ระวัง ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือผิดวิธี เสี่ยงระบบทางเดินหายใจอักเสบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แอลกอฮอล์ล้างมือ หากใช้ผิดวิธี เสี่ยงเกิดอันตรายต่อร่างกายและทางเดินหายใจ

ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เราทุกคนต่างมีมาตรการ และวิธีรับมือในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Social Distancing, ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง, สวมหน้ากากอนามัย การใช้เจล และสเปรย์แอลกอฮอล์ เป็นต้นซึ่งหนึ่งในวิธีรับมือยอดนิยมอย่างการใช้แอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อนั้นมีประสิทธิภาพที่ดี แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็มีข้อควรรู้ในการใช้งาน ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการป่วยได้ หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง

ประมวลภาพ MUT 2021 “รอบชุดว่ายน้ำ” 30 สาวงาม สวยสับ ฟาดความแซ่บไม่ยั้ง!

เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ใช้มากส่งผลข้างเคียงหรือไม่

อาการป่วยที่เกิดจากการสัมผัสดวงตา
    เมื่อใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อที่มือ ห้ามสัมผัสกับดวงตาโดยตรงทันทีหลังจากใช้ หากโดนตาจะเกิดอาการแสบปวดร้อนที่ตา และทำอันตรายกับผิวดวงตาของเราได้
    และหากเกิดขึ้น ให้ใช้ก็อกน้ำ หรือฝักบัวเปิดไหลผ่านตาทันทีที่ทำได้ และรีบติดต่อโรงพยาบาลเพื่อรักษาต่อไป

เผยเคล็ดลับการล้างมือใน 1 วันเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19

TPN พลิกโฉมการประชันรอบชุดว่ายน้ำ MUT 2021 รูปแบบใหม่ พร้อมชมการประกวดทาง “พีพีทีวี” คืนนี้!

อาการป่วยที่เกิดจากการสูดดม
    ควรใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้ามใช้ในสถานที่ปิดอย่างเช่นในรถยนต์ หรือหลังฉีดแอลกอฮอล์ แล้วใส่หน้ากากอนามัยทันที เพราะการสูดดมในปริมาณที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการปวดหัว, คลื่นไส้ และเวียนหัว
    ถ้าเป็นสเปรย์ หรือเครื่องพ่นแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการไอ, คัดจมูก, จาม และส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ หรือมีอาการคล้ายภูมิแพ้
    
อาการป่วยที่เกิดจากการทานเข้าไป
    เมื่อเราเผลอทานเข้าไป แอลกอฮอล์จะกัดระบบทางเดินอาหาร หรือสำลักเข้าปอด
อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะในเด็กปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้

เสี่ยงเกิดการติดไฟ
    
แอลกอฮอล์ที่ใช้ล้างมือทั่วไป นอกจากมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค ยังสามารถติดไฟได้ง่าย

วิธีเลือกซื้อ "เจลแอลกอฮอล์" ไม่ให้ถูกหลอก

เจลแอลกอฮออล์ติดไฟได้ แต่ไม่ง่าย ต้องเลือกได้มาตรฐาน

ข้อควรระวังในการรักษาความสะอาด และฆ่าเชื้อ
1. การทำความสะอาดมือด้วยสบู่เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ถูสบู่อย่างน้อย 20 วินาที เพียงพอ
ที่จะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ และเลือกใช้แอลกอฮอล์เป็นทางเลือกสุดท้ายที่จำเป็น
2. เลือกใช้เจลแอลกอฮอล์ จะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้สเปรย์เนื่องจากมีสารหล่อลื่น สารป้องกันการแพ้ และไม่เกิดละอองในการใช้งาน 
3. ไม่ควรใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดทั่วทั้งตัว หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือใช้ในพื้นที่ปิด หากจำเป็นต้องใช้ พยายามทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศให้มากที่สุด เช่นบนรถยนต์ให้เปิดกระจก และรอจนกว่าแอลกอฮอล์จะระเหยหมด
4. รอให้แอลกอฮอล์ระเหย หรือแห้งก่อนใช้เวลาประมาณ 1 นาที หรือเมื่อเรารู้สึกว่าแอลกอฮอล์ที่ใช้แห้งแล้วนั่นเอง
5. คอยดูแลการใช้แอลกอฮอล์อย่างใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ในการดูแลเช่นเด็ก และผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้แอลกฮอล์แบบไม่ถูกวิธี

ที่มา นพ.วินัย โบเวจา หัวหน้าศูนย์สุขภาพปอดฯ รพ.พญาไท 3, US FDA

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ