ทำความเข้าใจ ผื่นลมพิษ VS โรคลมพิษ ความเหมือนที่แตกต่าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผื่นลมพิษ กับ โรคลมพิษ ทางการแพทย์ ระบุว่ไว้ว่าวิธีการรักษาไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการต้องสังเกตและแยกให้ได้ว่า เราเป็นผื่นลมพิษ หรือ โรคลมพิษกันแน่

เมื่อพูดถึง ลมพิษ หลายคนน่าจะคุนเคยดี โดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ต่างๆ เพราะเมื่อไหร่ที่อการกำเริบ ตามตัว ตามร่างกาย ก็จะมีผื่นแดงขึ้นมาตามจุดต่างๆ โดยมากผื่นดังกล่าวมักขึ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ซึ่งบางคนก็จะไปซื้อยาแก้แพ้มารับประทาน เพื่อลดอาการแพ้ แต่รู้หรือไม่ว่า ผื่นลมพิษที่ขึ้นมาในบางคน อาจจะไม่ใช่อาการที่เกิดจากการแพ้ แต่ตัวคุณกำลังป่วยเป็น โรคลมพิษ
 

"ผื่น" แบบไหนเข้าข่ายอาการโควิด-19

กุมารแพทย์ ชี้โรคแพ้นมวัวอันตรายถึงชีวิต

สำหรับลักษณะอาการที่บ่งบอกว่า เรากำลังเป็นผื่นลมพิษ ประกอบด้วย 
    - มีตุ่มนูนแดง 
    - มีอาการคันมาก 
    - ผื่นสามารถย้ายที่เกิดผื่นได้ 
    - ผื่นจะหายภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ทิ้งรอยตำ และขุยลอก

สาเหตุของการเกิดผื่นลมพิษ สามารถพบได้ใน 2 โรค คือ 
    1. การแพ้เฉียบพลัน อาทิ แพ้อาหาร หรือยา  โดยผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามร่างกายเร็ว หลังรับสารที่แพ้เข้าร่างกายภายใน 1-2 ชั่วโมง และอาจมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบากร่วมด้วย 
    2. โรคลมพิษ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารหรือยา ซึ่งผื่นมักจะขึ้นต่อเนื่องหลายวัน ไม่รุนแรง 

โรคลมพิษ (Urticaria) คือโรคที่มีอาการของผื่นลมพิษ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยจะเกิดซ้ำๆ โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมพิษ สามารถป่วยโรคแพ้อาการได้ด้วย

ทั้งนี้โรคลมพิษ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
    1. ลมพิษแบบเฉียบพลัน โดยจะเกิดผื่นลมพิษ นานไม่เกิน 6 สัปดาห์ แล้วก็หาย
    2. ลมพิษแบบเรื้อรัง จะมีผื่นลมพิษ เกิดขึ้นยาวนาน 6 สัปดาห์ โดยต้องมีอาการผื่นขึ้นบ่อย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันขึ้นไป 

ขณะเดียวกันผื่นลมพิษ ที่น่าเป็นห่วงหรือ ผื่นลมพิษที่เป็นอาการเริ่มต้นของภาวะแพ้รุนแรง เพราะผู้ป่วยจะมีอาการผื่นขึ้นเร็ว มีอาการบวมแดงที่ใบหน้า ปากและจุกในลำคอ มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือวิงเวียน ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แล้วทำให้ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดได้ 

สำหรับการรักษา ผู้ป่วย ลมพิษ กับโรคลมพิษ ก็จะแตกต่างกัน โดยถ้าผู้ป่วยเป็นโรคลมพิษ จะเน้นการให้รับประทานยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีนต่อเนื่อง

แต่ถ้าเป็นลมพิษ เพราะแพ้ยา หรืออาหาร คนไข้ต้องไปทดสอบเพื่อยืนยันการแพ้ แล้วต้องเลี่ยงอาหารหรือยาที่แพ้  และถ้ารายไหนมีอาการผื่นลมพิษขึ้นหนัก และมีอาการแน่นหน้าอก ไอ วูบ หรือหมดสติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องพกยาฉีดฉุกเฉิน เพื่อช่วยชีวิต ในกรณีที่เผลอกินยา หรือเจอกับสิ่งที่แพ้ 

อย่างไรก็ตาม ถ้าคนที่เป็นผื่นลมพิษ แล้วเกิดอาการดังที่กล่าวมาให้รีบพบแพทย์ เป็นดีที่สุด และไม่ควรกินยาแก้แพ้ต่อเนื่อง เพราะอาจเกิดความเสี่ยงแพ้ซ้ำได้ 
 

ทีมาข้อมูล 

- ผศ.นพ. มงคล สมพรรัตนพันธ์ สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ