็นโรคอื่น

7 เคล็ดลับ น้ำตาลจ๋า พี่ลาก่อน

คนไทยเป็นคนหวานๆ เพราะกินน้ำตาล 28 ช้อนชา/วัน

ซึ่งตามหลัก ในการรับประทานหวาน หรือทานน้ำตาล แบบไม่ส่งผลเสียกับสุขภาพ โดยใน 1 วัน เราควรรับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือไม่เกิน 30 กรัม แต่ถ้ารับประทานเกิน ก็ถึงเวลาที่คุณต้องเช็กร่างกายตัวเองแล้วว่า เรามีสัญญาณติดหวานหรือยังดังนี้ 
1. หลังมื้ออาหารจะต้องมีของหวาน 
2. หากไม่ได้กินของหวานจะรู้สึกโหย
3. หงุดหงิดจนต้องหาของหวานมารับประทาน 

ถ้าหากคนมีอาการดังกล่าวแสดงว่า คุณเริ่มมีภาวะติดหวานแล้ว ฉะนั้นควรต้องรีบปรับพฤติกรรม เพื่อลดปริมาณน้ำตาลลง โดยเริ่มจากการเปลี่ยนของหวานหลังมื้ออาหารเป็น ผลไม้ที่ไม่หวาน อาทิ แอปเปิ้ล สาลี่ สับปะรด หรือฝรั่ง 

รวมไปถึงค่อย ๆ ปรับลดน้ำตาลจากอาหารหรือเครื่องดื่มที่รับประทานประจำวัน ค่อย ๆ ลด จากหวาน 100% ก็เหลือเพียง 75% และทำต่อเนื่องประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงปรับลดลงอีก จาก 75% เหลือ 50% จนร่างกายคุ้นชินกับการลดน้ำตาล ไม่โหยหรือหงุดหงิดหากไม่ได้รับน้ำตาล

ทั้งนี้ในการปรับลดน้ำตาล ไม่ควรใช้น้ำตาลเทียม มาทดแทน เพราะน้ำตาลเทียมยังเปรียบเสมือนกับร่างกายได้รับน้ำตาลอยู่เท่าเดิม หรือบางครั้งอาจเสี่ยงรับน้ำตาลเกินด้วย 

 

ที่มาข้อมูล 
อ. ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ